1181 1326 1438 1806 1368 1635 1233 1255 1549 1743 1750 1442 1710 1680 1704 1766 1640 1593 1362 1893 1630 1881 1691 1569 1873 1520 1630 1460 1598 1874 1517 1187 1731 1235 1178 1823 1654 1673 1840 1584 1553 1334 1067 1522 1935 1967 1034 1608 1935 1859 1971 1922 1385 1970 1836 1938 1658 1571 1065 1390 1489 1451 1511 1289 1902 1558 1830 1497 1074 1439 1020 1298 1648 1403 1963 1713 1150 1975 1223 1106 1412 1998 1145 1455 1962 1129 1271 1660 1297 1633 1856 1711 1510 1668 1950 1859 1439 1602 1351 ปิดทางสู้? ศาลไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ให้จำเลยชุมนุมปฏิรูปสถาบันฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ปิดทางสู้? ศาลไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ให้จำเลยชุมนุมปฏิรูปสถาบันฯ

 
 
คดีมาตรา 112 จำนวนหนึ่งเป็นคดีที่มีมูลเหตุมาจากการปราศรัยหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้พระราชอำนาจหรือการดำเนินการบางประการของพระมหากษัตริย์ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินและการประทับในต่างแดนหรือการใช้งบประมาณ การพิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือพิสูจน์เจตนาในการกระทำของจำเลยเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยเอกสารสำคัญ เช่น เอกสารบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเข้า - ออกประเทศ หรือเอกสารเกี่ยวกับงบประมาณของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานต่างๆ มาเป็นหลักฐานในการต่อสู้คดี จำเลยในคดีเหล่านั้นจึงร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารสำคัญที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานต่างๆ มาเข้าสำนวนเพื่อใช้ประกอบในการถามค้านพยานฝ่ายโจทก์ แต่ปรากฎว่าศาลมักปฏิเสธการออกหมายเรียกพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์เหล่านั้นโดยอ้างว่าไม่เกี่ยวกับคดี
 
2700

 

คดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร

ศาลยอมเรียกคำพิพากษาคดีกระทรวงการคลังยึดทรัพย์ร.7 แต่ไม่ยอมเรียกตารางบินร.10กับเอกสารงบสำนักทรัพย์สินฯ
 
คดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เป็นหนึ่งในคดีไฮไลท์ของชุดคดีมาตรา 112 ที่มีมูลเหตุมาจากการชุมนุมในปี 2563 คดีนี้มีจำเลยรวม 22 คน ทั้งหมดถูกดำเนินคดีในหลายข้อหารวมถึงข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และในจำนวนนั้นมีเจ็ดคนที่ถูกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการขึ้นกล่าวปราศรัยถึงปัญหาแวดล้อมสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างที่มีการชุมนุม
 
เนื่องจากจำเลยที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยมาตรา 112 ในคดีนี้ ต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองว่าการปราศรัยหรือแสดงออกตามที่ถูกกล่าวหา เป็นการปราศรัยตามข้อเท็จจริงโดยมีเจตนาเพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารรวมหกรายการ ได้แก่
 
1. เอกสารการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยของรัชกาลที่สิบ ระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2563 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
2. เอกสารการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยของรัชกาลที่สิบ ระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2563 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ บริษัทการบินไทย
3. รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณราชการส่วนพระองค์ ประจำปีงบประมาณ 2560-2563 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ หน่วยราชการในพระองค์
4. รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประจำปีงบประมาณ 2560-2564 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
5. คําเบิกความพยานโจทก์ ในคดีหมายเลขคดีดําที่ 197/2482 ที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ ฟ้องรัชกาลที่เจ็ดกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ศาลแพ่ง และ
6. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขคดีดําที่ 197/2482 ที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ ฟ้องรัชกาลที่เจ็ดกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ ศาลอุทธรณ์
 
เบื้องต้นในการสืบพยานนัดแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ศาลแจ้งทนายจำเลยว่าที่ทนายเคยยื่นคำร้องขอออกหมายเรียกพยานเอกสารเข้ามาในสำนวน ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่า เอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารของหน่วยงานภายนอก และไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี ศาลจึงไม่อาจออกหมายเรียกให้ได้ พร้อมแจ้งกับฝ่ายจำเลยว่าการหาพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของจำเลย หลังอัยการถามความพยานปากแรกจนแล้วเสร็จทนายจำเลยจึงแถลงต่อศาลว่าจะขอเลื่อนการพิจารณาคดีในส่วนของการถามค้านพยานปากแรกออกไปก่อนโดยระหว่างนั้นจะพยายามไปขอพยานเอกสารมาเข้าสำนวนเพื่อใช้ในการถามค้านนัดต่อไปซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานออกไปได้ แต่เมื่อทนายความพยายามดำเนินการขอพยานเอกสารโดยไม่มีหมายเรียกพยานเอกสารที่ออกโดยศาลก็ไม่มีหน่วยงานเจ้าของเอกสารหน่วยงานใดส่งมอบเอกสารให้ บางหน่วยงานตอบปฏิเสธกลับมาส่วนบางหน่วยงานไม่ตอบอะไรกลับมา ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารให้อีก ซึ่งศาลก็ยืนยันไม่ออกให้ โดยมีความน่าสนใจว่าครั้งหนึ่งเมื่อทนายจำเลยแจ้งข้อขัดข้องเรื่องการเข้าถึงพยานเอกสารและขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารให้ องค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเคยแจ้งกับทนายความว่าจะขอนำเรื่องไปหารือกับผู้บริหารศาลอาญาก่อน แต่ต่อมาเมื่อทนายจำเลยไปขอพบผู้บริหารศาลเพื่อหารือในประเด็นดังกล่าวกลับได้รับคำตอบว่า การออกหมายเรียกพยานเอกสารเป็นอำนาจของผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดี ผู้บริหารศาลไม่มีอำนาจดังกล่าว 
 
ท้ายที่สุดในเดือนมิถุนายน 2565 ศาลอาญายอมออกหมายเรียกพยานเอกสารในส่วนของคำเบิกความพยานและคำพิพากษาคดีที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ฟ้องรัชกาลที่เจ็ดกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี แต่ยืนยันที่จะไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารอื่นๆที่ขอไปให้ แม้ศาลจะอนุญาตให้ออกหมายเรียกพยานเอกสารไปถึงศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์แต่จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 ทนายจำเลยยังคงไม่ได้รับเอกสารที่ขอออกหมายเรียกไป ก่อนหน้านั้นในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ศาลอนุญาตให้ออกหมายเรียกพยานเอกสารถึงศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์เป็นครั้งแรก ศาลแก้ชื่อบุคคลผู้รับหมายจากที่ทนายเขียนในคำร้องให้ส่งถึงอธิบดีศาลอุทธรณ์และอธิบดีศาลแพ่ง เป็นให้ส่งถึงผู้อำนายการ สำนักอำนวยการประะจำศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ซึ่งไม่ใช่ผู้มีอำนาจส่งมอบเอกสารดังกล่าว ทำให้เกิดเหตุขัดข้องและทนายจำเลยต้องมาแถลงข้อขัดข้องต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายเรียกใหม่อีกครั้ง
 
ข้อขัดข้องเรื่องการเข้าถึงพยานเอกสารสำคัญในคดี และการที่ศาลปฏิเสธการออกหมายเรียกพยานเอกสารส่งผลให้ทนายจำเลยจำเป็นต้องแถลงขอเลื่อนการสืบพยานออกไปโดยตรงสี่ครั้ง ส่วนการเลื่อนสืบพยานโจทก์คดีนี้อีกสามนัด เป็นการเลื่อนนัดสืบพยานที่มีมูลเหตุอื่นเกี่ยวข้องด้วย
 

คดีการชุมนุมเสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตยและคดีทำโพลเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ยังต้องลุ้นว่าศาลจะเรียกพยานเอกสารให้หรือไม่
 
นอกจากคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร คดีการชุมนุม #เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยที่ทนายอานนท์ นำภา เป็นผู้ปราศรัยและเป็นจำเลยคดีมาตรา 112 จากการชุมนุมครั้งนี้เพียงคนเดียวก็เป็นอีกหนึ่งคดีที่จำเลยประสบปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงพยานหลักฐาน ในตอนหนึ่งของการปราศรัยที่เป็นมูลเหตุแห่งคดี ทนายอานนท์พูดถึงปัญหาของออกพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 โดยสนช.ที่พล.อ.ประยุทธ์เป็นคนแต่งตั้งที่เป็นการขยายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ทนายอานนท์ขอให้ทนายความของเขายื่นคำร้องต่อศาลให้ออกหมายเรียกพยานเอกสารสำคัญในคดีซึ่งมีคำฟ้องและคำพิพากษาคดีแพ่งที่กระทรวงการคลังเป็นโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากรัชกาลที่เจ็ดซึ่งเป็นเอกสารชุดเดียวกับที่จำเลยคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ยื่นขอรวมอยู่ด้วย แต่ในคดีของทนายอานนท์ เมื่อฝ่ายจำเลยแถลงต่อศาลขอให้ออกหมายหมายเรียกเอกสารครั้งแรก ศาลก็กล่าวในทันทีว่าคงไม่สามารถเรียกพยานเอกสารฉบับนี้ให้กับทนายอานนท์ได้ ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าหากศาลไม่เรียกเอกสารมา จำเลยเกรงว่าจะไม่สามารถขอคัดถ่ายเอกสารได้เองเนื่องจากไม่ใช่คู่ความ แต่ศาลยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องไปหาวิธีนำเอกสารมาเอง https://tlhr2014.com/archives/37856
 
ศาลย้ำกับทนายอานนท์และทนายความของเขาอย่างหนักแน่นหลายครั้งด้วยว่า จะไม่มีการเรียกเอกสารระหว่างศาล (ในกรณีเอกสารคดีกระทรวงการคลังฟ้องรัชกาลที่เจ็ด) มาอย่างแน่นอน เนื่องจากมีช่องทางอื่นที่จำเลยสามารถนำเอกสารมาเข้าสำนวนได้ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งศาลเริ่มสืบพยานคดีนี้ ก่อนเริ่มการสืบพยานในนัดแรกทนายจำเลยแถลงต่อศาลเรื่องที่ศาลไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารให้ ซึ่งศาลตอบทนายจำเลยในข้อนี้ว่า
 
“ศาลก็อยากออกหมายเรียกให้นะ ถ้าให้ มันก็สามารถเอาไปใช้ได้เรื่อยๆ กับทุกสำนวน แต่ท่านเข้าใจใช่หรือไม่ว่ามันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน”
 
ในการสืบพยานนัดดังกล่าวทนายอานนท์ในฐานะจำเลยแถลงต่อศาลว่าเขาประสงค์ที่จะขอหารือกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อสอบถามเรื่องเหตุผลที่ศาลไม่ออกหมายเรียกพยานจำเลยให้ ศาลจึงเลื่อนการพิจารณาคดีในนัดแรกให้ จากนั้นในการสืบพยานนัดต่อมาศาลให้ทนายอานนท์ยื่นคำร้องขอออกหมายเรียกพยานเอกสารเข้ามาใหม่โดยจะต้องระบุให้ชัดว่าเอกสารที่ขอออกหมายเรียกมาจะใช้นำสืบในประเด็นใดบ้าง โดยในระหว่างที่ศาลพิจารณาคำร้องก็ให้สืบพยานไปเลย หากเป็นพยานโจทก์ที่จำเป็นจะต้องสืบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอกสารก็ให้ทนายรอไปถามค้านหลังจากได้เอกสารไปแล้ว แต่หากเป็นพยานโจทก์ปากที่ไม่เกี่ยวข้องกับเอกสารที่รอการออกหมายเรียกก็ให้ทนายจำเลยสืบพยานไปเลยเพื่อไม่ให้การพิจารณาคดีล่าช้า คดีของทนายอานนท์จึงยังต้องติดตามต่อไปว่าในที่สุดศาลจะออกหมายเรียกพยานเอกสารให้ทนายอานนท์หรือไม่
 
นอกจากคดีของทนายอานนท์แล้ว อีกคดีหนึ่งที่จะต้องจับตาเรื่องการออกหมายเรียกพยานเอกสาร ได้แก่คดีของ "ใบปอ" และ "บุ้ง" นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังที่ถูกดำเนินคดีจากการทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ "เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลให้กษัตริย์ใช้อำนาจตามพระราชอัธยาศัย” ที่บริเวณสกายวอล์กสถานีรถไฟฟ้าหมอชิตกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสวนจตุจักรเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าเมื่อถึงวันนัดสืบพยานที่ศาลกำหนดไว้ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ศาลจะออกหมายเรียกพยานเอกสารรวมหกรายการ ได้แก่
 
1. ต้นฉบับหรือสำเนาฉบับรับรองถูกต้อง สำนวนคดีทั้งหมดของศาลแพ่ง ระหว่างกระทรวงการคลังโจทก์ กับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
2. รายงานการใช้งบประมาณโครงการจัดแสดงสินค้าแนวใหม่ในต่างประเทศ สำหรับแบรนด์ Sirivannavari ซึ่งเอกสารมีอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์
3. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2565
4. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
5. รายการและรายละเอียดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินในพระองค์ และทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565 และ
6. งบประมาณของสำนักพระราชวังในปี พ.ศ. 2561 – 2565
 

มาตรา 112 ไม่มีเหตุยกเว้นโทษ - ไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง พยานเอกสารจึงไม่เกี่ยวข้อง?

 

แม้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทรวมอยู่ด้วย แต่ก็มีความต่างในสาระสำคัญเรื่องเหตุยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด ในกรณีของกฎหมายหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 มีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 กำหนดบทยกเว้นความผิดไว้ว่า การแสดงความคิดเห็นที่เป็นไปโดยสุจริต เพื่อการปกป้องตัวเองหรือส่วนได้ส่วนเสีย การแสดงออกในฐานะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามหน้าที่ การติชมด้วยความสุจริตหรือเป็นธรรม หรือเป็นการแจ้งข่าวการดำเนินการในศาลหรือในการประชุม ให้ถือว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ขณะที่มาตรา 330 ก็กำหนดเหตุยกเว้นโทษไว้ว่า หากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทเป็นเรื่องจริง ผู้ถูกดำเนินคดีก็ไม่ต้องรับโทษ แต่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นส่วนตัวไม่ได้ แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ได้มีการกำหนดบทยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษไว้ ศาลจึงอาจเห็นว่าการพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำเลยแสดงออกเป็นความจริงหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นในคดี จึงฏิเสธที่จะออกหมายเรียกพยานเอกสารให้ อย่างไรก็ตามทนายจำเลยคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ก็โต้แย้งประเด็นนี้ไว้ด้วยเหตุผลสองประการ
 
ประเด็นแรกแม้มาตรา 112 จะไม่มีบทยกเว้นโทษ แต่ตามรัฐธรรมนูญศาลต้องเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อให้จำเลยได้พิสูจน์สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ และประเด็นที่สอง แม้การพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะไม่ต้องคำนึงถึงการพิสูจน์ว่าสิ่งที่จำเลยพูดหรือแสดงออกเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ในคดีนี้นอกจากข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้ว จำเลยยังถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ด้วย ซึ่งองค์ประกอบความผิดของกฎหมายดังกล่าวคือต้องเป็นการกระทำที่ไม่ได้อยู่ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ถ้าจำเลยแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตก็จะไม่มีความผิด การพิสูจน์ความจริงจึงยังมีความจำเป็น และฝ่ายจำเลยยืนยันขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารทั้งหมดให้