- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
พุทธณี
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด ซึ่งประกอบกิจการฟาร์มไก่หลายแห่ง เป็นคู่ค้าที่ขายไก่ให้กับเบทาโกร ในการดำเนินคดีนี้มี ชาญชัย เพิ่มผล เป็นผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์คนเดียวกับที่ยื่นฟ้องลูกจ้างชาวพม่า นักวิชาการ เอ็นจีโอ และสื่อมวลชนอีกรวมหลายคดี
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลอาญากรุงเทพใต้ No: อ.2876/2562 วันที่: 2020-12-06
ผู้ไกล่เกลี่ยจึงให้เลื่อนการไกล่เกลี่ยไปนัดครั้งที่สอง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมาตกลงกันอีกครั้ง
27 กุมภาพันธ์ 2563
ทนายความของอังคณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และ 161/2 สรุปใจความได้ว่า
คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เข้าข่ายที่ศาลจะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 ซึ่งให้อำนาจศาลกลั่นกรองคำฟ้องที่บุคคลยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลโดยตรงเพื่อสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาตั้งแต่แรก หากปรากฏว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต หรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลย โดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาสั่งไม่รับฟ้องก่อนที่จะไต่สวนมูลฟ้อง ด้วยเหตุผลดังนี้
1. คำฟ้องของโจทก์เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงในการฟ้องคดี
ตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องถึงวิธีการที่จะเข้าถึงวิดีโอความยาว 107 วินาที จะต้องเป็นไปหลายขั้นตอนกว่าจะเข้าถึง บางข้อความที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโพสต์นั้นต้องอาศัยถึงหกขั้นตอนกว่าจะเข้าถึงคลิปวิดีโอดังกล่าว ข้อความในส่วนที่โจทก์นำมาฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยหมิ่นประมาทเป็นข้อความที่อยู่ในคลิปวิดีโอเท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อความจาทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กของจำเลย
โพสต์ของจำเลยไม่ได้บรรยายข้อความใดๆ ที่เชิญชวนให้ผู้อ่านคลิกเข้าไป หากไม่สังเกตคนทั่วไปจะไม่อาจเข้าสู่คลิปวิดีโอดังกล่าวนั้นได้เลย เป็นการเชื่อมโยงโดยจินตนาการของโจทก์ที่พยายามหาความเชื่อมโยงไปให้ถึงวิดีโอดังกล่าวผ่านหลายขั้นตอน จึงเป็นการฟ้องคดีที่มีลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง
2. การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์รู้ดีอยู่ว่า การโพสต์แนบลิงก์บทความที่เป็นแถลงการณ์ให้โจทก์ยุติการฟ้องคดีต่อลูกจ้าง และนักสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ไม่ได้มีข้อความใดที่เป็นความเท็จ และไม่ได้มีข้อความที่โจทก์นำมากล่าวอ้างว่า เป็นการหมิ่นประมาท แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อให้แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีที่โดยไม่ชอบธรรม
คดีนี้โจทก์อ้างว่า มีการหมิ่นประมาทต่อบุคคลที่สาม แต่ไม่ได้บรรยายว่า บุคคลที่ทราบเป็นผู้ใดที่ได้รับทราบข้อมูลนี้ และมีสาเหตุใดที่นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ทั้งๆ ที่ภูมิลำเนาของจำเลยไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ไม่ฟ้องคดีตามภูมิลำเนาของจำเลย
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นโพสต์ของจำเลยตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 จนถึงเดือนกันยายน 2562 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ทั้งๆ ที่โจทก์ดำเนินคดีต่อบุคคลหลายคนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิ่งทราบการกระทำความผิดในเดือนตุลาคม 2562 จึงเป็นการฟ้องเกินกว่าสามเดือน ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การฟ้องคดีของโจทก์ถือได้ว่า เป็นการฟ้องเพื่อปิดปากหรือเพื่อกลั่นแกล้ง ที่เรียกว่า SLAPP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้กระบวนการทางกฎหมายทำให้ผู้ที่แสดงอออกในประเด็นสาธารณะหยุดการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะเป็นการฟ้องคดีเพื่อตอบโต้การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ต้องการให้ปรากฏ หรือฟ้องเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือเพื่อเจตนาอย่างอื่น ผลจากการฟ้องคดีสร้างความเดือดร้อนเสียหายอย่างมากให้กับผู้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ทำให้ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการต่อสู้คดี