1207 1968 1807 1731 1575 1323 1233 1671 1689 1841 1025 1664 1920 1412 1633 1683 1490 1206 1403 1605 1946 1792 1378 1781 1606 1951 1907 1144 1351 1528 1108 1825 1861 1895 1969 1243 1428 1093 1497 1874 1494 1734 1438 1226 1435 1775 1966 1142 1631 1091 1537 1514 1369 1771 1480 1969 1467 1376 1581 1695 1357 1560 1068 1149 1739 1299 1574 1240 1420 1809 1654 1876 1480 1026 1854 1077 1190 1533 1339 1959 1923 1353 1071 1439 1604 1392 1023 1378 1519 1565 1125 1583 1279 1575 1799 1696 1793 1216 1643 ตำรวจยึดมือถือได้หรือไม่ บังคับเอาพาสเวิร์ดได้หรือไม่ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ตำรวจยึดมือถือได้หรือไม่ บังคับเอาพาสเวิร์ดได้หรือไม่

 

ในการจับกุมตัวผู้ต้องหาเพื่อดำเนินคดีในคดีอาญาทั่วไป ตำรวจจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นๆ ประกอบด้วยเสมอ อย่างไรก็ดี ในกรณีส่วนใหญ่ตำรวจจะไม่ขอยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหา หรือผู้ถูกจับกุม ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ แต่ในการจับกุมตัวผู้ต้องหาเพื่อดำเนินคดีทางการเมือง หลายครั้งตำรวจไม่ต้องการให้ผู้ถูกจับกุมบันทึกภาพหรือวิดีโอระหว่างการจับกุม หรืออาจต้องการข้อมูลอื่นๆ ประกอบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงใช้อำนาจ "ยึด" โทรศัพท์มือถือของผู้ถูกจับกุม ทั้งการใช้กำลังเข้ายึด และการบอกให้ส่งมอบโทรศัพท์มือถือให้
 
และหลายกรณีเมื่อตำรวจจับกุมตัวผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต้องการหาข้อมูลการเคลื่อนไหว ก็จะบังคับให้ผู้ถูกจับยอมใส่รหัสผ่านให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูลและเข้าใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นๆ เพื่อขยายวงหาข้อมูลเชื่อมโยงไปยังคนที่อาจมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางการเมืองคนอื่นๆ ต่อไป
 
อำนาจการแสวงหาพยานหลักฐานของตำรวจจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นในลักษณะเดียวกัน มีกฎหมายให้อำนาจตำรวจสามารถทำได้ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้วย โดยที่ตำรวจสามารถค้น ยึด และเข้าถึงข้อมูลได้ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้
 
 
ถ้ามือถืออยู่กับตัวคนถูกจับ ยึดได้ และต้องทำอย่างสุภาพ
 
การยึดสิ่งของต่างๆ จากผู้ถูกจับกุม มีหลักเกณฑ์เขียนไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 ดังนี้
 
มาตรา 85 เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหาและยึดสิ่งของต่างๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ 
การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น
สิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
 
ในกรณีที่มีการจับกุมตัวบุคคลโดยตำรวจที่มีอำนาจจับได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เป็นการจับโดยมีหมายจับจากศาล หรือจากการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับ เมื่อจับกุมแล้วตำรวจมีอำนาจค้นตัวคนที่ถูกจับเพื่อหาและยึดสิ่งของต่างๆ ที่อยู่กับตัวได้ การให้อำนาจตำรวจค้นตัวนี้มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่ผู้ต้องหาอาจมีอาวุธ หรือมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้หลบหนีติดตัวอยู่ด้วย แต่ถ้าหากยังไม่มีการจับกุม หรือตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมตัวผู้ต้องหาตามอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตำรวจก็จะเข้าค้นตัวและยึดสิ่งของไปก่อนไม่ได้ 
 
การค้นตัวและยึดสิ่งของตามมาตรา 85 จะสามารถทำได้ต่อเมื่อสิ่งของที่จะยึดอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถืออาจเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีเกี่ยวกับการโพสข้อความออนไลน์ แต่ไม่ใช่พยานหลักฐานในคดีเกี่ยวกับการกีดขวางการจราจร หรือคดีในข้อหาชุมนุมในพื้นที่ต้องห้าม ดังนั้น ตำรวจจะมีอำนาจยึดโทรศัพท์มือถือได้เฉพาะในกรณีที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามข้อกล่าวหาได้เท่านั้น ไม่ใช่ทุกกรณีที่ตำรวจสามารถตรวจค้นเพื่อยึดโทรศัพท์มือถือได้ทั้งหมด
 
และตามมาตรา 85 วรรคสอง การค้นต้องทำโดยสุภาพ ไม่ใช่การใช้กำลังหรือบังคับเพื่อยึดเอาสิ่งของนั้นมา ถ้าหากคนที่ถูกจับยังมีข้อโต้แย้ง ยังไม่ยินยอมให้จับ และตำรวจใช้กำลังบังคับเพื่อจับกุมและยึดโทรศัพท์มือถือ ย่อมเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อมาตรา 85 วรรคสอง  โดยตำรวจมีหน้าที่จะต้องอธิบายข้อกฎหมายและดำเนินกระบวนการจับกุมให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ส่วนการค้นตัวและยึดสิ่งของต้องทำในภายหลังการจับกุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ใช้กำลังบังคับ
 
