1881 1083 1433 1991 1803 1849 1603 1376 1637 1153 1221 1323 1597 1906 1103 1821 1004 1470 1950 1671 1085 1473 1854 1310 1993 1720 1711 1968 1172 1553 1862 1260 1277 1304 1192 1978 1494 1967 1299 1839 1740 1506 1601 1758 1348 1049 1684 1076 1041 1188 1355 1511 1616 1197 1754 1207 1595 1945 1187 1970 1013 1745 1330 1659 1201 1604 1012 1405 1592 1544 1638 1841 1465 1429 1489 1188 1418 1200 1754 1118 1706 1510 1838 1347 1516 1776 1644 1387 1402 1762 1214 1393 1883 1379 1452 1591 1220 1877 1015 ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนให้รอลงอาญา คดีม.112 ของพิทักษ์พงษ์ แถมเงื่อนไขห้ามล่วงเกินสถาบันฯ อีก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนให้รอลงอาญา คดีม.112 ของพิทักษ์พงษ์ แถมเงื่อนไขห้ามล่วงเกินสถาบันฯ อีก

3044
 
 
 
16 มกราคม 2567 ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของพิทักษ์พงษ์ จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวมีเนื้อหาทำนองวิจารณ์กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์และรัฐบาล โดยพาดพิงถึงความประพฤติของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาด้วยแก๊สน้ำตาและมีผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนจริงบริเวณแยกเกียกกาย
 
คดีนี้มีผู้ร้องทุกข์คือ สุรภพ จันทร์เปล่ง โดยรับมอบอำนาจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ต่อมา 11 มีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ราว 12 นาย แสดงหมายค้นค้นพักของพิทักษ์พงษ์ พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์ ซีพียูคอมพิวเตอร์ ให้พิทักษ์พงษ์บอกรหัสผ่านโทรศัพท์และรหัสผ่านเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นเขาได้รับหมายเรียกคดี มาตรา 112 และคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) และเมื่อ 27 กันยายน 2564 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ในนัดสืบพยานโจทก์เมื่อ 2 กันยายน 2565 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลสั่งสืบเสาะและพินิจเพื่อประกอบคำพิพากษา
 
ในส่วนของคำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ศาลอาญามีคำพิพากษา โดยสรุปว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จำคุกห้าปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกสองปีกับหกเดือน พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีและรายงานการสืบเสาะแล้ว จำเลยกระทำการโดยไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเคารพศรัทธาของประชาชนชาวไทยทั่วไป จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
 
สำหรับส่วนของคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 814 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ใจความว่า ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับการกำหนดโทษของศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกห้าปีเนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษเหลือจำคุกสองปีหกเดือน แต่เนื่องจากเห็นว่าจำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน เป็นการกระทำผิดครั้งแรก และจำเลยมีอาชีพมั่นคงเป็นหลักแหล่ง พิพากษาแก้ให้รอลงอาญาสามปี  กำหนดเงื่อนไขรายงานตัวต่อคุมประพฤติสี่ครั้งต่อหนึ่งปี ให้ทำงานบริการสังคม 84 ชั่วโมง และห้ามกระทำการใดๆ ที่มีส่วนล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริย์อีก
 
สำหรับภูมิหลังของพิทักษ์พงษ์ เขาเป็นประชาชนทั่วไป ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ไม่ได้เป็นนักเคลื่อนไหวหรือนักกิจกรรมทางการเมือง จุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์สืบเนื่องมาจากเห็นข่าวสลายการชุมนุมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563 ที่หน้ารัฐสภา แยกเกียกกาย ซึ่งในวันดังกล่าว รัฐสภาอันประกอบด้วย สส. และ สว. มีวาระพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีร่างจำนวนเจ็ดฉบับ รวมร่างที่เสนอโดยภาคประชาชน เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เขาโพสต์ถึงตำรวจควบคุมฝูงชน ตำรวจ และบุคคลผู้ไม่หวังดี ที่ปาหินและใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุม และพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ได้ทาง https://tlhr2014.com/archives/50809
Article type: