1759 1927 1750 1910 1617 1218 1951 1091 1313 1658 1173 1706 1275 1921 1193 1915 1125 1493 1961 1993 1158 1962 1146 1018 1945 1314 1072 1784 1668 1193 1706 1813 1950 1707 1710 1487 1909 1977 1501 1515 1671 1564 1850 1091 1051 1379 1393 1589 1498 1253 1995 1075 1188 1959 1046 1134 1304 1461 1045 1672 1838 1855 1243 1574 1741 1950 1567 1639 1075 1443 1071 1840 1276 1529 1853 1418 1253 1921 1718 1238 1321 1193 1211 1643 1429 1409 1664 1876 1549 1261 1606 1091 1954 1355 1508 1129 1781 1718 1155 เกี่ยวกับเรา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เกี่ยวกับเรา

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ  (Freedom of Expression Documentation Center ) ดำเนินงานโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw องค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการผลักดันกฎหมายประชาชน เพื่อการปฏิรูปสังคม (คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ iLaw)

ศูนย์ข้อมูลฯ แห่งนี้  รวบรวมและบันทึกรายละเอียดการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในประเทศไทย  โดยกฎหมายหรืออำนาจรัฐ  โดยหวังว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของตนเองได้

การมีเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นดัชนีหนึ่งที่ใช้ชี้วัดคุณภาพของสังคมการเมืองหนึ่งๆ  ได้  เพราะหากสังคมนั้นเปิดกว้างต่อการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์  ก็อาจประมาณการได้ว่า สังคมนั้นมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจที่เข้มแข็ง

แต่ปัจจุบัน ในบรรยากาศที่สังคมไทยมีความขัดแย้งสูงขึ้น  เครื่องมือและเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ก็ส่งเสริมให้การแสดงความคิดเห็นของปัจเจกบุคคลเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นด้วย ชุมชนเล็กๆ สามารถบอกเล่าข่าวสารของตนเองผ่านระบบคลื่นกำลังส่งต่ำหรือที่รู้จักกันในนาม  “วิทยุชุมชน” คนธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงและไม่ได้มีฐานะทางสังคมสามารถวิพากษ์วิจารณ์และสร้างกระแสในสังคมได้เพียงการเคาะแป้นพิมพ์ส่งข้อมูลผ่านสนามไฟฟ้า  หรือที่รู้จักกันว่า “อินเทอร์เน็ต” คนทำสารคดีหรือช่างภาพอิสระและมือสมัครเล่นไม่จำเป็นต้องมีค่ายธุรกิจรองรับเพราะมีช่องทางมากขึ้น  เช่น อัพโหลดคลิปเข้าสู่เว็บไซต์ที่ให้บริการต่างๆ  และเผยแพร่กระจายต่อไปได้ไกล

ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีเท่านั้นที่เปลี่ยนไป  แต่ความขัดแย้งในสังคมได้บีบคั้นให้ประชาชนมีความต้องการในการรับข่าวสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นของตนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน อำนาจรัฐก็จัดตั้งกลไกทางสังคมใหม่ๆเพื่อจำกัดเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว  สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนและเป็นปัญหาหลักในสังคมไทย คือ การผลักดันกฎหมายใหม่ๆ  เพื่อออกมาจัดการการแสดงความคิดเห็นของปัจเจกชน  อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

ครั้งหนึ่ง สังคมไทยใช้ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนเป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดบรรยากาศเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปัจจุบัน เพียงดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนอาจไม่เพียงพอ  แต่ยังต้องรวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของปัจเจกชนและชุมชนด้วย

ด้วยเหตุนี้ iLaw จึงจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ” เพื่อรวมรวมสถิติการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยคาดหวังว่าฐานข้อมูลข้อเท็จจริงจะสร้างความตระหนักในคุณค่าของเสรีภาพการแสดงออก

ศูนย์ข้อมูลนี้จะสมบูรณ์ได้ ยังต้องการแรงสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากคุณ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียด

ติดต่อเรา 

อีเมลองค์กร - ilaw@ilaw.or.th

อีเมลเจ้าหน้าที่ 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์       ผู้จัดการโครงการ                                            - yingcheep@ilaw.or.th

อานนท์ ชวาลาวัณย์   หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ      - chawalawan@ilaw.or.th

วีรวรรธน์ สมนึก         เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ  - weerawat@ilaw.or.th 

โทรศัพท์สำนักงาน 

02615 4797 (กรุณาโทรระหว่าง 10.00 น. ถึง 18.30 น.)