1544 1741 1211 1923 1104 1274 1117 1182 1665 1191 1469 1139 1392 1506 1235 1498 1154 1629 1903 1284 1890 1167 1248 1827 1684 1727 1700 1545 1942 1325 1478 1957 1062 1998 1136 1974 1841 1032 1490 1001 1877 1326 1594 1669 1922 1712 1818 1032 1253 1847 1311 1416 1960 1240 1307 1623 1970 1761 1821 1099 1424 1142 1480 1122 1205 1123 1788 1668 1989 1197 1149 1479 1770 1682 1670 1333 1593 1335 1651 1807 1425 1372 1470 1962 1948 1754 1980 1214 1473 1340 1678 1236 1149 1344 1027 1657 1081 1667 1068 26 มีนาฯ นัดพิพากษาคดีม. 112 แอมมี่และปูน ทะลุฟ้ากรณีเผารูปร. 10 หน้าเรือนจำเมื่อปี 64 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

26 มีนาฯ นัดพิพากษาคดีม. 112 แอมมี่และปูน ทะลุฟ้ากรณีเผารูปร. 10 หน้าเรือนจำเมื่อปี 64

 
 
วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดพร้อมเพื่ออ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์และวางเพลิงเผาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 217 ตามลำดับของแอมมี่-ไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ หรือ แอมมี่ The Bottom Blues และปูน-ธนพัฒน์ กาเพ็ง นักกิจกรรมทะลุฟ้า คดีนี้สืบเนื่องจากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่สิบด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564  โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และศาลอาญากำหนดวันอ่านคำพิพากษาเป็นวันที่ 26 มีนาคม 2567 ระบุด้วยว่า เห็นแก่ทั้งคู่ แอมมี่มีนัดหมายแสดงดนตรีและปูนกำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย
 
3038
 
3039
 
 
สำหรับนัดพร้อมเพื่อฟังคำวินินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องจากวันที่ 1 มีนาคม 2566 ระหว่างการสืบพยานทนายจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ข้อความที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ไม่ได้บัญญัติถ้อยคำอันแสดงถึงคุณธรรมที่เป็นมูลฐานที่กฎหมายต้องการคุ้มครอง คือ อันตรายต่อประชาชนทั่วไปอย่างชัดแจ้ง บัญญัติแต่เพียงว่า “ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น” แต่ไม่ได้บัญญัติว่า “อันอาจเป็นอันตรายแก่ประชาชนทั่วไป”  บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีความแน่นอน เปิดช่องให้ตีความเป็นผลร้ายต่อจำเลยทั้งสอง เนื่องจากมีบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะคุ้มครองทรัพย์ของบุคคลไว้อยู่แล้วตามมาตรา 358 ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า การกระทำเช่นใดจะเป็นความผิดตามกฎหมายบทใด เมื่อพิจารณาประกอบกับการเผาทรัพย์ที่เป็นการแสดงออกทางศิลปะหรือการประท้วงเรียกร้อง เป็นการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ 34 ยิ่งทำให้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 เป็นบทบัญญัติที่ไม่ได้สัดส่วนและเกินสมควรแก่เหตุ 
 
นอกจากนี้สัดส่วนโทษระหว่างมาตรา 217 มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 10,000-140,000 บาท ขณะที่มาตรา 258 ซึ่งเป็นการทำลายหรือทำให้ทรัพย์ผู้อื่นเสียไปเช่นเดียวกัน กลับมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและยังเป็นความผิดฐานยอมความได้ ดังกล่าวจึงเป็นเหตุโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ว่า ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 26 และ 34 หรือไม่ วันที่ 18 ตุลาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
 
3040
 
คดีนี้สืบเนื่องจากแอมมี่และปูน ถูกกล่าวหาว่าเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่สิบหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 นำสู่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 217 หลังเกิดเหตุวันที่ 3 มีนาคม 2564 แอมมี่ถูกจับกุมและไม่ได้ประกันตัวเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 จึงได้รับการประกันตัวในการร้องขอครั้งที่แปด รวมระยะเวลาคุมขังในชั้นสอบสวนของตำรวจ 69 วัน ส่วนปูน จำเลยร่วมคดีนี้ ขณะเกิดเหตุมีอายุ 18 ปีกับอีกเก้าวัน ทำให้เขาไม่ได้ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนกลางและครอบครัว  แม้ทนายจะพยายามต่อสู้ให้ได้ย้ายไปพิจารณาคดีในศาลเยาวชนกลางและครอบครัวตามคำวินิจฉัยพฤติกรรมของแพทย์แล้วก็ตาม ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลว่าคำวินิจฉัยของแพทย์ใช้เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจแต่เพียงเท่านั้น
 
ในชั้นศาล จำเลยทั้งสองรับว่า เป็นผู้เผาพระบรมฉายาลักษณ์หน้าเรือนจำคลองเปรมจริงตามที่อัยการฟ้อง แต่การกระทำของทั้งคู่ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากเป็นการเผาเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น 
--------------------------------------------------------------------
อ่านเพิ่มเติม 
Article type: