1572 1213 1039 1858 1549 1796 1276 1138 1919 1209 1724 1712 1688 1241 1255 1320 1233 1708 1975 1855 1502 1801 1856 1065 1147 1325 1404 1755 1490 1978 1711 1572 1833 1217 1846 1331 1722 1125 1071 1352 1465 1091 1713 1962 1843 1949 1237 1497 1801 1877 1786 1994 1340 1085 1310 1631 1114 1645 1568 1031 1545 1963 1500 1852 1174 1947 1937 1466 1060 1688 1989 1145 1039 1931 1397 1017 1942 1725 1440 1743 1305 1574 1630 1518 1592 1060 1523 1684 1997 1170 1576 1336 1167 1959 1637 1222 1390 1183 1836 ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนให้รอลงอาญา คดีม.112 ของพิทักษ์พงษ์ แถมเงื่อนไขห้ามล่วงเกินสถาบันฯ อีก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนให้รอลงอาญา คดีม.112 ของพิทักษ์พงษ์ แถมเงื่อนไขห้ามล่วงเกินสถาบันฯ อีก

3044
 
 
 
16 มกราคม 2567 ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของพิทักษ์พงษ์ จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวมีเนื้อหาทำนองวิจารณ์กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์และรัฐบาล โดยพาดพิงถึงความประพฤติของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาด้วยแก๊สน้ำตาและมีผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนจริงบริเวณแยกเกียกกาย
 
คดีนี้มีผู้ร้องทุกข์คือ สุรภพ จันทร์เปล่ง โดยรับมอบอำนาจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ต่อมา 11 มีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ราว 12 นาย แสดงหมายค้นค้นพักของพิทักษ์พงษ์ พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์ ซีพียูคอมพิวเตอร์ ให้พิทักษ์พงษ์บอกรหัสผ่านโทรศัพท์และรหัสผ่านเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นเขาได้รับหมายเรียกคดี มาตรา 112 และคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) และเมื่อ 27 กันยายน 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ในนัดสืบพยานโจทก์เมื่อ 2 กันยายน 2565 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลสั่งสืบเสาะและพินิจเพื่อประกอบคำพิพากษา
 
ในส่วนของคำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ศาลอาญามีคำพิพากษา โดยสรุปว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จำคุกห้าปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกสองปีกับหกเดือน พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีและรายงานการสืบเสาะแล้ว จำเลยกระทำการโดยไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเคารพศรัทธาของประชาชนชาวไทยทั่วไป จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
 
สำหรับส่วนของคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 814 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ใจความว่า ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับการกำหนดโทษของศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกห้าปีเนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษเหลือจำคุกสองปีหกเดือน แต่เนื่องจากเห็นว่าจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน เป็นการกระทำผิดครั้งแรก และจำเลยมีอาชีพมั่นคงเป็นหลักแหล่ง พิพากษาแก้ให้รอลงอาญาสามปี  กำหนดเงื่อนไขรายงานตัวต่อคุมประพฤติสี่ครั้งต่อหนึ่งปี ให้ทำงานบริการสังคม 84 ชั่วโมง และห้ามกระทำการใดๆ ที่มีส่วนล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริย์อีก
 
สำหรับภูมิหลังของพิทักษ์พงษ์ เขาเป็นประชาชนทั่วไป ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ไม่ได้เป็นนักเคลื่อนไหวหรือนักกิจกรรมทางการเมือง จุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์สืบเนื่องมาจากเห็นข่าวสลายการชุมนุมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563 ที่หน้ารัฐสภา แยกเกียกกาย ซึ่งในวันดังกล่าว รัฐสภาอันประกอบด้วย สส. และ สว. มีวาระพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีร่างจำนวนเจ็ดฉบับ รวมร่างที่เสนอโดยภาคประชาชน เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เขาโพสต์ถึงตำรวจควบคุมฝูงชน ตำรวจ และบุคคลผู้ไม่หวังดี ที่ปาหินและใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุม และพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ได้ทาง https://tlhr2014.com/archives/50809