1618 1204 1968 1701 1332 1846 1711 1049 1824 1630 1214 1177 1025 1091 1429 1373 1609 1866 1747 1090 1643 1765 1474 1701 1712 1005 1377 1834 1569 1551 1434 1045 1502 1619 1478 1326 1645 1474 1906 1416 1504 1544 1606 1283 1303 1173 1759 1779 1131 1509 1106 1731 1927 1871 1378 1449 1710 1763 1371 1491 1880 1411 1885 1899 1588 1625 1242 1447 1559 2000 1604 1819 1442 1630 1627 1488 1785 1144 1089 1685 1449 1372 1666 1860 1136 1162 1308 1054 1563 1563 1805 1696 1950 1259 1883 1717 1254 1023 1908 สิงหาคม 2558: ทุบสถิติจำคุกคดี 112 รวบมือโพสต์ทำนายเหตุระเบิดฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สิงหาคม 2558: ทุบสถิติจำคุกคดี 112 รวบมือโพสต์ทำนายเหตุระเบิดฯ

ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร - 30 สิงหาคม 2558 ยอดรวมเฉพาะเดือนสิงหาคม 2558

คนถูกเรียกรายงานตัว

782 5
คนถูกจับกุมคุมขัง 479 4
คนถูกจับกุมคุมขังจากการชุมนุมโดยสงบ 209 -
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 144 -
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 47 1
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (ม.112) 53 -
 
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วและที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี ในเดือนสิงหาคม 2558 46

คดี 112: ศาลทหารสั่งจำคุก คดี 112 2 คน รวม 116 ปี ในวันเดียว ก่อนลดโทษเพราะจำเลยรับสารภาพ  

เดือนสิงหาคม น่าจะเป็นเดือนที่ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดี 112 มีความร้อนแรงมากที่สุดในรอบหลายเดือน เพราะศาลทหารมีคำพิพากษาคดี 112 ออกมาในสัปดาห์เดียวกันถึง 3 คดี โดยมี 2 คดี ที่กลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก เพราะศาลทหารพิพากษาจำคุกจำเลยถึง 60 ปี และ 56 ปี ก่อนลดโทษให้คนละครึ่งเพราะจำเลยรับสารภาพ 
 

311


6 สิงหาคม 2558 ศาลทหารเชียงรายพิพากษาจำคุก สมัคร ชายชาวจังหวัดเชียงราย ที่มีประวัติเคยเข้ารับการรักษาอาการทางจิต  ในความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เป็นเวลา 10 ปี หลังรับสารภาพว่าตนเองใช้มีดกรีดทำลายภาพพระบรมฉายาลักษณ์จริงตามที่โจทก์ฟ้อง  ศาลจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 5 ปี 
 
ทั้งนี้ สมัครถูกคุมขังโดยไม่เคยขอประกันตัว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เพราะไม่มีหลักทรัพย์ เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ศาลนัดสอบคำให้การ ทนายจำเลยแถลงว่า สมัครยอมรับว่าทำผิดจริง แต่ทำไปเพราะควบคุมตัวเองไม่ได้ และเขามีประวัติเข้ารับการรักษาอาการทางจิตมาก่อน จึงขอให้ศาลรอลงอาญา อัยการทหารแถลงคัดค้านคำขอของทนายและขอสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีสติขณะทำความผิด การสืบพยานในคดีนี้ใช้เวลานานเพราะศาลนัดสืบพยานเดือนละครั้งเท่านั้น และพยานโจทก์ไม่มาศาล ทำให้ต้่องเลื่อนการสืบพยานถึง 3 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม 2558 สมัครตัดสินใจกลับคำให้การ จากที่เคยให้การภาคเสธว่าทำความผิดจริงแต่ทำเพราะควบคุมตนเองไม่ได้เพราะมีอาการป่วยทางจิต เป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา เพราะต้องการให้คดีจบโดยเร็ว คดีของสมัครเกิดระหว่างที่มีการประกาศกฎอัยการศึก คำพิพากษาของศาลทหารจึงเป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้  
 
7 สิงหาคม 2558 ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การ คดี พงษ์ศักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯรวม 6 ข้อความ เนื่องจากเห็นว่าข้อความในคดีนี้มีความอ่อนไหวและอาจกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลจึงสั่งให้พิจารณาคดีลับ พงษ์ศักดิ์รับสารภาพว่าโพสต์ข้อความทั้งหมด ศาลมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ให้ลงโทษจำคุกในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กรรมละ 10 ปี 6 กรรม รวม 60 ปี พงษ์ศักดิ์รับสารภาพ ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 30 ปี 
   
โดยพงษ์ศักดิ์ถูกจับกุมตัวที่สถานีขนส่งจังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 หลังเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อมาพบเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่ง ซึ่งพงษ์ศักดิ์เข้าใจว่าเป็นผู้ลวงเขาไปสู่การจับกุม 
 
312
ภาพวาดศศิวิมลโอบไหล่ลูกสาวทั้งสองในศาล
 
ในวันเดียวกัน ศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่ สืบพยานโจทก์นัดแรกคดี ศศิวิมล ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯบนเฟซบุ๊กรวม 7 ข้อความ ก่อนการสืบพยาน ศศิวิมลแถลงต่อศาล ขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงอ่านคำพิพากษาทันที โดยสั่งให้จำคุกศศิวิมลในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลา 8 ปี ต่อ 1 กรรม 7 กรรม รวม 56 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 28 ปี
 
คดีของศศิวิมลเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อมีประชาชนผู้ใช้เฟซบุ๊กในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง เข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน ว่ามีการโพสต์ข้อความไม่เหมาะสมบนเฟซบุ๊กชื่อ "รุ่งนภา คำวิชัย" ในเดือนกันยายน 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำกำลังไปตรวจค้นบ้านของศศิวิมลและยึดเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งโทรศัพท์มือถือไปตรวจสอบ เธอถูกจับกุมพร้อมตั้งข้อหาในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 และถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวจนศาลทหารมีคำพิพากษา 
 
เนื่องจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ และศาลทหารเชียงใหม่ ที่ออกในวันที่ 7 สิงหาคม มีการวางอัตราโทษที่รุนแรง จึงมีการรายงานข่าวโดยสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก นอกจากนี้ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาจากรัฐบาลของประเทศตะวันตกบางส่วนด้วย เช่น รัฐบาลสหรัฐ ที่ระบุว่า สหรัฐให้ความเคารพอย่างสูงสุดต่อสถาบันฯ แต่ การลงโทษจำคุกผู้ที่แสดงความคิดเห็นอย่างสันติก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควร  หรือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำนครเจนีวา ก็แสดงกังวลต่อการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า นับแต่เหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงพฤษภาคม 2557 คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างชัดเจน จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลไทยบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 
 
13 สิงหาคม 2558 ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้อง คดีที่ สุรภักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รวม 2 ข้อความ ในวันนัด ศาลแจ้งกับผู้สื่อข่าวที่มารอฟังคำพิพากษาว่า ศาลอ่านรายละเอียดคำพิพากษาให้ฟังไม่ได้ เพราะอาจเป็นการทำผิดซ้ำ หลังจากนั้นศาลก็อ่านผลคำพิพากษา โดยกระบวนการทั้งหมดกินเวลาเพียง 1-2 นาที เท่านั้น
 
313
 
สุรภักดิ์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่หน้าศาลอาญา หลังศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
 
สุรภักดิ์ถูกจับกุมช่วงต้นเดือนกันยายน 2554 และถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างสู้คดีโดยไม่ได้รับการประกันตัว จนกระทั่งศาลอาญาพิพากศายกฟ้องในเดือนตุลาคม 2555 เนื่องจากหลักฐานโจทก์มีพิรุธว่าอาจเป็นหลักฐานเท็จ หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา อัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็มีคำพิพากษายืนให้ยกฟ้องในเดือนมีนาคม 2557 เท่าที่ไอลอว์สังเกตการณ์ คดีของสุรภักดิ์นับเป็นคดี 112 คดีแรกที่ศาลพิพากษายกฟ้องทั้ง 3 ชั้น
 
จับเพิ่ม 2 ราย ผู้ต้องหาคดีแอบอ้างสถาบันฯ
 
20 สิงหาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจแถลงข่าวการจับกุม กิตติภพ และ วิเศษ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ แอบอ้างตนเป็นราชนิกูล เข้าไปตีสนิทกับเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งพร้อมกับอ้างว่าสามารถเชิญชวนให้พระบรมวงศานุวงศ์ มาร่วมทำบุญกับที่วัด รวมทั้งอ้างตนเป็นผู้รับบริจาคเงินเพื่อสร้างพระอุโบสถ เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ 
 
ในเดือนสิงหาคม ยังไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาคดี 112 ที่เกิดจากการแสดงความคิดเห็นรายใหม่ นับจากการรัฐประหาร มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแสดงออกรวม 53 ราย และมีผู้ถูกควบคุมตัวในเรือนจำรวม 46 ราย       
 
ผบ.ตร.กำชับ ปอท. ตรวจสอบการโพสต์ข้อความเชิงลบถึง Bike for Mom
 
16 สิงหาคม 2558 มีกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ "Bike for Mom" กิจกรรมนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งทางบวกและทางลบบนสื่อสังคมออนไลน์ วันที่ 17 สิงหาคม พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมดังกล่าวในแง่ลบ ได้มีการมอบหมายให้ กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีไปตรวจสอบว่า มีการโพสต์ข้อความเชิงลบที่เข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่ 
 

เหตุระเบิดราชแยกประสงค์ นำไปสู่การจับกุมคนโพสต์ทำนายเหตุและนักข่าวที่นำเกราะกันกระสุนขึ้นเครื่องบินขณะบินกลับฮ่องกง

 
17 สิงหาคม 2558 เวลาประมาณ 19.00 น.เกิดเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ ระเบิดถูกวางไว้บริเวณพระพรหมเอราวัณ ซึ่งเป็นจุดที่มีคนหนาแน่นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุอย่างน้อย 12 คน ก่อนที่ในวันที่ 20 สิงหาคม ยอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึง 20 คน 
 
แม้จะยังไม่มีข้อสรุปว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุวางระเบิด  แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์ จนทำให้เจ้าหน้าที่เรียกบุคคลจำนวนหนึ่งไปให้ปากคำจากการแสดงความเห็นบนอินเทอร์เน็ต ขณะที่ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. ก็ออกมาเตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในวันที่ 19 สิงหาคม ให้ระวังการโพสต์ข้อความที่เป็นเท็จและอาจสร้างความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน เพราะจะถูกดำเนินคดีด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นอกจากนี้ก็ระบุว่า อยากให้มีการดำเนินคดีสัก 5-10 คนเพื่อเป็นตัวอย่าง  
 
ในวันเดียวกันกับที่ ผบ.ตร.ให้สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจนำ วิชเวช หรือ พงศ์ภพ ชายที่ต้องสงสัยว่าโพสต์ข้อความทำนายเหตุระเบิดมาแถลงข่าว วิชเวชยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความจริงแต่ข้อความที่โพสต์ไม่ได้เขียนเอง เพียงแต่คัดลอกมาจากเพจเฟซบุ๊กแห่งหนึ่ง ที่นำมาโพสต์ไม่มีเจตนาจะสร้างความตื่นตระหนกแต่ต้องการเตือนภัยเท่านั้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ยังไม่มีการตั้งข้อหากับวิชเวช แต่จะมีการไปค้นบ้านเพื่อตรวจสอบอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นคอมพิวเตอร์ต่อไป 
 
314
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจแถลงข่าวร่วมกับวิชเวช (ชายเสื้อเทา) ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความทำนายเหตุระเบิด ที่กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี เบื้องต้นวิชเวชยังไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา
 
นอกจากวิชเวชแล้ว มีบุคคลอย่างน้อย 3 คน ที่ถูกควบคุมตัวจากการโพสต์ข้อความ มีรายงานในวันที่ 22 สิงหาคม 2558 ว่า เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว ร.ต.ท.พงษ์ศาสตร์ พนักงานสอบสวน สน.สำเหร่ ไปสอบสวนขยายผลที่ค่ายทหารแห่งหนึ่ง หลังเจ้าตัวโพสต์ข้อความในวันที่ 15 สิงหาคม ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้  ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.อยุธยา ก็ทำการสอบสวน นักศึกษาชายอายุ 17 ปี คนหนึ่ง ที่โพสต์ข้อความขู่วางระเบิด 5 จุด  ซึ่งนักศึกษาคนนี้อาจถูกดำเนินคดีฐานเล่าความเท็จให้เกิดความตื่นตระหนกและข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  
 
23 กันยายน 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 7 แถลงข่าวจับกุม ธัณธร อายุ 19 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าทำความผิดฐานบอกเล่าความเท็จ เป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตระหนก และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ  ธัณธรถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพชาวต่างชาติพร้อมระบุว่าอาจเป็นผู้ก่อความไม่สงบที่จะวางระเบิดในจังหวัดสุพรรณบุรี  วันที่ 25 สิงหาคม ธัณธรุูกนำตัวไปฝากขังผลัดแรกกับศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งศาลอนุญาตให้ฝากขังและไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะคดีมีโทษสูง เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี และพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว
 
นอกจากการดำเนินคดีกับผู้โพสต์ข้อความทำนายเหตุระเบิดแล้ว ผลพวงของเหตุการณ์อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือการจับกุม แอนโธนี ฮอกชุน ผู้สื่อข่าวชาวฮ่องกงที่พกพาเกราะกันกระสุนขึ้นเครื่องบินขณะกำลังเดินทางกลับ แอนโธนีเดินทางจากฮ่องกงเพื่อมาทำข่าวเรื่องเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์และได้นำเสื้อเกราะกันกระสุนมาเพื่อป้องกันตัวขณะลงพื้นที่ด้วย แอนโธนีถูกจับกุมขณะเดินทางกับฮ่องกงเพราะนำเสื้อเกราะกระสุนขึ้นเครื่องไปด้วย ตามกฎหมายไทย เกราะกันกระสุนถือเป็นเครื่องยุทธภัณฑ์ ซึ่งบุคคลที่ไม่ใช่ตำรวจ ทหาร หรือผู้มีใบอนุญาต จะต้องรับโทษหากมีไว้ในครอบครอง แอนโธนีถูกนำไปฝากขังกับศาลจังหวัดสมุทรปราการก่อนจะได้รับประกันตัวแต่ก็ถูกยึดพาสปอร์ต ทำให้เดินทางกลับประเทศไม่ได้
 

นักการเมืองวิจารณ์รัฐบาล"ถูกเรียก เข้าค่าย" ขณะที่นักวิชาการ-นักกิจกรรมยังคงมีทหารมาเยี่ยมบ้าน"ตามปรกติ" 

 
พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน แกนนำพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ตนถูกเชิญตัวไปที่กองทัพภาคที่ 1 และถูกสอบถามเรื่องการร่วมเสวนาในหัวข้อ "หนักหัวใคร ถ้าฉันใช้ตรรกะวิบัติ" เมื่อวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พิชัยเปิดเผยว่า การพูดคุยเป็นไปอย่างราบรื่น ขณะที่ทหารขอความร่วมมือให้หยุดวิจารณ์รัฐบาล 
 
315
 
ทหารเดินทางมาที่สำนักงานของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันในวันที่ 25 สิงหาคม 2558 แจ้งว่ามา "แนะนำตัวตามปกติ" (ภาพจากเฟซบุ๊ก
 
เฟซบุ๊กเพจของสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน โพสต์ข้อความว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 7 สิงหาคม 2558 มีทหารจาก ปตอ. พัน 5 หลักสี่ มาเลือกซื้อหนังสือที่สำนักพิมพ์ ต่อมาวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ในเวลาประมาณ 13.45 น. มีทหารจาก ปตอ. พัน 5 เกียกกาย จำนวน 5 นาย แวะมาที่ออฟฟิสฟ้าเดียวกัน โดยทหารแจ้งว่า มาแนะนำตัวปกติ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกำลังและหน้าที่ความรับผิดชอบ  
 
8 สิงหาคม 2558 สุรพศ ทวีศักดิ์ โพสต์ข้อความว่า มีทหารแวะมาเยี่ยม โดยแจ้งว่าเป็นการมาพบบุคคลตามเป้าหมายตามรอบ ไม่ได้มีประเด็นอะไรเป็นพิเศษ การมาเยี่ยมครั้งนี้ สุรพศระบุว่า เป็นการมาเยี่ยมครั้งที่ 4 แล้ว สุรพศเป็นนักวิชาการที่มักใช้เฟซบุ๊กส่วนตัว วิจารณ์สถานการณ์ทางการเมืองหรือประเด็นปัญหาทางสังคม   
 
26 สิงหาคม 2558 พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ นักกิจกรรมกลุ่ม "พลเมืองโต้กลับ" ที่ถูกดำเนินคดีจากการทำกิจกรรม เลือกตั้งที่รัก และ พลเมืองลุกเดิน โพสต์เฟซบุ้กในเวลาประมาณ 11.50 น. ว่า  "ถือว่ามาเยี่ยมเยือนตามปรกติครับ" หัวหน้าชุด 1 ใน 4 นายกล่าว คาดว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารไป"เยี่ยม"ที่บ้าน
 
นอกจากนี้ก็มีกรณีของ สุรภักดิ์ อดีตจำเลยคดี 112 ที่ถูกเคยถูกคสช.เรียกเข้ารายงานตัวด้วยคำสั่งคสช.ฉบับที่ 44 โพสต์เฟซบุ๊กในวันที่ 25 สิงหาคม ว่า ได้รับการติดต่อจากทหารในจังหวัดบึงกาฬ (ซึ่งได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือในจังหวัดอุดรธานี) ให้เดินทางไปรายงานตัว เพื่อเซ็นบันทึกข้อตกลง สุรภักดิ์ชี้แจงกับทหารในพื้นที่ไปว่า ตนเข้ารายงานตัวกับคสช.และเซ็นข้อตกลงแล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่เคยทำผิดข้อตกลง หากต้องไปรายงานตัวอีกครั้งก็ขอไปรายงานตัวกับทางส่วนกลาง เพราะตนมีภาระกิจรัดตัว ไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา ต่อมาในวันที่ 26 สิงหาคม สุรภักดิ์โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีการถูกเรียกรายงานตัวว่า หลังจากส่งหลักฐานการเข้ารายงานตัวทั้งหมดไปให้ ทหารที่จังหวัดอุดรธานีก็แจ้งมาว่า ไม่ต้องเดินทางไปรายงานตัวแล้ว 
 
ในเดือนสิงหาคม มีบุคคลถูกเรียกรายงานตัว หรือมีทหารไปเยี่ยมบ้านอย่างน้อย 5 คน และทำให้มีบุคคลอย่างน้อย 782 คน ถูกเรียกรายงานตัวหรือมีเจ้าหน้าที่มาพบที่บ้านนับตั้งแต่การรัฐประหาร 2557
 

การดำเนินคดีบุคคลด้วยข้อหาทางการเมืองอื่นๆ

นอกจากคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และการดำเนินคดีผู้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการวางระเบิดแล้ว เดือนสิงหาคมก็มีความเคลื่อนไหวคดีเสรีภาพอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น
 
เวลาประมาณ 22.00 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ สมาชิกกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ที่ถูกออกหมายจับในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ด้วยการร่วมชุมนุมที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ถูกจับตัวที่สนามบินดอนเมือง ขณะเดินทางกลับจากประเทศมาเลเซีย หลังการจับกุม ทรงธรรมถูกควบคุมตัวที่สน.ปทุมวัน 1 คืน ก่อนที่เขาจะถูกสอบปากคำในช่วงเช้าของวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งทรงธรรมให้การปฏิเสธและขอสู้คดีในชั้นศาล  ทรงธรรมได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักประกันในช่วงเที่ยง พนักงานสอบสวนนัดให้ทรงธรรมมาพบในวันที่ 16 กันยายน เพื่อส่งตัวให้อัยการ  
 
316
 
รินดา ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความกล่าวหาว่าพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โอนเงินจำนวนมาก ไปที่ประเทศสิงคโปร์ (ภาพจากเฟซบุ๊ก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)
 
26 สิงหาคม 2558 อัยการทหารมีความเห็นสั่งฟ้อง รินดา ผู้ถูกกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความ กล่าวหาว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. โอนเงินจำนวนมากไปที่ประเทศสิงคโปร์ ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 แกล้งบอกความเท็จให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 384 ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้รินดาประกันตัวระหว่างสู้คดีด้วยหลักทรัพย์เป็นเงิน 100,000 บาท  
 

การปิดกั้นการชุมนุมและการจัดกิจกรรมสาธารณะ ทหารเปรยกับผู้จัดค่ายเยาวชน หากไม่ขออนุญาตอาจโดน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ 

 
6 สิงหาคม 2558 ชาวบ้านในจังหวัดขอนแก่น ที่ไม่เห็นด้วยกับการยุบสถานีขนส่งแห่งที่ 1 รวมตัวกันคัดค้านการย้ายรถโดยสารไปจอดที่สถานีขนส่งแห่งที่ 3 ซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมือง ในที่ชุมนุม มีเจ้าหน้าที่ทหารลายสิบนายมาคอยสังเกตการณ์ นอกจากนี้ขณะที่ผู้ชุมนุมคนหนึ่งกำลังปราศรัย ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารนายหนึ่ง พูดผ่านโทรโข่งว่า หากชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับการย้ายสถานีขนส่งให้ส่งตัวแทนมาเจรจา ถ้าชุมนุมฝ่ายความมั่นคงอาจต้องใช้มาตรา 44 จัดการ 
 
7 สิงหาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบเดินทางไปสังเกตการณ์การตั้งโต๊ะรับสมัครสมาชิกใหม่ของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)ในงาน "เปิดโลกกิจกรรม" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้รับคำสั่งให้มาสังเกตการณ์และถ่ายภาพกิจกรรมของกลุ่ม ทำให้สมาชิกกลุ่มเกรงว่าการมาของเจ้าหน้าที่อาจทำให้ผู้ต้องการสมัครสมาชิกเกิดความกังวล   
 
24 สิงหาคม 2558 ประชาชนกลุ่มรักษ์สิ่งแวล้อม ต.หนองใหญ่ อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ เดินทางไปยื่นหนังสือ ณ ที่ว่าการอำเภอหนองกุงศรี เพื่อขออนุญาตฉายคลิปรายการเปิดปม ตอน เปิดแผลปิโตรเลียมอีสาน หลังจากคืนวันที่ 23 ส.ค. 2558 ระหว่างที่ กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม ต.หนองใหญ่ กำลังฉายคลิปดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้หยุดฉาย โดยอ้างว่าอาจผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ให้ขออนุญาตจากทางอำเภอก่อน
 
26 สิงหาคม 2558 เฟซบุ๊กเพจ คนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โพสต์ข้อความ แจ้งข่าวว่า ตามที่ทางโครงการกำหนดจัดค่ายเยาวชน ระหว่างวันที่ 28 - 30 ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านกำลังเผชิญปัญหาจากการทำเหมืองทองคำ ปรากฎว่ามีทหารติดต่อเข้าไปที่ชาวบ้านในพื้นที่ และ วัดที่จะใช้เป็นสถานที่จัดค่ายเพื่อสอบถามรายละเอียดของกิจกรรมและสอบถามว่ามีการขออนุญาตไว้หรือยัง พร้อมกับบอกว่า หากไม่ขออนุญาต อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ  
 

 

 

ประเภทรายงาน: