1181 1197 1441 1219 1975 1387 1697 1947 1256 1352 1393 1604 1565 1413 1157 1769 1223 1730 1187 1951 1237 1434 1340 1935 1086 1203 1699 1316 1608 1839 1579 1104 1573 1468 1784 1923 1756 1957 1737 1693 1177 1303 1704 1141 1349 1077 1586 1732 1017 1921 1618 1823 1200 1470 1670 1761 1059 1724 1684 1075 1845 1962 1335 1591 1893 1153 1354 1885 1756 1491 1517 1273 1315 1340 1863 1031 1569 1138 1686 1257 1239 1089 1386 1148 1328 1568 1891 1422 1840 1205 1179 1410 1230 1653 1276 1495 1320 1109 1559 แค่กดไลค์ "ไม่ใช่อาชญากรรม" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

แค่กดไลค์ "ไม่ใช่อาชญากรรม"

 
 
395
 
 
 
ไอลอว์ชวนคุยปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการกดไลค์กดแชร์บนเฟซบุ๊ก ที่ช่วงนี้กำลังเป็นคำถามยอดฮิตในสื่อออนไลน์
 
การกดแชร์ผิดกฎหมายหรือไม่
หากการเผยแพร่เนื้อหาต้นฉบับนั้นผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหมิ่นประมาท ภาพลามกอนาจาร ความผิดต่อความมั่นคง หรือความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ การกดแชร์นั้นผู้กดแชร์ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าหมายถึงการส่งต่อเนื้อหานั้นๆ ไปยังเพื่อนในเฟซบุ๊กของตัวเอง เท่ากับเป็นเจตนาเผยแพร่เนื้อหานั้นๆ ย่อมเป็นความผิดด้วย แม้จะไม่ใช่ผู้ผลิตเนื้อหาเองก็ตาม
 
การกดไลค์ผิดกฎหมายหรือไม่
แม้ว่าการเผยแพร่เนื้อหาต้นฉบับนั้นจะผิดกฎหมาย แต่การกดไลค์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำขึ้น เผยแพร่ หรือส่งต่อ และก็ไม่มีความผิดฐาน "สนับสนุน" การกระทำ เพราะความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ต้องเป็นการสนับสนุนที่เกิดขึ้น "ก่อนหรือขณะกระทำความผิด" เท่านั้น แต่การกดไลค์นั้นเกิดขึ้นหลังจากเนื้อหาถูกทำขึ้นและเผยแพร่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ใช่ความผิดฐานสนับสนุน
 
การกดไลค์ อาจทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นด้วย ผิดกฎหมายหรือไม่
การกดไลค์อาจจะทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นได้ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกครั้ง คนที่กดไลค์ไม่สามารถคาดหมายได้ว่าการกดไลค์แต่ละครั้งจะทำให้เนื้อหานั้นไปปรากฏที่หน้าเฟซบุ๊กของคนอื่นหรือไม่ และจะปรากฏบนหน้าเฟซบุ๊กของคนกี่คน
 
การกดไลค์โดยทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่า คนที่กดไลค์มีเจตนาแสดงออกว่า "ถูกใจ" เนื้อหานั้นๆ ไม่ใช่เจตนาที่จะเผยแพร่ต่อ และระบบของเฟซบุ๊กก็สามารถกดทั้ง "ไลค์" และ "แชร์" ได้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นปุ่มที่ติดตั้งไว้ข้างๆ กัน โดยธรรมชาติ หากผู้ใช้ต้องการทำคนอื่นเห็นเนื้อหาด้วยก็จะใช้วิธีแชร์ ไม่ใช่การไลค์ ดังนั้นจึงพอจะเห็นได้ว่าการกดไลค์ ไม่ใช่การกระทำที่มีเจตนาจะเผยแพร่เนื้อหาต่อ แต่เป็นเพียงการแสดงความถูกใจเท่านั้น จึงไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย
 
การคอมเมนต์ใต้ภาพหรือข้อความผิดกฎหมายหรือไม่
การคอมเมนต์อาจจะทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นได้ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกครั้ง คนที่คอมเมนต์ก็เช่นเดียวกับคนที่กดไลค์ คือ ไม่สามารถคาดหมายได้ว่าการคอมเมนต์แต่ละครั้งจะทำให้เนื้อหานั้นไปปรากฏที่หน้าเฟซบุ๊กของคนอื่นได้หรือไม่ หากมีเจตนาที่จะเผยแพร่เนื้อหาต่อก็ย่อมต้องใช้วิธีการกดแชร์แทน การคอมเมนต์ก็เกิดขึ้นหลังการผลิตและเผยแพร่เนื้อหานั้นเสร็จแล้ว ดังนั้น แม้จะคอมเมนต์ใต้ภาพหรือข้อความที่ผิดกฎหมายในลักษณะชื่นชม ก็ไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย
 
 
 
ชนิดบทความ: