1489 1387 1383 1184 1266 1204 1633 1051 1489 1231 1433 1604 1164 1082 1383 1207 1469 1751 1272 1282 1970 1380 1046 1103 1237 1461 1974 1559 1303 1213 1822 1559 1013 1142 1245 1825 1911 1816 1637 1493 1254 1543 1020 1366 1744 1010 1999 1857 1879 1299 1424 1338 1328 1292 1073 1838 1740 1556 1483 1083 1501 1794 1663 1512 1650 1665 1934 1408 1157 1226 1485 1559 1445 1986 1037 1155 1163 1037 1599 1367 1359 1322 1035 1555 1430 1424 1846 1140 1098 1219 1195 1674 1324 1184 1259 1171 1585 1911 1224 ประเทศตัวอย่างที่ "วิจารณ์ศาลได้" ไม่มีความผิด | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ประเทศตัวอย่างที่ "วิจารณ์ศาลได้" ไม่มีความผิด

ข่าวนักวิชาการไทยอย่างน้อย 2 คนที่ถูกศาลฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญเรียกเพื่อไปให้ข้อมูลกับศาลเนื่องจากอาจมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจากการวิพากษ์วิจารณ์ และการติชมในพื้นที่สาธารณะทำให้บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นต่อศาลกลายเป็นสิ่งที่น่าหวาดระแวง 
 
แต่ทว่า ในหลายประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าทางประชาธิปไตย เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรืออินเดีย กลับเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ทำหน้าที่ตรวจสอบศาลผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เปิดกว้างให้วิพากษ์วิจารณ์ได้ แม้ว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะผิดพลาด หรือมุ่งร้าย หรือไม่เป็นธรรมเท่าใดก็ตาม แต่การกระทำของประชาชนก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล หรือดูหมิ่นศาล หากจะเป็นความผิดก็เป็นเพียงความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาแทน
 
1169 ประเทศตัวอย่างที่ "วิจารณ์ศาลได้" ไม่มีความผิด
 
สหราชอาณาจักร: วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต และเป็นประโยชน์สาธารณะ สามารถทำได้
 
ในสหราชอาณาจักรมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์ศาล อย่างน้อยสองฉบับ ได้แก่
 
หนึ่ง The Contempt of Court Act 1981 ที่บัญญัติความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนไว้ในมาตรา 2 (2) ซึ่งระบุให้การเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นภัยอย่างชัดแจ้งหรือก่อให้เกิดอคติอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินอยู่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
 
แต่กฎหมายดังกล่าวก็มีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องรับผิดไว้ อย่างเช่น ในมาตรา 4 ที่ระบุว่าการนำเสนอกระบวนการพิจารณาของศาลที่ถูกต้องและโดยสุจริตย่อมได้รับการคุ้มครอง กับ ในมาตรา 5 ระบุว่า การเผยแพร่เนื้อหาของสื่อที่ถูกต้องและเป็นธรรมโดยสุจริตถึงกระบวนการพิจารณาคดีของศาล และการเผยแพร่ข้อมูลนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์นั้นต้องมีน้ำหนักความสำคัญเหนือยิ่งกว่าปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความลำเอียง หรืออคติต่อคู่ความในคดี การกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิด
 
กับ สอง The Court and Criminal Act เป็นกฎหมายที่กำหนดให้การ "ดูหมิ่นวิจารณ์ศาล" ให้เสียหายจนสาธารณะเสื่อมศรัทธานั้น (scandalising) มีความผิด แต่ต่อมาคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายของรัฐสภาอังกฤษ ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกความผิดฐานดูหมิ่นศาล และมีรายงานสรุปในปี 2012 แนะนำให้ “เลิก” ความผิดนี้เสีย เนื่องจาก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งจำเป็นในการเปิดช่องให้มีการอภิปรายถกเถียงถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และทำให้กฎหมาย The Court and Criminal Act ปี 2013 ในมาตรา 33 ยกเลิกความผิดฐานดูหมิ่นศาลออก
 
อินเดีย: วิพากษ์วิจารณ์และติชมศาลโดยสุจริตสามารถทำได้
 
ในอดีตประเทศอินเดียมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาจชื่อว่า The Contempt of Courts Act 1926 แต่ในปี ค.ศ. 1952 ได้มีการออกกฎหมายใหม่ชื่อว่า  The Contempt of Courts Act 1952 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไว้ 3 กรณี คือ การวิพากษ์วิจารณ์ศาลอย่างไม่เหมาะสม การดูหมิ่นคู่ความในคดี และการรบกวนขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง
 
ต่อมา ในปี 1971 มีการแก้กฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง และได้กำหนดการยกเว้นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไว้สองกรณี [1] ได้แก่
 
หนึ่ง การเผยแพร่ข้อมูลโดยสุจริตไม่ว่าด้วยวาจาหรือการเขียนก็ดี หากผู้เผยแพร่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าข้อมูลที่เผยแพร่มาจากคดีที่ยุติแล้ว หรือเป็นเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ได้ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิด
 
กับ สอง การติชมและการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ซึ่งรัฐธรรมนูญอินเดียได้ให้การคุ้มครองการติชมและวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาในคดีที่ยุติแล้วโดยสุจริต แต่การติชมและการวิพากษ์วิจารณ์นั้นต้องไม่เป็นการลดความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม 
 
อเมริกา: การวิพากษ์วิจารณ์ศาลในคดีที่สิ้นสุดแล้วไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล
 
ในสหรัฐอเมริกาไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือดูหมิ่นศาล แต่มีหลักเกณฑ์ซึ่งอ้างอิงจากคำพิพากษาในอดีตว่า ารตีพิมพ์บทความหรือเนื้อหาไม่อาจถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลได้เว้นแต่เป็น “ภยันตรายที่เห็นได้ชัดเจน” ต่อกระบวนการยุติธรรม โดยบรรทัดฐานการพิสูจน์ทางกฎหมายนี้ถูกวางขึ้นจากคำพิพากษาคดีระหว่าง บริดเจส (Bridges) กับแคลิฟอร์เนีย ในปี 2484
 
นอกจากนี้ ในคดี Patterson v. Colorado ศาลได้วางหลักไว้ว่า เมื่อคดีถึงที่สุดลงศาลย่อมอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ดุจดังคนธรรมดา นอกจากนี้ในคดี Craig v. Hecht ศาลระบุว่า สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีต่อการพิจารณาคดี ต่อความเห็นหรือคำพิพากษาของศาเป็นสิ่งสำคัญและสมควรได้รับการสงวนรักษาไว้ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล และศาลก็ไม่มีอำนาจในการลงโทษ ไม่ว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะผิดพลาด หรือมุ่งร้าย หรือไม่เป็นธรรมเท่าใดก็ตาม หนทางที่จะเยียวยามีอยู่เพียงทางเดียวคือ ฟ้องคดีแพ่งฐานหมิ่นประมาทเท่านั้น[2]
 
ทั้งนี้ เหตุที่ศาลมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประชาชนต้องมีอำนาจเหนือรัฐบาลและองค์กรทุกหน่วยของระบบการปกครอง การเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถวิจารณ์ ติชมกลไกของรัฐบาลอย่างเสรี จึงเป็นการควบคุมให้การดำเนินนโยบายของรัฐ เป็นไปในทางสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ข้อมูลอ้างอิง
 
[2]  พนัส ทัศนียานนท์, "การลงโทษการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ติชมศาลฐานละเมิดอำนาจศาลในสหรัฐอเมริกา
ชนิดบทความ: