1242 1304 1701 1807 1064 1082 1658 1011 1656 1588 1294 1752 1625 1228 1924 1173 1574 1722 1735 1482 1675 1384 1745 1305 1492 1311 1336 1666 1571 1366 1634 1660 1018 1482 1909 1553 1528 1916 1332 1673 1113 1610 1047 1411 1170 1112 1317 1011 1153 1088 1457 1646 1578 1257 1782 1734 1914 1345 1619 1579 1534 1593 1464 1186 1097 1680 1916 1540 1887 1403 1727 1564 1481 1601 1665 1889 1872 1049 1086 1954 1511 1739 1960 1921 1074 1515 1461 1441 1988 1041 1221 1850 1412 1428 1135 1682 1015 1073 1699 26 มีนาฯ นัดพิพากษาคดีม. 112 แอมมี่และปูน ทะลุฟ้ากรณีเผารูปร. 10 หน้าเรือนจำเมื่อปี 64 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

26 มีนาฯ นัดพิพากษาคดีม. 112 แอมมี่และปูน ทะลุฟ้ากรณีเผารูปร. 10 หน้าเรือนจำเมื่อปี 64

 
 
วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดพร้อมเพื่ออ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์และวางเพลิงเผาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 217 ตามลำดับของแอมมี่-ไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ หรือ แอมมี่ The Bottom Blues และปูน-ธนพัฒน์ กาเพ็ง นักกิจกรรมทะลุฟ้า คดีนี้สืบเนื่องจากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่สิบด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564  โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และศาลอาญากำหนดวันอ่านคำพิพากษาเป็นวันที่ 26 มีนาคม 2567 ระบุด้วยว่า เห็นแก่ทั้งคู่ แอมมี่มีนัดหมายแสดงดนตรีและปูนกำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย
 
3038
 
3039
 
 
สำหรับนัดพร้อมเพื่อฟังคำวินินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องจากวันที่ 1 มีนาคม 2566 ระหว่างการสืบพยานทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ข้อความที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ไม่ได้บัญญัติถ้อยคำอันแสดงถึงคุณธรรมที่เป็นมูลฐานที่กฎหมายต้องการคุ้มครอง คือ อันตรายต่อประชาชนทั่วไปอย่างชัดแจ้ง บัญญัติแต่เพียงว่า “ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น” แต่ไม่ได้บัญญัติว่า “อันอาจเป็นอันตรายแก่ประชาชนทั่วไป”  บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีความแน่นอน เปิดช่องให้ตีความเป็นผลร้ายต่อจำเลยทั้งสอง เนื่องจากมีบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะคุ้มครองทรัพย์ของบุคคลไว้อยู่แล้วตามมาตรา 358 ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า การกระทำเช่นใดจะเป็นความผิดตามกฎหมายบทใด เมื่อพิจารณาประกอบกับการเผาทรัพย์ที่เป็นการแสดงออกทางศิลปะหรือการประท้วงเรียกร้อง เป็นการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ 34 ยิ่งทำให้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 เป็นบทบัญญัติที่ไม่ได้สัดส่วนและเกินสมควรแก่เหตุ 
 
นอกจากนี้สัดส่วนโทษระหว่างมาตรา 217 มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 10,000-140,000 บาท ขณะที่มาตรา 258 ซึ่งเป็นการทำลายหรือทำให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียไปเช่นเดียวกัน กลับมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและยังเป็นความผิดฐานยอมความได้ ดังกล่าวจึงเป็นเหตุโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ว่า ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 26 และ 34 หรือไม่ วันที่ 18 ตุลาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
 
3040
 
คดีนี้สืบเนื่องจากแอมมี่และปูน ถูกกล่าวหาว่าเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่สิบหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 นำสู่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 217 หลังเกิดเหตุวันที่ 3 มีนาคม 2564 แอมมี่ถูกจับกุมและไม่ได้ประกันตัวเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 จึงได้รับการประกันตัวในการร้องขอครั้งที่แปด รวมระยะเวลาคุมขังในชั้นสอบสวนของตำรวจ 69 วัน ส่วนปูน จำเลยร่วมคดีนี้ ขณะเกิดเหตุมีอายุ 18 ปีกับอีกเก้าวัน ทำให้เขาไม่ได้ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนกลางและครอบครัว  แม้ทนายจะพยายามต่อสู้ให้ได้ย้ายไปพิจารณาคดีในศาลเยาวชนกลางและครอบครัวตามคำวินิจฉัยพฤติกรรมของแพทย์แล้วก็ตาม ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลว่าคำวินิจฉัยของแพทย์ใช้เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจแต่เพียงเท่านั้น
 
ในชั้นศาล จำเลยทั้งสองรับว่า เป็นผู้เผาพระบรมฉายาลักษณ์หน้าเรือนจำคลองเปรมจริงตามที่อัยการฟ้อง แต่การกระทำของทั้งคู่ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากเป็นการเผาเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น 
--------------------------------------------------------------------
อ่านเพิ่มเติม