1187 1588 1607 1557 1045 1964 1112 1294 1339 1984 1076 1417 1765 1773 1060 1339 1430 1362 1331 1616 1134 1978 1658 1788 1635 1320 2000 1128 1282 1720 1596 1590 1986 1062 1872 1693 1257 1253 1943 1914 1812 1288 1970 1574 1317 1594 1352 1940 1136 1655 1681 1012 1018 1854 1306 1537 1000 1930 1241 1222 1798 1473 1000 1489 1414 1143 1492 1032 1422 1470 1654 1847 1833 1624 1279 1634 1662 1227 1519 1798 1860 1028 1097 1861 1948 1247 1339 1255 1870 1246 1725 1224 1988 1048 1167 1439 1788 1377 1528 ฟ้าให้ทีวี ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ฟ้าให้ทีวี ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์

 
 
389
 
 
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
 
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุกรรมการด้านเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
 
หลังรัฐประหาร คสช. ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง กสท. ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืน กสท. อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
 
จากการรวบรวมข้อมูลของไอลอว์ พบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กสท. แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่ง กสท. มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
 
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้ กสท. เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คน ที่เกี่ยวข้องกับสถานี ไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหาร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
 
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ "ฟ้าให้ทีวี" ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์
จากกรณีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
หลังรัฐประหาร คสช.ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยังกสท.ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืนกสท.อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
จากที่ไอลอว์รวบรวมข้อมูลพบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสท.แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่งกสท.มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่คสช.ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้กสท.เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คนที่เกี่ยวข้องกับสถานีไปแจ้งความ ที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
 
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/695
 
ดูบทความ ข้อมูล และขั้นตอนการปิดกั้นเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์ ภายใต้ยุค คสช. ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/TVContentRegulation
 
 
 
ชนิดบทความ: