1292 1748 1946 1518 1411 1919 1877 1122 1471 1678 1407 1317 1025 1935 1525 1577 1977 1866 1027 1686 1494 1535 1161 1251 1264 1664 1268 1074 1615 1278 1358 1957 1178 1257 1206 1645 1547 1071 1839 1340 1250 1775 1985 1812 1858 1739 1944 1551 1517 1329 1751 1423 1154 1006 1817 1095 1350 1586 1719 1934 1487 1792 1367 1553 1150 1608 1856 1198 1526 1001 1551 1410 1968 1236 1393 1262 1842 1311 1397 1093 1746 1449 1732 1611 1853 1600 1710 1305 1005 1363 1712 1279 1681 1763 1454 1626 1557 1801 1722 กรกฎาคม 2559 ภรรยาแอนดรูว์มาร์แชลถูกจับ คนรณรงค์ไม่รับร่างฯ ถูกคุกคามโค้งสุดท้าย รายงานซ้อมทรมานชายแดนใต้ทำพิษ-สามนักสิทธิถูกดำเนินคดี | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

กรกฎาคม 2559 ภรรยาแอนดรูว์มาร์แชลถูกจับ คนรณรงค์ไม่รับร่างฯ ถูกคุกคามโค้งสุดท้าย รายงานซ้อมทรมานชายแดนใต้ทำพิษ-สามนักสิทธิถูกดำเนินคดี

 

524

 

หนึ่งเดือนก่อนการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 การจำกัดเสรีภาพการแสดงออกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกับประชาชนที่ออกมาแสดงจุดยืนไม่รับหรือวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติในหลายรูปแบบ และกับนักสิทธิมนุษยชนตลอดจนญาติของพลทหารที่เสียชีวิตในค่ายทหารจากซึ่งเป็นการคุกคามจากเหตุที่พวกเขาพยามบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการซ้อมทรมานที่เกิดขึ้น นอกจากกรณีควบคุมตัวภรรยาของแอนดรูว์ มาร์แชลไปสอบปากคำจากการที่แอนดรูว์เผยแพร่ภาพตัดต่อสมาชิกราชวงศ์ไทยแล้ว ด้านอัยการในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของทอม ดันดีก็จะอุทธรณ์คดีด้วย

 

ช่วงเวลา ยอดรวมตั้งแต่รัฐประหาร 
31 กรกฎาคม
2559
ยอดรวมเฉพาะเดือนกรกฎาคม
2559
คนถูกเรียกรายงานตัว 988 61
คนถูกจับกุมคุมขัง
จากการชุมนุมโดยสงบ
561 28
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 278 120
คนถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 50 1
คนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท
พระมหากษัตริย์ฯ (ม.112)
68 -
จำนวนคนที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา 112 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
และที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี 
ในเดือนกรกฎาคม 2559

52

กระชับพื้นที่เสรีภาพทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ก่อนการลงประชามติ


 

10 กรกฎาคม 2559 พนักงานสอบสวน สภ.บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นัดบริบูรณ์กับพวก 18 คนเข้าพบในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคน จากการตั้งศูนย์ปราบโกงขึ้นในท้องที่ วันเดียวกันนี้ปกรณ์ อารีกุล นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่พร้อมเพื่อนอีกสองคนเดินทางไปให้กำลังใจประชาชนกลุ่มดังกล่าว ก่อนถูกตรวจค้นรถและพบเอกสารรณรงค์เกี่ยวกับประชามติ เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบสวน ตั้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ และควบคุมตัวทั้งสามคนพร้อมนักข่าวจากเว็บไซต์ประชาไทที่ขอติดตามมาทำข่าว และภานุวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งเป็นหนึ่งใน 18 ผู้ต้องหาข้างต้นไว้ที่สถานี ก่อนนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังในวันรุ่งขึ้น ศาลอนุญาตให้ฝากขังแต่ให้ประกันตัวด้วยวงเงินคนละ 140,000 บาทและได้รับการปล่อยตัวในเย็นวันนั้น

 

526

 

14 กรกฎาคม 2559 ชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธีเปิดป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติที่อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานีถูกเรียกตัวไปปรับทัศนคติที่สภ.โนนสะอาดโดยมีเจ้าหน้าที่ทหารมาพูดคุยด้วย มีการอ่านข้อกล่าวหาชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ฯ ให้ชาวบ้านฟัง และให้ทำข้อตกลงไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีและระงับการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ในครั้งนี้ยังไม่มีการดำเนินคดีแต่อย่างใด

 

16 กรกฎาคม 2559 ชูวงศ์ ทนายความและแกนนำกลุ่มเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน จังหวัดกระบี่เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนที่ สภ.เมืองกระบี่ หลังถูกออกหมายจับตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ หลังจากโพสต์เฟซบุ๊กว่าจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เขารับว่าโพสต์จริงแต่เพียงเพื่อระบายความรู้สึก ในวันเดียวกันชูวงศ์ได้รับการปล่อยตัวโดยวางเงินประกัน 150,000 บาท

 

23 กรกฎาคม 2559 เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าจับกุมชายอายุ 63 ปีที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อนำตัวไปตั้งข้อหาตามมาตรา 61 พ.ร.บ.ประชามติฯ และฝากขังในเรือนจำกลางเชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ทั้งนี้จากเหตุนำใบปลิวรณรงค์โหวตโนไปเสียบไว้ตามที่ปัดน้ำฝนของรถยนต์ที่จอดในที่จอดรถของห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559

 

25 กรกฎาคม 2559 อติเทพสวมเสื้อยืดสีดำเขียนข้อความข้างหลังว่า ‘Vote No รธน.’ ขี่รถจักรยานยนต์ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ทหารเห็นและเรียกให้หยุดรถ สอบถามที่อยู่และยึดเสื้อไว้ วันรุ่งขึ้นเขาถุกเรียกไปให้ปากคำและถูกตรวจค้นบ้านแต่ไม่พบหลักฐานใด เจ้าหน้าที่แจ้งกับอติเทพว่าจะเรียกมาสอบปากคำอีกหากพบหลักฐานใหม่

 

26 กรกฎาคม 2559 วิชาญถูกเจ้าหน้าที่จาก สภ.พิบูลมังสาหารจับกุม ขณะยืนตะโกนชวนประชาชนในตลาดเทศบาลฯ ไม่ให้ออกไปลงประชามติ เจ้าหน้าที่ส่งตัวเขาไปตรวจที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ แพทย์ลงความเห็นว่าเขามีสภาพจิตปกติ จึงแจ้งข้อหล่าวหาก่อความวุ่นวายโดยมุ่งไม่ให้ผู้มีสิทธิไปออกเสียงฯ ต่อมา 28 กรกฎาคม 2559 พนักงานสอบสวนนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง ศาลตั้งราคาประกัน 200,000 บาทแต่เพราะไม่มีเงินประกันจึงถูกควบคุมตัวที่เรือนจำกลาง อุบลราชธานี

 

28 กรกฎาคม 2559 กฤษกร ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน เผยว่าราวสามสัปดาห์ก่อนได้โพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์และประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่นานเจ้าหน้าที่โทรมาขอให้ลบแต่ตนปฏิเสธไป ภายหลังจึงทราบว่าในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 กกต.จังหวัดอุบลราชธานีแจ้งความให้ดำเนินคดีกับเขาตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง แม้ยังไม่มีการออกหมายเรียกเพราะอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน แต่ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 มีเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองไปหาเขาที่สำนักงานขณะที่เขาติดภารกิจอยู่ข้างนอก

 

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์



 

21 กรกฎาคม 2559 แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์สประจำประเทศไทยแชร์ข่าวซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นภาพตัดต่อสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย วันต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบฯ จึงไปตรวจค้นที่บ้านพักของนพวรรณซึ่งเป็นภรรยาของแอนดรูว์ แล้วควบคุมตัวเธอพร้อมลูกไปที่กองปราบฯ โดยมีการยึดคอมพิวเตอร์ ไอแพด แฟลชไดรฟ์ หนังสือเดินทางและเอกสารจำนวนหนึ่งมาตรวจ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าพบนพวรรณโดยอ้างว่าเพราะยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา ต่อมาผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแถลงว่าไม่พบความเกี่ยวข้องกับการกระทำของแอนดรูว์จึงให้ปล่อยตัวไป สองวันถัดมามีรายงานว่าเธอและลูกเดินทางออกนอกประเทศแล้ว

 

26 กรกฎาคม 2559 สมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันฯ จังหวัดสิงห์บุรีนำสำเนาภาพหน้าจอการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กมาเป็นหลักฐานเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนที่ สภ.เมืองสิงห์บุรี ให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ‘Nattapong XXX’ ซึ่งณัฐณารา ปานมี แกนนำเครือข่ายระบุว่า ผู้ใช้คนดังกล่าวโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในกลุ่มเฟซบุ๊กการเมือง

 

ในวันเดียวกันนี้ ภรรยาของทอม ดันดีหรือธานัทได้รับแจ้งจากทนายว่า อัยการจะอุทธรณ์คดีและขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์คดีไปจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นเหตุให้คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดและไม่อาจขอพระราชทานอภัยโทษตามความตั้งใจของธานัทได้ คดีนี้เป็นหนึ่งในสองคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของเขาหลังการรัฐประหาร ในปี 2557 ซึ่งเขาให้การรับสารภาพหลังจากให้การปฏิเสธและยืนยันจะต่อสู้คดีมาก่อนหน้านั้น โดยคดีหนึ่งถูกศาลทหารพิพากษาจากการฟ้องในช่วงประกาศกฎอัยการศึกจึงถือเป็นที่สิ้นสุดทันทีโดยให้จำคุกรวมสามปีสี่เดือน ส่วนอีกคดี ศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลาเจ็ดปีหกเดือน ซึ่งต่อมาอัยการขออุทธรณ์

ดูรายละเอียดคดีของธานัทบนฐานข้อมูลของเรา ที่นี่ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/691 ดูรายละเอียดคดี 112 ของธานัทที่ศาลทหาร ที่นี่ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/585

นอกจากการสืบพยานโจทก์คดีของบัณฑิตและคดีของธาราที่ศาลทหารกรุงเทพ ยังมีความเคลื่อนไหวในกรณีของหฤษฏ์และณัฏฐิกา ซึ่งเป็นผู้ต้องในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จากการแชทผ่านเฟซบุ๊กและไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวมาตั้งแต่วันทื่ 11 พฤษภาคม 2559 ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้วางเงินประกันคนละ 500,000 บาท

 

คุกคามนักสิทธิมนุษยชนและญาติจากเหตุเปิดโปงการซ้อมทรมานในค่ายทหาร


 

26 กรกฎาคม 2559 สมชาย หอมลออ, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติและอัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชนเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองปัตตานี โดยให้การปฏิเสธและได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องประกันตัวจากเหตุกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาคสี่ส่วนหน้าซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทัพบกให้เข้าแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามจากการร่วมกันเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ โดยมีการออกแถลงการณ์ขอให้ยุติการดำเนินคดีทันที

ดูรายละเอียดคดีของสามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้บนฐานข้อมูลของเรา ที่นี่ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/711

 

527

 

ในวันเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.มักกะสันนำกำลังเข้าจับกุมนริศราวัลถ์ซึ่งเป็นหลานสาวของพลทหารที่เสียชีวิตในค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการที่เธอใช้อินเทอร์เน็ตรณรงค์เกี่ยวกับการเสียชีวิตของน้าชาย ซึ่ง ร.ท.ภูริ เพิกโสภณ นายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในกองร้อยที่มีการกล่าวหาว่ามีการทำร้ายร่างการพลทหารคนดังกล่าวเป็นผู้แจ้งความ โดยกองทัพปฏิเสธความเกี่ยวข้องในคดีนี้ ในวันดังกล่าวนริศราวัลถ์ถูกนำตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดนราธิวาสโดยเครื่องบินต่อรถยนต์ จากนั้นเธอให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและใช้ตำแหน่งของเธอประกันตัวเองในชั้นสอบสวน

ประเภทรายงาน: