1811 1758 1969 1575 1730 2000 1063 1050 1057 1868 1685 1219 1924 1430 1730 1335 1949 1665 1433 1613 1823 1218 1737 1326 1222 1388 1442 1661 1330 1786 1241 1600 1214 1107 1506 1811 1332 1215 1297 1863 1734 1426 1860 1542 1177 1248 1449 1610 1114 1311 1438 1950 1149 1839 1705 1967 1953 1615 1478 1001 1485 1074 1099 1597 1402 1835 1029 1609 1949 1626 1149 1092 1984 1915 1866 1117 1165 1284 1877 1478 1790 1118 1096 1998 1175 1698 1215 1426 1499 1661 1256 1714 1971 1687 1880 1125 1477 1488 1972 24 เดือน คสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

24 เดือน คสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม

 
ตลอดสองปีที่คสช. อยู่ในอำนาจ รัฐเลือกที่จะปราบปรามคนที่แสดงออกในทางไม่เห็นด้วยกับการบริหารประเทศของคสช. อย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะปราบปรามด้วยกระบวนการกฎหมายปกติ หรือกฎหมายพิเศษก็ตาม 
 
กฎหมายที่ถูกนำมาใช้กว้างขว้างมากขึ้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, มาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีการบังคับใช้กฎหมายที่มากเกินกว่าตัวบทหลายกรณี เช่น การกดถูกใจในเฟซบุ๊ก การโต้ตอบกับบุคคลอีกฝ่ายโดยไม่ติเตียน แม้แต่การโพสต์เฟซบุ๊กเพื่อล้อเลียนผู้บริหารประเทศ ก็ล้วนถูกตั้งข้อหาว่าเป็น "ภัยความมั่นคง" ทั้งสิ้น ยังมีกฎหมายพิเศษอีกหลายฉบับที่ออกโดยคณะรัฐประหาร เช่น การประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมือง การประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีผู้ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 อย่างน้อย 67 คน มีผู้ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมือง อย่างน้อย 85 คน
 
ภายหลังการยกเลิกกฎอัยการศึก "คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558" ที่อาศัยอำนาจมาตรา 44 ก็เข้าแทนที่ ผลในทางปฏิบัติ คือ การใช้อำนาจปราบปรามอย่างไรขอบเขตยังมีอยู่ต่อเนื่องไม่ต่างกัน 
 
คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/255 ยังสถาปนาเจ้าหน้าที่ทหารให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม โดยมีอำนาจสอบสวนร่วมกับตำรวจ ให้อำนาจทหารควบคุมตัวบุคคลได้สูงสุด 7 วัน ในช่วงระยะ 7 วัน บางคนอาจถูกเรียกไปพูดคุยสั้นๆ และปล่อยตัวในวันเดียวกัน และบางคนอาจต้องค้างคืนในค่ายทหารหลายวัน บางคนอาจถูกสอบสวนและทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน บางคนต้องเซ็นข้อตกลงว่าจะไม่เคลื่อนไหวทางการเมือง หลายกรณีคนที่ถูกควบคุมตัวอ้างว่าถูกซ้อมหรือข่มขู่ให้รับสารภาพ โดยในระหว่างการควบคุมตัวของทหารทุกคนจะไม่มีสิทธิพบทนายความ หรือติดต่อญาติ และทหารจะไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว กระบวนการนี้ทำให้ทหารกลายเป็นด่านแรกที่คัดกรองการตั้งข้อหา 
 
เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารส่งไม้ต่อให้ตำรวจส่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ทหารก็ยังสามารถเข้าร่วมเป็นพนักงานสอบสวนกับตำรวจได้ คดีส่วนใหญ่ที่ทหารเกี่ยวข้องในกับจับกุมและสอบสวน จะอยู่ใต้ประกาศคสช. ฉบับที่ 37/2557 ที่ให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร เมื่อขึ้นศาลทหารจะพบกับอัยการที่เป็นทหาร และผู้พิพากษาที่เป็นทหาร คดีที่จำเลยปฏิเสธจะสืบพยานอย่างล่าช้า และมีหลายคดีที่ศาลทหารกำหนดโทษหนัก โดยเฉพาะคดีมาตรา 112  นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างน้อย 167 คน
 
สุดท้ายเมื่อจำเลยถูกศาลสั่งให้ต้องอยู่ในเรือนจำ ในยุคคสช. ยังมีการจัดตั้งเรือนจำพิเศษขึ้นภายในค่ายทหาร ทำให้ทหารเข้ามาอยู่เหนือระบบยุติธรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่เป็นการออกกฎหมาย การจับกุม การตั้งข้อกล่าวหา การสอบสวน การดำเนินคดี การตัดสินคดี และการรับโทษ
 
เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม คนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของทหารย่อมได้รับผลกระทบ นับถึงวันครบสองปีของการรัฐประหาร มีคนอยู่ในเรือนจำเพราะการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 44 คน และมีคนต้องลาจากแผ่นดินที่เป็นบ้านเกิดอย่างน้อย 200 คน
 
ดูรายละเอียดของรายงาน 24 เดือนคสช. แต่ละส่วนได้ที่
 

 

 

ไฟล์แนบ: 
ประเภทรายงาน: