1314 1818 1270 1295 1533 1076 1861 1223 1764 1705 1633 1383 1641 1412 1241 1126 1962 1099 1422 1231 1268 1735 1242 1134 1508 1083 1518 1237 1112 1451 1086 1911 1522 1278 1405 1899 1817 1802 1591 1064 1776 1239 1615 1453 1126 1082 1482 1260 1002 1949 1047 1081 1480 1924 1821 1169 1136 1891 1887 1480 1247 1225 1554 1733 1023 1966 1528 1936 1931 1079 1847 1347 1658 1736 1581 1557 1777 1556 1267 1889 1970 1362 1901 1505 1156 1583 1834 1988 1168 1036 1939 1577 1376 1046 1422 1935 1788 1890 1595 ร่วมจับตานัดสืบพยาน คดีต้านรัฐประหาร ! | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ร่วมจับตานัดสืบพยาน คดีต้านรัฐประหาร !

 
 
คดีอภิชาต ชุมนุมต้านรัฐประหาร นัดสืบพยานที่ศาลแขวงปทุมวัน 11 และ 30 กันยายน 2558 ก่อนหน้านี้อภิชาตยืนยันพร้อมสู้คดี และยินดีรับผลการพิพากษา แต่จะไม่ยอมรับประกาศคสช. 
 
ก่อนถูกดำเนินคดี อภิชาต เป็นนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นเจ้าหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการด้านเด็กและเยาวชน วุฒิสภา และอดีตประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย อภิชาตเริ่มศึกษากฎหมายอย่างจริงจังตั้งแต่สมัยเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งการชุมนุมทางการเมืองและการเสวนาทางการเมือง
 
อภิชาตยังเป็นนักกิจกรรมที่มีบทบาทโดดเด่นในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในนามสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย นับว่ามีบทบาทสำคัญในการผลักดันร่างข้อบังคับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมถึงได้ทำหน้าที่เป็นกรรมการในการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับในเวลาต่อมา ปี 2556 อภิชาต จัดตั้งสถาบันยุวชนสยาม โดยมี เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล เป็นรองประธานสถาบันฯ และมี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นประธานที่ปรึกษา 
 
อภิชาต ถูกจับกุมตัวระหว่างการชุมนุมต่อต้านการหลังรัฐประหาร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯสี่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 เขาเป็นคนแรกที่ถูกจับจากการแสดงออกในที่สาธารณะหลังกการรัฐประหาร ขณะถูกทหารคุมตัวไปที่รถอภิชาตถือป้ายที่เขียนข้อความต้านรัฐประหารพร้อมตะโกนว่า "ไม่ยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร" เขาถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง
 
318 Apichart
 
ก่อนนัดสืบพยานวันศุกร์นี้ ไอลอว์มีโอกาสสัมภาษณ์อภิชาตสั้นๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศและร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้นใหม่ในขณะนี้ 
 
iLaw: รู้สึกอย่างไรต่อกระแสที่นักกิจกรรม หรือคนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตามไปถึงบ้าน?
 
อภิชาต: รู้สึกแย่มาก  เพราะการแสดงความคิดเห็นที่สันติวิธีของนักกิจกรรมล้วนตั้งอยู่บนเจตนาดีที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ แต่การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลัง ในลักษณะมา ข่มขู่ คุกคามตนเอง และครอบครัว เป็นอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับชีวิต ทรัพย์สินและเสรีภาพ และไม่สร้างบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ผมเองก็เคยโดนเจ้าหน้าที่ ที่ไม่รู้ว่าเป็นทหารหรือตำรวจติดตาม แต่ผมไม่มีอะไร การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมาทำด้วยความสันติและไม่มีประโยชน์แอบแฝง มาจากความคิดและข้อเสนอที่อยากให้สังคมเราเป็นเท่านั้นเอง แต่มันเสียความรู้สึกในฐานะที่เราเป็นประชาชนถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาลก็เพิกเฉยต่อการกระทำนั้น 
 
iLaw: คดีของอภิชาตเป็นหนึ่งในไม่กี่คดีที่ข้อหาฝ่าฝืนฯ ได้ขึ้นศาลพลเรือน คิดว่า ข้อแตกต่างจริงๆของศาลพลเรือน และ ศาลทหารเป็นอย่างไรบ้าง ?
 
อภิชาต: คดีนี้เป็นเรื่องที่พลเมืองลุกขึ้นมาปกป้องรัฐธรรมนูญและต่อต้านการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่ชอบตามหลักประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิหน้าที่ที่พลเมืองต้องทำ  หากเห็นว่าพลเมืองทำหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยคำสั่ง การพิจารณาคดีก็ต้องทำโดยศาล และศาลในที่นี้ก็ไม่ควรเป็นศาลทหาร เพราะศาลต้องดำรงไว้ด้วยความเป็นกลาง ศาลทหารมีตุลาการเป็นทหารและมีส่วนได้เสียกับการรัฐประหารด้วย ความชอบธรรมของศาลทหารในการพิจารณาคดีพลเรือนที่ต่อต้านรัฐประหารจึงไม่มี 
 
สำหรับศาลพลเรือนจริงๆก็พอคาดเดาได้ว่าศาลจะพิพากษาคดีนี้มาในแนวทางไหน แต่ตัวผมเองเลือกที่จะสู้คดีถึงที่สุด ในวันที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารก็เลือกที่จะไม่ยอมให้ใครมาแย่งอำนาจอธิปไตยจากเราและปกครองโดยมิชอบ วันนั้นแม้จะสู้อำนาจปลายกระบอกปืนไม่ได้ แต่วันนี้ก็เลือกที่จะต่อสู้ในทางศาลต่อไป อย่างน้อยเป็นการยืนยันอำนาจอธิปไตยและสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้คนในกระบวนการยุติธรรมได้ละอายใจบ้าง หากยังมีใจให้ประชาชนอยู่บ้าง
 
iLaw: ในฐานะคนที่ทำงานด้านปฏิรูปกฎหมาย หวังอะไรบ้างต่อ ร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นใหม่ ในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง?
 
อภิชาต: โดยส่วนตัวไม่คาดหวังว่ารัฐธรรมนูญภายใต้สถานการณ์แบบนี้ จะใส่ใจความสันติสุขของประชาชน เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญขาดแนวคิดในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน บางคนดูถูกประชาชนด้วยซ้ำไป บางคนก็เห็นดีเห็นงามกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการรัฐประหารครั้งนี้ จึงไม่คาดหวังอะไรกับคนพวกนี้ได้ 
 
การให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญและไม่ใช่เฉพาะชนชาวไทย แต่จะต้องคุ้มครองทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทยโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เชื้อชาติ ภาษา  ฐานะทางสังคม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ในรัฐธรรมนูญก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญและเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ถ้ามีการจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างที่ทำกันอยู่ สังคมนี้อาจมีรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีทางสันติสุขได้ 
 
 
*คดีของอภิชาต เกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ก่อนการออกประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพลเรือนในข้อหาความผิดต่อความมั่นคง (เช่น ม.112 ม.116) และความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งของคสช.
 
*นอกจากอภิชาต แล้วหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ยังมีผู้ถูกดำเนินคดี ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ฝ่าฝืนประกาศคสช. ฉบับที่ 7/3557 หรือ ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/3558 ข้อ 12 อีกอย่างน้อย 69 คน