1860 1416 1090 1375 1450 1486 1118 1520 1409 1315 1463 1707 1563 1909 1597 1989 1147 1069 1070 1567 1062 1885 1426 1884 1570 1168 1645 1982 1614 1280 1354 1668 1673 1740 1182 1264 1359 1426 1553 1621 1508 1155 1664 1360 1026 1488 1910 1883 1893 1325 1929 1319 1738 1073 1055 1414 1483 1715 1707 1424 1716 1114 1067 1208 1619 1034 1123 1836 1099 1152 1603 1718 1137 1232 1508 1577 1568 1850 1689 1596 1591 1856 1985 1575 1599 1239 1294 1287 1389 1275 1176 1121 1544 1380 1027 1541 1606 1332 1087 ฟ้าให้ทีวี ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ฟ้าให้ทีวี ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์

 
 
389
 
 
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
 
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุกรรมการด้านเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
 
หลังรัฐประหาร คสช. ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง กสท. ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืน กสท. อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
 
จากการรวบรวมข้อมูลของไอลอว์ พบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กสท. แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่ง กสท. มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
 
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้ กสท. เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คน ที่เกี่ยวข้องกับสถานี ไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหาร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
 
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ "ฟ้าให้ทีวี" ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์
จากกรณีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
หลังรัฐประหาร คสช.ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยังกสท.ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืนกสท.อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
จากที่ไอลอว์รวบรวมข้อมูลพบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสท.แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่งกสท.มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่คสช.ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้กสท.เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คนที่เกี่ยวข้องกับสถานีไปแจ้งความ ที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
 
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/695
 
ดูบทความ ข้อมูล และขั้นตอนการปิดกั้นเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์ ภายใต้ยุค คสช. ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/TVContentRegulation
 
 
 
Article type: