1472 1266 1841 1161 1804 1491 1803 1362 1380 1187 1331 1092 1451 1451 1150 1794 1163 1492 1594 1544 1518 1819 1422 1494 1638 1861 1905 1414 1441 1122 1764 1214 1977 1932 1359 1969 1511 1197 1969 1736 1373 1575 1549 1633 1854 1582 1672 1545 1502 1218 1953 1739 1975 1396 1628 1549 1728 1278 1111 1267 1667 1583 1646 1986 1604 1009 1391 1018 1684 1308 1546 1312 1981 1551 1501 1057 1667 1505 1768 1460 1695 1928 1217 1452 1361 1213 1619 1181 1115 1691 1550 1783 1388 1529 1778 1527 1459 1560 1400 มิถุนายน 2559: ประชามติกร่อย ไล่ปิดศูนย์ปราบโกง ขังเจ็ดนักศึกษาแจกใบปลิวรณรงค์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

มิถุนายน 2559: ประชามติกร่อย ไล่ปิดศูนย์ปราบโกง ขังเจ็ดนักศึกษาแจกใบปลิวรณรงค์

 
ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร 
30 มิถุนายน
2559
ยอดรวมเฉพาะเดือนมิถุนายน
2559
คนถูกเรียกรายงานตัว 943 18
คนถูกจับกุมคุมขัง
จากการชุมนุมโดยสงบ
245 21
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 185 20
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 49 1
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท
พระมหากษัตริย์ฯ (ม.112)
68 -
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
และที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี 
ในเดือนมิถุนายน 2559
52
 
 
นับถอยหลังสู่วันลงประชามติครั้งที่สองในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 7 สิงหาคม 2559 เพื่อออกเสียงรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางความพยายามในการรณรงค์ชวนโหวตรับ -ไม่รับ หรือไม่ไปออกเสียงของหลายฝ่าย แม้ทำได้ไม่มากนักภายใต้ข้อจำกัด ซึ่งเหลือเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนลงประชามติมีหลายเรื่องราวเกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามจากเจ้าหน้าที่รัฐใน การตีความมาตรา 61 วรรค 2 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงปะชามติ เพื่อจำกัดเสรีภาพและลงโทษผู้รณรงค์ในการออกเสียงประชามติ
 
กรณีที่เป็นที่จับตามองมากที่สุดคือการจับนักกิจกรรมที่รณรงค์โหวต 'ไม่รับ' ที่จังหวัดสมุทรปราการ และตามด้วยการจับนิสิตและนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งย่านบางเขน  อีกทั้งมาตรการหยุดยั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ปราบโกงประชามติทั่วประเทศ ยังผลให้มีผู้ถูกเรียกรายงานตัว อย่างน้อย 17 ราย ผลรวมของเหตุการณ์เหล่านี้ แม้สร้างความคับแค้นใจให้กับนักกิจกรรมบางกลุ่ม แต่ในภาพรวมของประเทศกลับเผชิญภาวะ ‘เงียบเหงา’ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่น่ากังวลก่อนการลงประชามติซึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับชะตากรรมของประเทศร่วมกัน
 

จับ 13 มือแจก 'ใบปลิว'  ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 

ช่วงวันที่ 23 และ 24 มิถุนายน 2559 มีผู้ถูกจับกุมตัวจากการทำกิจกรรมทางการเมืองถึง  20 คน  โดย13 คน ถูกจับตัวในช่วงค่ำวันที่ 23 จากการไปแจกใบปลิวรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดสมุทรปราการ ขณะที่อีก 7 คนถูกจับตัวในเช้าวันที่  24 ระหว่างทำกิจกรรมรำลึกวันอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 ด้วยการเดินเท้าจากวัดพระศรีมหาธาตุไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ วงเวียนหลักสี่  จุดร่วมของทั้ง 20 คน คือ ทุกคนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง แต่ก็มีจุดต่างคือแต่ละคนถูกตั้งข้อหาพ่วงเป็นของแถมหนักเบาแตกต่างกันไป กฎหมายที่นำมาใช้มีทั้ง พ.ร.บ.ประชามติฯ, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ, พ.ร.บ.บัตรประชาชน และประกาศ คปค. ชะตากรรมแต่ละคนก็ต่างกัน โดย 7 คนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข, 6 คนต้องวางเงินประกัน และอีก 7 คน ยังอยู่ในเรือนจำ* 
 
คืนวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นักกิจกรรมรวม 13 คนได้แก่ รังสิมันต์ โรม, กรกช, นันทพงศ์, อนันต์, ธีรยุทธ , ยุทธนา, สมสกุล, วรวุฒิ, เตือนใจ, ปีใหม่, พรรณทิพย์, รักษ์ชาติ และ กรชนก ซึ่งมีทั้งนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ และสมาชิกสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์ ถูกทหารและตำรวจจับกุมตัวหลังไปแจกเอกสารรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารชี้แจงวิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงประชามตินอกเขต ในพื้นที่ชุมชนเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  ทั้งหมดถูกนำตัวไป ส.น.บางเสาธงเพื่อสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหาหนัก 2 ข้อหาได้แก่ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต  และร่วมกันก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61 (1) วรรคสองและสาม 
 
เย็นวันถัดมา พนักงานสอบสวน สน.บางเสาธงยื่นคำร้องต่อศาลทหารขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ระบุเหตุผลว่า ต้องสอบพยานบุคคลอีกสิบปากและรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา และขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเกรงผู้ต้องหาจะกระทำผิดซ้ำอีก และจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน ศาลทหารอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ผู้ต้องหาหกคนได้แก่ วรวุฒิ, เตือนใจ, ปีใหม่, พรรณทิพย์, รักษ์ชาติ และกรชนก ยื่นขอประกันตัวซึ่งศาลตีราคาประกันคนละ 50,000 บาท ทั้ง 6 คนได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพและทัณฑสถานหญิงกลางในคืนวันเดียวกัน
 
513
 
ผู้ต้องหาอีก7 คนได้แก่ รังสิมันต์ โรม, กรกช, นันทพงศ์, อนันต์, ธีรยุทธ , ยุทธนา, สมสกุล ไม่ประสงค์จะยื่นขอประกันตัว เพราะพวกเขาเห็นว่าสิ่งที่พวกตนทำนั้นไม่ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจควบคุมตัวตั้งแต่แรก และพวกเขาไม่มีหน้าที่ต้องขอประกันตัว จึงถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพกรุงเทพตั้งแต่คืนวันที่ 24 มิถุนายน 2559
 
โดยการฝากขังผลัดแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ซึ่งทั้งเจ็ดจะถุกนำตัวไปที่ศาลทหารเพื่อฟังคำสั่งว่าศาลทหารจะให้ฝากขังต่อเป็นผลัดที่สองหรือไม่* 
 

เสรีเกษตรโดนรวบกิจกรรมทำความสะอาดอนุสาวรีย์ฯ

เช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2559  นักกิจกรรม 7 คนได้แก่ คุณภัทร,อุทัย,เกษมชาติ,กานต์,สุธิดา,อรัญญิกา และ ชนกนันท์ เดินเท้าจากวัดพระศรีมหาธาตุไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่วงเวียนหลักสี่เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เมื่อเดินไปถึงบริเวณวงเวียนหลักสี่ ทั้งเจ็ดถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวโดยรถตู้ไปที่สน.บางเขนและถูกตั้งข้อกล่าวหารวมสองข้อ ได้แก่ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่แจ้งการชุมนุมให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ หลังทำการจับกุมในช่วงเช้า พนักงานสอบสวนสน.บางเขนก็นำตัวผู้ต้องหาทั้งเจ็ดไปฝากขังกับศาลทหารกรุงเทพ
 
 
515
 
ในช่วงบ่าย ผู้ต้องหาและทนายความยื่นคำร้องและแถลงคัดค้านการฝากขัง ศาลทหารให้ยกคำร้องฝากขังนักกิจกรรมทั้งเจ็ดโดยระบุว่าผู้ต้องหายังเป็นนักศึกษาและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง นักกิจกรรมทั้งเจ็ดได้รับการปล่อยตัวจากศาลทหารในช่วงค่ำวันเดียวกัน ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุมแล้วอย่างน้อย 245 คน
 

ปราบกันไปทั่วศูนย์ปราบโกงประชามติ

เหตุจากความพยายามในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. เพื่อจับตาความโปร่งใส่ สุจริตในการลงประชามติครั้งนี้ จึงประกาศทำกิจกรรมตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติขึ้นทั่วประเทศ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้เข้าควบคุมและดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เพื่อยับยั้งการดำเนินกิจกรรมนี้ในแทบทุกภูมิภาคเช่นกัน 
 
อย่างการเข้าควบคุมพื้นที่เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่อิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559 โดยแจ้งให้งดออกอากาศ งดแถลงข่าวและมีการนำแผ่นป้าย ‘ที่นี่มิใช่ศูนย์ปราบโกงประชามติ’ มาปิดรอบห้องที่จะใช้แถลงข่าวด้วย 
 
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกรณีในต่างจังหวัดอย่างกรณีทหารจากมณฑลทหารบกที่ 34 เรียกตัวสองแกนนำเสื้อแดงในจังหวัดพะเยา ศิริวัฒน์ จุปะมัดถาและทองอุ่น มะลิทองเข้ามาพุดคุยในค่ายทหารเพื่อแจ้งว่าไม่อนุญาตให้เปิดศูนย์ปราบโกงฯ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับและสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 วันเดียวกับกรณีคล้ายกันที่ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 และเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.แม่ปิงดำเนินการกับแกนนำ นปช.เชียงใหม่ ซึ่งมีรูปแบบการสะกัดกั้นกิจกรรมของศูนย์ปราบโกงคล้ายกับในพื้นที่อื่นๆ ในภาคเหนือ เช่นในจังหวัดพะเยา  หรือในภาคอีสานอย่างที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และภาคกลางดังกรณีในจังหวัดราชบุรี ที่ชาวบ้าน 10 รายซึ่งเข้าร่วมเปิดศูนย์ฯ ถูกออกหมายเรียกฐานชุมนุมเกิน 5 คน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน และมีการออกหมายเรียกเพิ่มเติมภายหลังอีกประมาณ 15 ราย จากกรณีเดียวกันนี้
 
จากเหตุปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ  มีผู้ถูกเรียกรายงานตัวอย่างน้อย  17 คน และตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีผู้ถูกเรียกเข้ารายงานตัวอย่างน้อย 943 คน 

 

แทรกแซง/ห้ามจัดกิจกรรมอย่างน้อย 4 ครั้ง


 

'ขอความร่วมมือ' FCCT ยกเลิกงานเสวนาเรื่องพุทธไทยกับการเมือง
ว๊อยซ์ทีวี รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินีส่งหนังสือถึงสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) "ขอความร่วมมือ" ให้ยกเลิกงานเสวนาในหัวข้อ "Thai Buddhism: Seized by Politics?" (ศาสนาพุทธไทย: ถูกยึดครองโดยการเมืองหรือไม่?) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2559 โดยมีวิทยากรร่วมอภิปรายคือ สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ และวิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระด้านศาสนาพุทธ โดยข้อความส่วนหนึ่งในเอกสารระบุว่า"การจัดงานในวัน เวลาดังกล่าว อาจจะก่อให้เกิดส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจจะมีบุคคลที่ไม่หวังดี ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบัน" 
 
ทหารไล่ขบวน Walk for Rights ออกจากวัดที่จะนอนค้างคืน อ้างผิด พ.ร.บ. ชุมนุม
30 มิถุนายน 2559 เพจ New E-Saan Movement รายงานว่า ที่วัดเหล่าโดน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจราว 30 นาย เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นที่พักค้างคืนของขบวนเดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสาน ซึ่งจัดโดยขบวนการอีสานใหม่ มาสอบถามเกี่ยวกับผู้จัดทำเฟ๊ซบุ๊กเพจของกลุ่ม และขอให้ลบคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาต่อต้านอำนาจรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการแจ้งว่าการทำกิจกรรมดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ก่อนกดดันให้ออกจากพื้นที่ภายในหนึ่งชั่วโมง
 
516
 
ตร.-ทหาร เข้าเจรจา นักศึกษา ม.รามฯ ยันเดินหน้าจัดเสวนา 3 ฝ่าย 'Vote Yes - No - บอยคอต'
15 มิถุนายน 2559  นันทพงศ์ ปานมาศ นักศึกษา กลุ่มเสียงจากหนุ่มสาว มหาวิทยาลัยรามคำแหง โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าทหารขอให้เปลี่ยนสถานที่ ก่อน รอง.บกน.4 บอกกับตนว่า ‘อ่านหนังสือไม่ออกเหรอว่ามันผิดกฎหมาย คุณไม่มีสมองเหรอ มันผิดกฎหมาย มันทำไม่ได้” กระทั่งต่อมามีการย้ายไปจัดกิจกรรมที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 
 
ห้าม พลเมืองโต้กลับ เต้น 'พลเมืองตีเข่า'  
20 มิถุนายน 2559 พลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรม 'พลเมืองตีเข่า'  เต้นประกอบเพลง 'อย่างนี้ต้องตีเข่า' ที่บริเวณสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการ (แจ้งวัฒนะ) เพื่อประท้วงที่ กกต. แจ้งว่าจะแจ้งความนักแสดงในมิวสิควิดีโอเพลงที่ทางกลุ่มจัดทำขึ้นในความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา61 วรรค 2  ทั้งนี้กลุ่ม “คนไทยหัวใจเกิน 100” มารอประท้วงสิรวิชญ์  สมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และอ่านแถลงการณ์พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจ กกต. เหตุการณ์ชุลมุนกระทั่ง ตำรวจเข้าห้ามพลเมืองโต้กลับทำกิจกรรมและคุมตัวพันธุ์ศักดิ์ ไปสน.ทุ่งสองห้องให้ลงบันทึกประจำวันแต่ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ก่อนปล่อยกลับบ้าน 
 
จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์  ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีการปิดกั้นแทรกแซงกิจกรรมเเล้วอย่างน้อย..

 

ความเคลื่อนไหวคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ


 
จำคุกคดี 112  ทอม ดันดี 7 ปี 6 เดือน
1 มิถุนายน 2559 ศาลอาญามีคำพิพากษา จำคุกธานัทหรือ ทอม ดันดี 7 ปี 6 เดือน ตามมาตรา 112 จากการปราศรัย 1 ครั้งแยกความผิดเป็น 3 กรรม พร้อมย้ำให้ช่วยร้องเพลงปรองดองและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติผู้พิพากษาเจ้าของคดี อธิบายว่า คดีนี้ต้องการแบ่งความผิดออกเป็น 5 กรรม จากการกล่าวปราศรัย 1 วันตามที่ถูกฟ้อง โดยแบ่งเป็น การหมิ่นประมาทต่อพระมหากษัตริย์ 3 กรรม การหมิ่นประมาทต่อพระราชินี 1 กรรม และการโพสต์คลิปวิดีโอการปราศรัยบนยูทูปอีก 1 กรรม แต่หลังจากปรึกษากับอธิบดีและรองอธิบดีศาลอาญาแล้วอีกสองท่านเห็นว่า การกล่าวหมิ่นประมาทต่อพระมหากษัตริย์ 3 ครั้งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียว ศาลจึงให้ลงโทษธานัทว่ามีความผิด 3 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 5 ปี รวมเป็น 15 ปี และลดโทษเหลือ 7 ปี 6 เดือน เนื่องจากการรับสารภาพและเงื่อนไขที่เขาตกลงต่อศาล 
 
พ่อ-แม่ หฤษดิ์ ผู้ต้องหาคดีแปดแอดมิน  ถวายฎีกาสำนักราชเลขาธิการ ขอสิทธิ์ประกันตัว
3 มิถุนายน 2559 วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ พร้อมด้วยบิดา หฤษฏ์ มหาทน และมารดา ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ ผู้ต้องหาผิด มาตรา112 ยื่นขอถวายฎีกากับสำนักราชเลขาธิการ ให้ผู้ต้องหามีสิทธิ์ประกันตัว อย่างไรก็ตามภายหลังการยื่นถวายฎีกาได้นำสำเนายื่นต่อศาลทหารกรุงเทพ เพื่อใช้ประกอบการขอพิจารณาประกันตัว โดยจะใช้หลักทรัพย์อีกเป็นเงินสดคนละ 5 แสนบาท แต่ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวชั่วคราวแล้วผู้ต้องหาจะหลบหนี ซึ่งจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวนในชั้นนี้ จึงไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงดุลยพินิจเดิมให้ยกคำร้อง โดยขณะนั้นคดีของทั้งสองอยู่ในระหว่างฝากขังผัดที่ 4 
 
ศาลไม่ให้ประกันครั้งที่ 4 จำเลยคดีแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ
6 มิถุนายน 2559  ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดพร้อมและสอบคำให้การระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร กับอัษฎาภรณ์ และนพฤทธิ์ ข้อหาความผิดตามมาตรา 112 และร่วมกันปลอมเอกสารราชการ จากกรณีการแอบอ้างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อเรียกผลประโยชน์กับทางวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร  ทั้งคู่ยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ภายหลังสอบคำให้การ ญาติของนายนพฤทธิ์ จำเลยที่ 2  ยื่นขอปล่อยตัว ด้วยหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินราคาประเมิน 1.7 ล้านบาท แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูง และมีหลายข้อหา หากปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี โดยนับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ที่จำเลยยื่นขอประกันตัวและศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต 
 
เลื่อนสอบคำให้การ  ฐนกร คดี'เสียดสี' สุนัขทรงเลี้ยง
9 มิถุนายน 2559 ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การคดีฐนกร โพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง กดไลค์เพจ และโพสต์แผนผังทุจริตราชภักดิ์รวมทั้งหมด 3 กรรม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112, 116 และ ม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ทนายของฐนกรขอยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยเขตอำนาจศาลตามพ.ร.บ.ว่าด้วยอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล โดยจะส่งส่งความเห็นของฝ่ายพระฐนกรไปยังศาลจังหวัดสมุทรปราการภายใน 30วัน เมื่อศาลจังหวัดสมุทรปราการทำความเห็นส่งมาแล้ว ศาลจะนัดคู่ความมาฟังความเห็นหรือคำสั่งศาลต่อไป และให้ระงับการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าปัญหาเขตอำนาจศาลจะมีข้อยุติ  
 
คดีอื่นๆ 
20 มิถุนายน 2559 ศาลทหารกรุงเทพเรียกเสาร์ไปแจ้งข้อกล่าวหาและถามคำให้การหน้าบัลลังก์ หลังจากเสาร์พักรับการรักษาที่สถาบันกัลยาฯ และประกันตัวไปเมื่อช่วงเมษายน 2559 ในห้องพิจารณาคดี ศาลแจ้งข้อกล่าวหา ว่าฝ่ายโจทก์ฟัองเสาร์คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เนื้อหาด้านในอ้างถึงคำร้องของเสาร์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาแล้วศาลก็ถามเสาร์ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ เสาร์ให้การปฏิเสธ ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 19 กันยายน 2559 
 
21 มิถุนายน 2559 ศาลทหารลงโทษจำคุก 'ทวีสิน' เป็นเวลา 10 ปี แต่ลดโทษให้เหลือ 5 ปีเพราะรับสารภาพ ส่วนที่ทวีสินร้องขอศาลให้ลงโทษสถานเบา ศาลเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีที่กระทบกระเทือนจิตใจประชาชนใน จึงให้ยกคำร้อง โดยวันนี้ 'ขวัญใจ' จำเลยร่วมทวีสินถูกเบิกตัวมาที่ศาลด้วย แม้ไม่มีนัด เพราะเธอยังคงให้การปฏิเสธและจะสู้คดีต่อ และศาลสั่งจำหน่ายออกจากคดีที่ถูกฟ้องร่วมกับทวีสินแล้วและอัยการจะต้องทำสำนวนฟ้องคดีขวัญใจ ใหม่ 
 
ที่ศาลทหารวันเดียวกัน ในคดี 112 กรณีของทอม ดันดี  ศาลทหารนัดสืบพยานโจทก์แต่พยานโจทก์มาไม่ได้เพราะติดราชการ อัยการจึงจะแถลงขอให้ศาลเลื่อนสืบพยานออกไป แต่ฝ่ายจำเลยแถลงขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงให้งดสืบพยาน หลังจากนั้นอัยการก็แถลงต่อศาลขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มเติมว่า ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อจากคดีที่ศาลอาญาเพิ่งพิพากษาลงโทษทอม ดันดี เป็นเวลา 7 ปี 6 เดือน ทนายแถลงคัดค้านระบุว่าคดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลอาญาและน่าจะฟ้องรวมกัน แต่กลับแยกฟ้องเป็นสองคดีที่ศาลอาญาหนึ่งคดี ที่ศาลทหารหนึ่งคดี ทำให้จำเลยต้องประสบความยากลำบากเกินสมควร หลังทนายจำเลยคัดค้านการแก้ไขคำฟ้องให้นับโทษต่อ ศาลจึงสั่งให้ทนายทำคำร้องคัดค้านมาภายในเจ็ดวัน และนัดคู่ความฟังคำสั่งเรื่องการนับโทษในวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 
 
23 มิถุนายน 2559   อัครเดชได้รับอิสรภาพกลับมาอีกครั้ง หลังถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพอยู่ทั้งหมด 754 วัน 
 
24 มิถุนายน 2559 ศาลทหารอ่านคำฟ้องโดยสรุปว่าเมื่อ 19 ตุลาคม 2558 วิชัยนำข้อความและภาพถ่ายปลอมเฟซบุ๊กเป็นบุคคลอื่น และโพสต์วิดีโอและภาพประกอบด้วยข้อความที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ วิชัยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดี ศาลทหารจึงได้ให้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 18 ตุลาคม 2559
 

ความเคลื่อนไหวคดีเสรีภาพอื่นๆ


 
2 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำสำนวนสอบสวนคดี 'มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร' ส่งให้แก่อัยการ ซึ่งอัยการจะนัดฟังการตัดสินใจว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ที่ศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่ 
 
3 มิถุนายน 2559 ประชาไทรายงานว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย มีหนังสือลงวันที่ 2 มิถุนายน 2559 ถึง 'พลอย' เยาวชนนักข่าวพลเมือง อายุ 15 ปี หลังจากครอบครัวมีหนังสือขอทราบผลการพิจารณาที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ขออนุญาตฟ้องพลอยในข้อหาหมิ่นประมาท หรือหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา หนังสือระบุว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลยมีความเห็นไม่อนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องเยาวชนคนดังกล่าวต่อศาลเยาวชนและครอบครัว 
 
7 มิถุนายน 2559  ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การนัชชชา จำเลยที่ 2 คดีชุมนุมฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 เรื่องผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ก่อนถามคำให้การศาลทหารอ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจศาล ซึ่ง ศาลแขวงปทุมวันมีความเห็นว่า แม้คำสั่งของ คสช. ไม่ได้คำรับรองจากกษัตริย์หรือรัฐสภา แต่ก็มีศักดิ์เท่าพระราชบัญญัติ เพราะ คสช. เข้าควบคุมอำนาจประเทศได้สำเร็จเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557  จึงมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อให้ประเทศดำเนินต่อไปได้ นอกจากนั้นประกาศ คสช. ที่ 37/2557 ซึ่งกำหนดให้ความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ต่อความมั่นคง และการฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ต้องขึ้นศาลทหาร ไม่ได้ระบุสถานะของจำเลยโดยเฉพาะ ดังนั้นพลเรือนสามารถถูกพิจารณาคดีที่ศาลนี้ได้ จึงทำให้ศาลทหารมีสิทธิ์พิจารณาคดีนี้ โดยคดีนี้ของนัชชชาอยู่ระหว่างเลื่อนถามคำให้การ  
 
518
 
8 มิถุนายน2559  ศาลอาญา ศาลนัดณัฐพลหรือ เจเจ นักดนตรีพังก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทำลายทรัพย์สินสาธารณะด้วยการพ่นสีใส่ป้ายศาลอาญาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2558 ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีพฤติการณ์ทำลายทรัพย์สินให้เสื่อมค่า สมควรคงโทษจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปีไว้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เห็นสมควรให้รอการลงโทษไว้สองปี ตามคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ระบุว่า จำเลยมีภาระต้องอุปถัมภ์เลี้ยงดูบุพการี  โดยในระหว่างรอการลงโทษ ให้จำเลยรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีละสามครั้ง และประกอบกิจกรรมบริการสังคมเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเพื่อให้เกิดความหลาบจำต่อการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ปรับจำเลยเป็นเงิน 9,000 บาท จำเลยรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งปรับเป็นเงิน 4,500 บาท  
 
10 มิถุนายน 2559 ในคดีของพลเมืองโต้กลับ ศาลทหารกรุงเทพนัดฟังคำสั่งเรื่องเขตอำนาจศาล ศาลอ่านคำวินิจฉัยของศาลแขวงปทุมวันเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ แต่ไม่ได้อ่านรายละเอียดความเห็นของศาลแขวงปทุมวันให้จำเลยทั้งสี่ฟัง ระหว่างการพิจารณา  ทนายกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ยื่นคำร้องให้ศาลทหาร ส่งต่อไปยังรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประกาศ คสช.ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และกฎหมายที่บังคับกับคดีนี้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่  ด้านอัยการศาลทหารกรุงเทพแถลงต่อศาล ขอทำคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายใน 30 วัน ศาลทหารกรุงเทพจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปก่อนเพื่อวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวด้วย แล้วจะนัดคู่ความมาฟังคำสั่งต่อไป 
 
517
 
จำเลยทริปรถไฟอุทยานราชภักดิ์: แย้งคดีนี้ไม่ควรขึ้นศาลทหาร!
15 มิถุนายน 2559  ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การ 6 จำเลยคดีฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมมั่วสุมเกิน 5 คน จากจัดกิจกรรมนั่งรถไฟไปตรวจสอบทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558  ในระหว่างพิจารณาคดี จำเลยที่ 1-5(ยกเว้น วิจิตรจำเลยที่ 6) ยื่นคำร้องต่อศาลว่า อำนาจของศาลทหารกรุงเทพไม่ครอบคลุมถึงการพิจารณคดีนี้เนื่องจากจำเลยทั้ง 6 คนเป็นพลเรือนและพื้นที่เกิดเหตุคือบริเวณสถานีรถไฟธนบุรีนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลของศาลแขวงตลิ่งชัน ดังนั้นผู้มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวจึงควรเป็นศาลแขวงตลิ่งชันไม่ใช่ศาลทหารกรุงเทพฯ ด้านอัยการศาลทหารกรุงเทพไม่คัดค้านการยื่นคำร้อง แต่แจ้งต่อศาลว่าจะยื่นคำร้องแย้งเรื่องเขตอำนาจศาลภายใน 30 วัน โดยศาลมีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีไปก่อนจนกว่าศาลแขวงตลิ่งชันจะมีความเห็นในเรื่องเขตอำนาจศาล
 
พิพากษา พ.ร.บ.ชุมนุมฯ คดีแรก กรณีย้าย บขส. ขอนแก่น
20 มิถุนายน 2559 ศาลแขวงขอนแก่น อ่านคำพิพากษาคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งอัยการคดีศาลแขวงขอนแก่นเป็นโจทก์ฟ้องแกนนำคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น 7 คน ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่แจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง กีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการใช้บริการในสถานีขนส่งสาธารณะและในสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้  ก่อนศาลอ่านคำพิพากษา ภัตธนสันต์ เสงี่ยมศรี สมเดช คำสุ่ย และสวาท อุปฮาด จำเลยที่ 1, 3 และ 6 ได้แถลงต่อศาลขอถอนคำให้การรับสารภาพ และให้การใหม่ปฏิเสธ ขอสู้คดีต่อ เพื่อพิสูจน์ความจริง ศาลจึงอ่านคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 2, 4, 5 และ 7 ที่รับสารภาพ พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้ง 4 เป็นความผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรม ลงโทษจำเลยที่ 2 และ 4 ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะไม่แจ้งการชุมนุม รวม 2 กระทง ปรับกระทงละ 2,000 บาท และฐานร่วมกันชุมนุมสาธารณะกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับกระทงละ 2,000 บาท  ดูรายละเอียดคำพิพากษาที่นี่ 
 
ในวันเดียวกัน (20 มิถุนายน 2559) ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การคดีสิรวิชญ์  คดีฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยตัวตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 40/2557 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเลื่อนนัดถามคำให้การของสิรวิชญ์ เนื่องจากโจทก์แถลงคัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดี ด้วยจำเลยยังไม่ได้แต่งคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ เข้ามาเป็นทนายแก้ต่างให้กับจำเลย นางสาวคุ้มเกล้าจึงไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงในคำร้องดังกล่าว  ทั้งนี้ สิรวิชญ์  แถลงต่อศาลว่าตนยังไม่มีทนายและไม่ต้องการให้ศาลตั้งทนายให้ ตนจะแต่งทนายมาสู้คดีเอง วันนี้ยังไม่พร้อมที่จะให้การ ขอเลื่อนคดีไปนัดหน้าเพื่อปรึกษารูปคดีกับทนายก่อน ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุสมควร จึงให้เลื่อนถามคำให้การไปในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 
 
คดีวรเจตน์นัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยนำเบิกความว่า คำสั่งที่17/2557เรียกรายงานตัวเพิ่มเติมเป็นคำสั่งต่อจากคำสั่งที่5/2557 ซึ่งถ้ามารายงานตัวหรือแจ้งเหตุขัดข้องแล้ว จะไม่ถูกดำเนินคดี พยานทราบว่าพัชรินทร์ ภรรยาของวรเจตน์ แจ้งเหตุขัดข้องให้พยานทราบแต่พยานแจ้งแก่พนักงานสอบสวนเพิ่มเติมว่าวรเจตน์ไม่เคยแจ้งเหตุขัดข้อง เมื่อทนายถามค้านพยานก็ให้การอีกว่ามีหน้าที่เพียงรับรายงานตัว เอกสารที่ทนายจำเลยยกมาเกี่ยวข้องกับพยานมีเพียงคำให้การเท่านั้นและพยานก็ไม่รู้ว่าพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีอย่างไร โดยวันนี้ทนายจำเลยไม่ได้ถาม นัดสืบพยานครั้งต่อไปในวันที่ 23 กันยายน 2559
 
22 มิถุนายน 2559  สืบพยานคดี พรรณมณี สมบัติ พยานวันนี้คือ เจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ชุมนุม สืบพยานปากต่อไป กำหนดเป็นวันที่ 27 กันยายน 2559 
 
30 มิถุนายน 2559 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้  คดีสมบัติ บุญงามอนงค์ มีความผิดฐานไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. ให้จำคุก 2 เดือน  ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี 3
 

สถานการณ์เสรีภาพการแสดงออกด้านอื่นๆ


 

13 มิถุนายน 2559   ตัวแทนสถานีโทรทัศน์ช่อง พีซ ทีวี  เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการพิจารณาโทษทางปกครองสูงสุด หรือเพิกถอนใบอนุญาตออกอากาศ ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   อรุโณทัย ศิริบุตร หนึ่งในตัวแทนสถานี กล่าวว่า มายื่นหนังสือ เพื่อคัดค้านมติคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ตามที่สุภิญญา กลางณรงค์ ออกมาเปิดเผยว่า จะมีการพิจารณาใน 3 รายการคือ “เข้าใจตรงกันนะ” วันที่ 11 และ 21 มีนาคม 59 รายการ “เข้มข่าวดึก” วันที่ 24 มีนาคม 59 และ รายการห้องข่าวเล่าเรื่องค่ำวันที่ 28 มีนาคม 59 ว่าจะมีการพิจารณาสูงสุดคือเพิกถอนใบอนุญาตรายงานระบุว่า ตามเนื้อหาหนังสือคัดค้านระบุว่ารายการที่พบว่ามีปัญหา เนื่องจากเนื้อหาต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามประกาศ คสช.ฉบับ ที่ 97/2557 และ103/2557 และเป็นการขัดต่อเงื่อนไขการออกอากาศตามบันทึกข้อตกลงที่ทำร่วมกับ กสทช. เนื่องจากรายการดังกล่าว แสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ 
 
14 มิถุนายน 2559  นิสิตกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ทำกิจกรรม เดินแจกใบปลิวเนื้อหารณรงค์ให้นิสิตและประชาชน ออกไปใช้สิทธิลงประชามติแจากบริเวณคณะสังคมศาสตร์ ก่อนได้รับแจ้งจากมหาวิทยาลัยว่า มีตำรวจและทหารนอกเครื่องแบบประสานกับมหาวิทยาลัยว่าทหารและตำรวจจะเข้าควบคุมสถานการณ์ ทางผู้บริหารไม่อยากให้มีเหตุควบคุมตัวกันเกิดขึ้นจึงประสานไปยังกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์หยุดกิจกรรมแจกใบปลิวเป็นการชั่วคราว 
 
*ล่าสุด ศาลทหารกรุงเทพยกคำร้องขอฝากขังและทั้งเจ็ดคนได้รับการปล่อยตัวในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 
 
ประเภทรายงาน: