1660 1946 1497 1066 1311 1728 1866 1004 1775 1912 1418 1067 1155 1520 1978 1678 1996 1741 1923 1126 1713 1680 1200 1842 1928 1316 1922 1362 1571 1454 1758 1186 1754 1245 1733 1911 1226 1024 1274 1402 1619 1547 1100 1618 1792 1219 1202 1303 1332 1633 1921 1511 1133 1573 1401 1610 1693 1560 1066 1464 1249 1408 1089 1408 1260 1486 1585 1327 1532 1126 1876 1953 1893 1360 1691 1818 1508 1391 1938 1019 1841 1379 1502 1143 1607 1969 1005 1049 1434 1857 1235 1064 1900 1341 1254 1034 1866 1520 1119 แค่กดไลค์ "ไม่ใช่อาชญากรรม" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

แค่กดไลค์ "ไม่ใช่อาชญากรรม"

 
 
395
 
 
 
ไอลอว์ชวนคุยปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการกดไลค์กดแชร์บนเฟซบุ๊ก ที่ช่วงนี้กำลังเป็นคำถามยอดฮิตในสื่อออนไลน์
 
การกดแชร์ผิดกฎหมายหรือไม่
หากการเผยแพร่เนื้อหาต้นฉบับนั้นผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหมิ่นประมาท ภาพลามกอนาจาร ความผิดต่อความมั่นคง หรือความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ การกดแชร์นั้นผู้กดแชร์ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าหมายถึงการส่งต่อเนื้อหานั้นๆ ไปยังเพื่อนในเฟซบุ๊กของตัวเอง เท่ากับเป็นเจตนาเผยแพร่เนื้อหานั้นๆ ย่อมเป็นความผิดด้วย แม้จะไม่ใช่ผู้ผลิตเนื้อหาเองก็ตาม
 
การกดไลค์ผิดกฎหมายหรือไม่
แม้ว่าการเผยแพร่เนื้อหาต้นฉบับนั้นจะผิดกฎหมาย แต่การกดไลค์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำขึ้น เผยแพร่ หรือส่งต่อ และก็ไม่มีความผิดฐาน "สนับสนุน" การกระทำ เพราะความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ต้องเป็นการสนับสนุนที่เกิดขึ้น "ก่อนหรือขณะกระทำความผิด" เท่านั้น แต่การกดไลค์นั้นเกิดขึ้นหลังจากเนื้อหาถูกทำขึ้นและเผยแพร่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ใช่ความผิดฐานสนับสนุน
 
การกดไลค์ อาจทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นด้วย ผิดกฎหมายหรือไม่
การกดไลค์อาจจะทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นได้ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกครั้ง คนที่กดไลค์ไม่สามารถคาดหมายได้ว่าการกดไลค์แต่ละครั้งจะทำให้เนื้อหานั้นไปปรากฏที่หน้าเฟซบุ๊กของคนอื่นหรือไม่ และจะปรากฏบนหน้าเฟซบุ๊กของคนกี่คน
 
การกดไลค์โดยทั่วไปสามารถเข้าใจได้ว่า คนที่กดไลค์มีเจตนาแสดงออกว่า "ถูกใจ" เนื้อหานั้นๆ ไม่ใช่เจตนาที่จะเผยแพร่ต่อ และระบบของเฟซบุ๊กก็สามารถกดทั้ง "ไลค์" และ "แชร์" ได้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นปุ่มที่ติดตั้งไว้ข้างๆ กัน โดยธรรมชาติ หากผู้ใช้ต้องการทำคนอื่นเห็นเนื้อหาด้วยก็จะใช้วิธีแชร์ ไม่ใช่การไลค์ ดังนั้นจึงพอจะเห็นได้ว่าการกดไลค์ ไม่ใช่การกระทำที่มีเจตนาจะเผยแพร่เนื้อหาต่อ แต่เป็นเพียงการแสดงความถูกใจเท่านั้น จึงไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย
 
การคอมเมนต์ใต้ภาพหรือข้อความผิดกฎหมายหรือไม่
การคอมเมนต์อาจจะทำให้เนื้อหาปรากฏบนเฟซบุ๊กของคนอื่นได้ก็จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกครั้ง คนที่คอมเมนต์ก็เช่นเดียวกับคนที่กดไลค์ คือ ไม่สามารถคาดหมายได้ว่าการคอมเมนต์แต่ละครั้งจะทำให้เนื้อหานั้นไปปรากฏที่หน้าเฟซบุ๊กของคนอื่นได้หรือไม่ หากมีเจตนาที่จะเผยแพร่เนื้อหาต่อก็ย่อมต้องใช้วิธีการกดแชร์แทน การคอมเมนต์ก็เกิดขึ้นหลังการผลิตและเผยแพร่เนื้อหานั้นเสร็จแล้ว ดังนั้น แม้จะคอมเมนต์ใต้ภาพหรือข้อความที่ผิดกฎหมายในลักษณะชื่นชม ก็ไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมาย
 
 
 
Article type: