1474 1739 1441 1378 1096 1261 1405 1168 1006 1218 1444 1124 1476 1636 1903 1467 1932 1371 1436 1225 1653 1175 1788 1994 1237 1700 1321 1951 1756 1600 1951 1034 1273 1255 1154 1242 1967 1865 1761 1547 1070 1680 1069 1189 1217 1484 1857 1050 1923 1839 1786 1885 1497 1505 1608 1256 1299 1069 1566 1194 1047 1952 1195 1032 1307 1195 1953 1846 1829 1707 1403 1114 1899 1071 1442 1248 1945 1393 1201 1258 1298 1603 1534 1700 1799 1800 1370 1905 1098 1734 1242 1030 1181 1327 1851 1891 1040 1398 1942 ทำความเข้าใจ "โทษ 7 ปี 30 เดือน" ของชญาภา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ทำความเข้าใจ "โทษ 7 ปี 30 เดือน" ของชญาภา

เปิดรายละเอียดคดีชญาภา 
"ศาลทหารพาตัวไปพิพากษาโดยไม่มีทนายความ" 
ให้ลงโทษตามมาตรา 112 จาก 2 โพสต์ ตามมาตรา 116 จาก 3 โพสต์ รวมจำคุก 19 ปี ลดเหลือ 7 ปี 30 เดือน
 
สำหรับรายละเอียดของคดีนี้ ดูได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/689
 
ในช่วงที่มีข่าวลือแพร่สะพัดว่าอาจมีรัฐประหารซ้อนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชญาภา อายุ 48 ปี อาชีพเป็นพนักงานบัญชีของบริษัทเอกชน ถูกจับกุมและจัดให้มีการแถลงข่าวการจับกุมเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2558 จากการโพสต์ข่าวลือดังกล่าวบนเฟซบุ๊ก ทั้งที่เธอไม่ได้เป็นคนแรกและคนเดียวที่พูดถึงข่าวลือนี้ การจับกุมชญาภาจึงคล้ายเป็นการส่งสัญญาณว่าข่าวลือเรื่องรัฐประหารซ้อนต้องหยุดแพร่กระจายในทุกลักษณะ
 
ชญาภาถูกจับกุมด้วยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 โดยไม่มีหมายจับ และถูกกักตัวไว้สอบสวน 7 วัน เพียงการโพสต์ข่าวลือกลับทำให้เธอถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 116 แต่หลังการสอบสวนและตรวจสอบเฟซบุ๊กอย่างละเอียด เธอถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มมาอีก ชญาภายื่นขอประกันตัวด้วยวงเงิน 400,000 บาท แต่ศาลไม่ให้ประกันตัว เธอจึงถูกคุมขังเรื่อยมาตั้งแต่ถูกจับ
 
หลังอัยการยื่นฟ้อง ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตามขอถ่ายสำเนาคำฟ้องอยู่หลายครั้ง ตอนแรกศาลทหารไม่อนุญาตให้ทนายความถ่ายสำเนา โดยอ้างว่า ส่งให้จำเลยในเรือนจำแล้ว แต่ทนายความก็ยังติดตามขอถ่ายสำเนาอยู่จนศาลทหารอนุญาตเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 หลังจากนั้นทนายความก็ได้ติดตามสอบถามวันนัดหมายการพิจารณาคดีมาโดยตลอด แต่ไม่เคยได้รับแจ้งกำหนดนัด
 
จนกระทั่งคืนวันที่ 14 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่เรือนจำบอกกับชญาภาว่าต้องไปศาลทหารในวันรุ่งขึ้น แต่เธออยู่ในเรือนจำไม่สามารถติดต่อกับใครได้ เป็นเหตุให้เช้าวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ชญาภาถูกนำตัวมาศาลเพียงลำพัง โดยไม่มีญาติและทนายความมาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังไม่ได้ปรึกษาเรื่องคดีกับทนายความว่าควรจะให้การอย่างไร จึงบอกกับศาลว่าจะรับสารภาพ และศาลมีคำพิพากษาทันที
 
(อ่านรายละเอียดการถูกพาตัวมาศาลโดยไม่มีทนายความได้ที่ https://tlhr2014.wordpress.com/2015/12/15/chayapha/)
 
ทั้งนี้ ศาลพิพากษาให้ชญาภามีความผิด 5 กรรม โดยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1), (2) และ (5) จำนวน 2 กรรม ให้ลงโทษจำคุกตามมาตรา 112 ในฐานะบทกฎหมายที่หนักที่สุด กรรมละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี ลดโทษลงครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกรรมละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 ปี 12 เดือน
 
ส่วนอีก 3 กรรมเป็นความผิดฐานยุยงปลุกปั่น เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1), (2) และ (5) ให้ลงโทษจำคุกตามมาตรา 116 ในฐานะบทกฎหมายที่หนักที่สุด กรรมละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี ลดโทษลงครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 ปี 18 เดือน
รวมแล้วให้จำคุกจำเลย 7 ปี 30 เดือน และริบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของกลาง
 
 
382