 
2256
 
 
ถ้ามือถือไม่อยู่กับตัวคนถูกจับ ต้องมีหมายศาลเท่านั้น และยึดไว้นานไม่ได้
 
การยึดสิ่งของที่ไม่ได้อยู่กับตัวคนที่ถูกจับกุม เช่น อยู่ที่บ้าน อยู่ในรถ อยู่กับบุคคลอื่น ไม่สามารถทำได้ เว้นแต่มีหมายค้นของศาล โดยหมายค้นของศาลที่จะทำให้ตำรวจมีอำนาจยึดโทรศัพท์มือถือได้นั้น จะต้องระบุสถานที่ที่จะตรวจค้นให้ชัดเจน เช่น ที่อยู่ใดบ้านเลขที่เท่าไร รถคันใดหมายเลขทะเบียนอะไร และต้องระบุเหตุในการค้นให้ชัดเจนว่า ต้องการหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในข้อหาใด และต้องการยึดสิ่งของประเภทใดบ้าง 
 
กรณีการยึดโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 18 และ 19 ดังนี้
 
มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่มีการร้องขอตามวรรคสองให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
 
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
 
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
 
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิด
 
มาตรา 19 การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง  ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิด เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
 
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
 
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
 
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 18 (4)  ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
 
การยึดหรืออายัดตามมาตรา 18 (8) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
 
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
ตำรวจจะมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาส่งมอบตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้กับตำรวจ ได้ต่อเมื่อมีหมายจากศาลเท่านั้น ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 18(8) และมาตรา 19 วรรคแรก โดยในการยื่นคำร้องขอออกหมายต่อศาล ทางตำรวจต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำความผิด, เหตุที่ต้องใช้อำนาจ, ลักษณะของการกระทำความผิด, รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อเข้ายึดแล้วก็ต้องทำสำเนาเอกสารระบุเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดมอบให้เจ้าของเครื่องไว้ด้วย
 
เมื่อตำรวจต้องการจะยึดตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ในมาตรา 19 ก็กำหนดขั้นตอนให้ตำรวจต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ดังนี้
 
1. ต้องส่งสำเนาเอกสารระบุเหตุอันควรเชื่อให้ตำรวจต้องทำสำเนาข้อมูลให้ไว้กับเจ้าของเครื่อง
2. ต้องส่งสำเนาหนังสือแสดงการยึดมอบให้เจ้าของเครื่องเก็บไว้เป็นหลักฐาน
3. ตำรวจที่เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการต้องส่งบันทึกรายละเอียดการดำเนินการ และเหตุผลให้ศาล ภายใน 48 ชั่วโมง
4. ตำรวจจะยึดไว้นานเกินกว่า 30 วันไม่ได้ ถ้านานกว่านั้นต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขยายระยะเวลา แต่ศาลจะให้ขยายได้ไม่เกิน 60 วัน 
 
อย่างไรก็ตาม บางกรณีตำรวจอาจไม่ต้องการเอาตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ไปเก็บไว้เอง แต่ต้องการเพียงข้อมูลที่อยู่ในนั้น ตำรวจก็อาจเลือกวิธีการทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดในตัวเครื่องไปก็ได้ ซึ่งเป็นกรณีตามมาตรา 18(4) ที่ต้องอาศัยหมายจากศาลตามมาตรา 19 วรรคแรกอีกเช่นกัน กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักเพราะการเอาตัวเครื่องไปอาจสะดวกกับตำรวจที่ทำการจับกุมมากกว่า 
 
เมื่อตำรวจต้องการจะทำสำเนา มาตรา 19 ก็กำหนดขั้นตอนให้ตำรวจต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวังเช่นเดียวกัน ดังนี้
 
1. การทำสำเนาต้องทำเฉพาะกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิด และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อเจ้าของเครื่องเกินจำเป็น
2. ต้องส่งสำเนาเอกสารระบุเหตุอันควรเชื่อให้ตำรวจต้องทำสำเนาข้อมูลให้ไว้กับเจ้าของเครื่อง
3. ให้ตำรวจที่เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการส่งบันทึกรายละเอียดการดำเนินการ และเหตุผลให้ศาล ภายใน 48 ชั่วโมง
 
 
บังคับเอาพาสเวิร์ดได้ เมื่อมีหมายศาลเท่านั้น
 
แม้การยึดโทรศัพท์มือถือที่อยู่กับตัวผู้ถูกจับจะสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องมีหมายศาลเพื่อค้นหรือยึดเป็นการเฉพาะ แต่ตำรวจมีอำนาจเพียงยึดตัวเครื่องไปเท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะเปิดเครื่องและเข้าไปใช้งานได้ถ้าเจ้าของไม่อนุญาต โดยเฉพาะเมื่อมีการใส่รหัสลับ (Password) สำหรับการเข้าถึงเอาไว้
 
การจะเข้าไปใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยึดมาได้ ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 18 (7) โดยตำรวจมีอำนาจที่จะถอดรหัสลับ หรือ "แกะพาสเวิร์ด" หรือสั่งให้เจ้าของใส่พาสเวิร์ดให้ หรือให้บอกพาสเวิร์ดแก่ตำรวจได้ต่อเมื่อมีหมายศาลตามมาตรา 19 เท่านั้น ถ้าไม่มีหมายศาล ผู้ถูกจับกุมก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมบอกพาสเวิร์ดก็ได้จนกว่าตำรวจจะนำหมายศาลมาแสดงให้ถูกต้อง 
 
หากตำรวจถอดรหัสลับไปเองโดยไม่มีหมายจากศาลมาแสดงก่อน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 5 ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
แต่ถ้าหากผู้ถูกจับกุมคนใดยินยอมที่จะบอกพาสเวิร์ดไปเพื่อแสดงความบริสุทธ์ใจ และยินยอมให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูลในตัวเครื่อง โดยตำรวจไม่ได้ใช้กำลังบังคับขู่เข็ญ ก็เป็นอำนาจของเจ้าของเครื่องนั้นที่จะให้ความยินยอมโดยสมัครใจได้ โดยตำรวจไม่มีความผิด
 
 
 
 
ชนิดบทความ: