1244 1346 1873 1447 1809 1175 1683 1601 1581 1535 1401 1203 1366 1276 1310 1546 1853 1847 1941 1522 1437 1955 1025 1625 1361 1640 1841 1979 1817 1632 1230 1681 1069 1809 1821 1760 1026 1379 1269 1658 1163 1392 1140 1210 1625 1083 1020 1939 1292 1100 1077 1372 1574 1155 1755 1473 1110 1921 1236 1207 1975 1717 1055 1085 1402 1461 1046 1583 1585 1464 1552 1256 1804 1913 1309 1901 1411 1278 1272 1814 1550 1153 1109 1217 1474 1032 1619 1688 1465 1462 1721 1057 1981 1597 1699 1927 1687 1844 1816 'ชาวบ้านดอยเทวดา' จากปัญหาปากท้องสู่ข้อหาทางการเมือง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

'ชาวบ้านดอยเทวดา' จากปัญหาปากท้องสู่ข้อหาทางการเมือง

หมู่บ้านดอยเทวดา เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา หมู่บ้านแห่งนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในทางสาธารณะเมื่อชาวบ้านในพื้นที่ต้องเข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดีที่ยืดเยื้อยาวนานเพราะถูกบริษัทเอกชนฟ้องในข้อหาบุกรุก ทั้งๆที่ที่ดินซึ่งเป็นต้นเหตุของข้อพิพาทเป็นที่ดินที่ชาวบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินมาโดยตลอด
 
ช่วงต้นปี 2561 ชาวบ้านดอยเทวดากลับมาอยู่ในพื้นที่ข่าวอีกครั้ง หลังพวกเขาถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 จากกรณีจัดกิจกรรมเดินเท้าภายในหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนกลุ่มประชาชนที่ทำกิจกรรม 'We Walk เดินมิตรภาพ' เดินเท้าจากกรุงเทพไปขอนแก่น โดยเหตุที่ชาวบ้านดอยเทวดาสนับสนุนกิจกรรม We Walk เป็นเพราะประเด็นรัฐสวัสดิการ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการป้องกันการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชโดยนายทุน ซึ่งเป็นสองในสี่ประเด็นที่กิจกรรม We Walk ต้องการสื่อสาร เป็นปัญหาใหญ่ของคนจนและเป็นปัญหาร่วมที่ชาวบ้านดอยเทวดากำลังเผชิญอยู่
 
ภายหลังถูกตั้งข้อกล่าวหา ชาวบ้านต้องแบกภาระต้นทุนชีวิตที่สูงขึ้น พร้อมกับคำถามที่เกิดขึ้นภายในใจว่า เพราะอะไรคนที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เพื่อปากท้อง ถึงต้องมาถูกดำเนินคดี
 
802
 
'บ้านดอยเทวดา' บ้านของคนที่เคยถูกแย่งยึดที่ดิน
 
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2460 ผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองในพื้นที่ตำบลสบบง ลงความเห็นกันว่า จะจัดสรรที่ดินกว่า 300 ไร่ มาใช้เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้อยู่อาศัยและทำมาหากิน 
 
หลังจากนั้นชาวบ้านได้ใช้ที่ดินดังกล่าวเลี้ยงชีพและอยู่อาศัยเรื่อยมาพร้อมทั้งเสียภาษีดอกหญ้าและมีใบภบท. 6 (ทะเบียนที่ดินเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และใบเสร็จรับเงินบำรุงท้องที่ที่ได้ข้อมูลมาจากการคัดลอกรายละเอียดจากแบบสำรวจ ภบท.5 นำมาลงไว้ในทะเบียน) เป็นเครื่องยืนยันที่มาที่ไประหว่างชุมชนกับที่ดิน
 
ในปี พ.ศ.2532-2536 มีตัวแทนบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเข้ามากว้านซื้อที่ดินจำนวนมาก แต่เป็นการซื้อขายที่ดินแบบมือเปล่าไม่มีเอกสารหลักฐานการซื้อขาย มีเพียงบางส่วนที่บันทึกในกระดาษเท่านั้นว่าของใคร ราคาขายเท่าไหร่ จำนวนกี่ไร่ และไม่มีการระบุตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่มีการซื้อขาย
 
ชาวบ้านและนายทุนเริ่มมีข้อพิพาทกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 และมีชาวบ้านถูกบริษัทเอกชนฟ้องร้องในข้อหาบุกรุกที่ดินทั้งๆที่ที่ดินที่เป็นเหตุแห่งข้อพิพาทเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัยของชาวบ้านมาช้านาน หลังมีข้อพิพาทกับบริษัทและชาวบ้านบางส่วนถูกดำเนินคดี ชาวบ้านดอยเทวดาตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.) และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา
 
ปัญหา 'ปากท้อง' คือแรงจูงใจให้ออกมาเคลื่อนไหว
 
การเข้ามาเป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.) และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ทำให้ชาวบ้านดอยเทวดามีส่วนร่วมในการรณรงค์แก้ปัญหาของคนจนเรื่อยมา และเมื่อทราบว่าจะมีการจัดกิจกรรม 'We Walk เดินมิตรภาพ' โดยมีเครือข่าย สกน. เข้าร่วม กลุ่มชาวบ้านบ้านดอยเทวดาจึงตัดสินใจจัดกิจกรรมในพื้นที่ของตนเองเพื่อเป็นกำลังใจและการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว
 
"เรามีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เราจึงมาร่วม คือมันเป็นประโยชน์กับเรา เราถึงมาเดินสนับสนุน อย่างเรื่องบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค ทุกอย่างมันเป็นผลดีกับคนจนคนรากหญ้า" อรอุมา หนึ่งในชาวบ้านบ้านดอยเทวดากล่าว
 
ขณะที่ วัลลภ พันธุ์ดี  ชาวบ้านอีกคนหนึ่งก็ระบุว่า "อย่างเรื่องพันธุกรรมเมล็ดพันธุ์พืช ตรงนี้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ถ้ามีกฎหมายแบบนี้ เราต้องได้รับผลกระทบแน่ ถ้าไม่มีสิทธิในเมล็ดพันธุ์ของตัวเอง ต้องซื้อเขาตลอดเวลา ต้นทุนมันก็เพิ่มขึ้น"  
 
วัลลภยังระบุด้วยว่า "ผมเองก็มาคิดว่าจะทำยังไงให้หมู่บ้านของเรามันดีขึ้น ให้มันได้รับการพัฒนา ก็มาปรึกษาน้องๆ นักศึกษา สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่าจะผลักดันเรื่องกฎหมาย 4 ฉบับ (พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน,กองทุนยุติธรรม,สิทธิชุมชน,ภาษีอัตราก้าวหน้า) เพราะมันเพียงพอจะแก้ปัญหาให้เราได้ และสนับสนุนการเดินมิตรภาพที่จุดประเด็นให้คนเห็นปัญหาได้จริง" 
 
เมื่อการเรียกมาทำความเข้าใจกลับกลายเป็นการตั้งข้อหา
 
วัลลภ พันธุ์ดี หนึ่งในชาวบ้านบ้านดอยเทวดาที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เล่าว่า ก่อนจะจัดกิจกรรม เขาได้ปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พร้อมทั้งอธิบายให้ฝ่ายปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการแสดงออกว่า ต้องการเรียกร้องให้เกิดการแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ตอนแรกเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ห้ามปรามและชาวบ้านก็ได้พูดคุยกับทั้งตำรวจและทหารเพื่อทำความเข้าใจ
 
"เราเดินไม่ถึง 500 เมตรด้วยซ้ำ พอเดินเสร็จเราก็มานั่งพักที่ศาลา ผู้ใหญ่บ้านก็มาถ่ายรูป ถ่ายโปสเตอร์ที่เราเขียน ว่า สนับสนุนกฎหมาย 4 ฉบับ และสนับสนุนการเดินของ We Walk จากนั้นพวกเราก็แยกย้ายกันกลับบ้าน" วัลลภ เล่าถึงการจัดกิจกรรมของชาวบ้าน
 
"พอ 4 โมงเย็น ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาถามว่าเดินขบวนหรอ เดินอะไร เดินทำไม เราก็อธิบายว่า เราอยากได้น้ำ ได้ไฟ ได้ถนน เรื่องที่ดินที่ทำกิน เราอยากให้รัฐเข้ามาช่วยเรา ตอนนั้น ตำรวจแจ้งว่า คงเป็นความเข้าใจผิดกัน จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ทหารมาอีก เราก็คุยประเด็นเดิมว่า เราไม่ได้เดินเป็นกิโลๆ เรามาเดินเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคเฉยๆ พอคุยกันแบบนั้น เขาก็เข้าใจ ก็กลับไป"
 
"แต่พอ 6 โมงเย็น ผู้ใหญ่บ้านก็โทรมาอีก ว่าให้ไปหาหน่อย มาคุยกันที่โรงพัก ตอนนั้นก็เริ่มจะมืดแล้ว ชาวบ้านบางส่วนก็ยืนยันว่าไม่ไป แต่ผู้ใหญ่บ้านก็บอกต้องไปไม่งั้นจะถือว่าขัดคำสั่ง ด้วยความบริสุทธ์ใจของชาวบ้าน เราก็เลยตัดสินใจไปที่ สภ.อ.ภูซาง ก็เห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจรอต้อนรับเต็มไปหมด"
 
"ไปถึงก็มีน้องๆ นักศึกษาอยู่ ตำรวจก็แยกห้องสอบสวน จากตอนแรกบอกเราว่าจะเรียกไปสอบถามข้อมูล แต่พอสอบถามเสร็จก็ให้เราเซ็นรับทราบข้อกล่าวหาขึ้นมาทันที อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นผู้ต้องหาโดยไม่รู้ตัว" อรอุมา หนึ่งในชาวบ้านดอยเทวดากล่าวเสริม
 
803
 
ชีวิตหลังเป็นผู้ต้องหา ชีวิตที่ต้องเผชิญหน้าความไม่เป็นธรรม
 
เมื่อชาวบ้านรวม 14 คนต้องตกอยู่ในสถานะผู้ต้องหา พวกเขาก็ต้องแบกภาระในการต่อสู้คดีที่เกิดขึ้นเพียงเพราะการแสดงออกโดยสันติทั้งทรัพย์สินและเวลา นอกจากนี้ผู้ต้องหาหลายคนที่เป็นผู้สูงอายุและคนป่วยก็ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ต้องเดินทางมาสถานีตำรวจหรือศาล
 
"ถ้าถามว่ากังวลมั้ย ก็ค่อนข้างกังวลมากเพราะโดนคดีทั้งครอบครัว ทั้งพ่อและน้องชายที่ป่วยพิการทางสมองมาตั้งแต่เด็ก คือน้องเขาจะติดพ่อ เวลาพอไปไหนเขาก็เดินไปด้วย เขาไม่รู้อะไรหรอก เห็นผู้ใหญ่ถือป้ายก็ถือกับเขาด้วย แต่นี่เขาก็มาถูกตั้งข้อหาไปด้วยในชาวบ้าน 14 คน" อรุอุมาสะท้อนความในใจของเธอขณะที่วัลลภก็ระบุว่า 
 
"คือเรากังวลหลายเรื่อง อย่างเรื่องพีี่น้องค่อนข้างลำบากเป็นคนเฒ่าคนแก่ อายุก็เยอะ จะไปศาลที่ก็ลำบาก ให้เที่ยวเข้าเที่ยวออกในพื้นที่ บางคนรายได้ก็ไม่มี" 
 
ทั้งวัลลภและอรอุมาต่างเห็นตรงกันว่า การดำเนินคดีในครั้งนี้ ไม่เป็นธรรมสำหรับพวกเขาอย่างมาก และมันยิ่งทำให้พวกเขาสับสนว่า ทำไมคนธรรมดาที่ต่อสู้เพื่อความไม่เป็นธรรม คนที่ต่อสู้เพื่อปากท้อง ต้องมาถูกตั้งข้อหาชุมนุมมั่วสุมทางการเมือง
 
"ความจริงเราก็แค่ออกมาเรียกร้องสิทธิที่คนไทยควรจะได้รับ เราอยากให้รัฐบาลเล็งเห็นในปัญหาจุดนี้ว่าเราเดือดร้อนจริงๆ คือปกติคนที่เขาเพียบพร้อมก็คงไม่ออกมาหรอก แต่เราออกมาเพราะเราเดือดร้อน" อรุอุมากล่าวเพื่อระบายความรู้สึกภายในใจ
 

Fact Box:
 
6 กุมภาพันธ์ 2561 ชาวบ้านดอยเทวดาเดินทางมาสถานีตำรวจภูธรภูซางหลังได้รับการติดต่อจากผู้ใหญ่บ้านเพื่อมาเซ็นเอกสารรับทราบว่าการจัดกิจกรรมเดิน We Walk เดินมิตรภาพ 
 
แต่ทว่า ในวันดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปกลับชาวบ้าน หลังมีเจ้าหน้าที่ทหารมาแจ้งความดำเนินคดี
 
ก่อนจะนำตัวไปที่ศาลจังหวัดเชียงคำ เพื่อขออำนาจศาลฝากขัง แต่ศาลให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์รายละ 5 พันบาท
 
27 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มชาวบ้านพยายามเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้ยุติการแจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดา ที่ศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกลับเข้ามาเจรจาต่อรองไม่ให้ยื่นหนังสือ รวมถึงเชิญให้กลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดาและนักศึกษาไปพูดคุยที่มณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
 
6 มีนาคม 2561 ชาวบ้านดอยเทวดาได้มายื่นหนังสือร้องยุติคดีอีกครั้ง หลังครั้งแรกไม่สามารถยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ แต่ครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพูดคุยพร้อมทั้งต่อว่าด่าทอว่า กลุ่มชาวบ้านเป็นพวกบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งข้อหาเรื่องห้ามชุมนุม แต่เมื่อชาวบ้านถามถึงขั้นตอนตามกฎหมาย ประชาชนยังไม่ทราบรายละเอียดเลยว่าจะดำเนินคดีอะไร อย่างไร เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ก็ได้ชูนิ้วกลางให้กับชาวบ้านแทน
 
ในวันเดียวกัน ชาวบ้านได้เดินทางไปยังศาลจังหวัดเชียงคำ เพื่อสอบถามความคืบหน้าคดี เจ้าหน้าที่ศาลได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า พนักงานสอบสวนในคดีได้เข้ายื่นคำร้องขอถอนการฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 10 รายต่อศาลแล้ว โดยพนักงานสอบสวนระบุว่ามีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดี จึงไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 10 รายไว้ แต่ยังต้องรอความเห็นพนักงานอัยการต่อไป

 

ชนิดบทความ: