- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ปรสิตติดโทรศัพท์ : รายงานข้อค้นพบการใช้เพกาซัสสปายแวร์ในประเทศไทย
ปรสิตติดโทรศัพท์ : ข้อค้นพบเมื่อสปายแวร์เพกาซัสถูกใช้ต่อผู้เห็นต่างจากรัฐบาล
- สปายแวร์เพกาซัสนับได้ว่าเป็นอาวุธสอดแนมทางไซเบอร์ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่งถูกพบแล้วว่าถูกเอามาใช้กับคนไทยที่เห็นต่างจากรัฐ เหยื่อหลายคนได้รับการเตือนจากบริษัท แอปเปิ้ลในเดือนพฤศจิกายน 2564 ว่า โทรศัพท์ของพวกเขาอาจถูกเจาะโดยการโจมตีที่สนับสนุนโดยรัฐ
- จากการสืบสวนค้นหาข้อเท็จจริงที่ยังคงไม่เสร็จสิ้นพบว่ามีคนที่ถูกเจาะโดยเพกาซัส 30 คน ระหว่างปี 2563-2564
- คนส่วนใหญ่ที่ถูกเจาะมีบทบาทในการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี 2563-2564
- การใช้เพกาซัสต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง เชื่อได้ว่ามีแรงจูงใจสามประการ หนึ่ง เพื่อสอดส่องกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้ชุมนุม สอง เพื่อติดตามสถานการณ์การประท้วง และสาม เพื่อหาข้อมูลเแหล่งที่มาของเงินของการประท้วง
ในปี 2557 เกิดการประท้วงใหญ่ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ตั้งเป้ากำจัดอิทธิพลของทักษิณจากการเมืองไทย ความวุ่นวายทางการเมืองประมาณ 6 เดือน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 ต่อต้นปี 2557 ถูกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร นำทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หรือเกือบแปดปีหลังการรัฐประหารครั้งก่อนหน้า หลังการรัฐประหาร สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศถดถอยจนเข้าขั้นวิกฤต ผู้ที่เห็นต่างหรือแสดงการต่อต้านคณะรัฐประหารเจ้าหน้าที่ถูกจับกุมตามอำเภอใจ เกิดกรณีบังคับสูญหายผู้ลี้ภายการเมืองชาวไทยในประเทศเพื่อนบ้าน และมีการใช้กระบวนการยุติธรรมจัดการกับฝ่ายตรงข้ามกับผู้มีอำนาจ ห้าปีหลังการรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในฐานะแคนดิเดทของพรรคการเมืองหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 โดยที่การเลือกตั้งครั้งนั้นดำเนินไปภายใต้กติกาที่ออกแบบมาเพื่อคณะรัฐประหาร[1] หลังการเลือกตั้งทหารจึงยังคงมีอิทธิพลในฝ่ายบริหารและนายทหารที่มีส่วนเกี่ยวของกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจในปี 2557 ยังคงมีตำแหน่งอยู่[2] ในคณะรัฐมนตรีชุดที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562
สองปีหลังการรัฐประหาร 2557 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สิบสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่เก้าที่สวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 หลังเปลี่ยนรัชกาลมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในการบริหารกิจการในพระองค์ รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 15 ว่าการจัดการองค์กรหรือบุคคลของสำนักพระราชวังให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย[5] ในปีเดียวกัน (2560) สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์[6] และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์[7] กฎหมายทั้งสองฉบับกำหนดให้ส่วนราชการของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับงบประมาณจากรัฐเป็นอิสระจากการกำกับดูแล สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถูกนำไปตั้งคำถามในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและมีนักกิจกรรมทางการเมืองที่นำประเด็นนี้ไปวิพากษ์วิจารณ์[8] ทว่าการพูดถึงประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสิ่งต้องห้ามและมีกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ถูกนำมาใช้จัดการกับผู้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นดังกล่าว ทำให้เป็นการยากที่จะมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันใกล้
1.1 สถานการณ์การชุมนุม ปี 2563 - 2564
วันที่ 3 สิงหาคม 2563 กลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด จัดการชุมนุม "เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยในธีม แฮรี พอตเตอร์"[11] โดยมีทนายอานนท์ นำภา ขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยในที่ชุมนุม[12] ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย อย่างน้อยก็ในยุคนับตั้งแต่การรัฐประหาร 2557
จากนั้นในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดการชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต โดยมี รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อ่านประกาศแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมฉบับที่ 1[13] ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ 10 ข้อเรียกร้องเพื่อการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ให้รัฐบาลจำกัดบทบาทพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองโดยยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่มีเนื้อหาเป็นการขยายพระราชอำนาจ ให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และให้สอบสวนกรณีการ “อุ้มหาย" ผู้ลี้ภัยการเมืองชาวไทย เป็นต้น หลังจากนั้นการชุมนุมประท้วงรัฐบาลและมีข้อเรียกร้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ขยายตัว
ตลอดปี 2563 - 2564 มีกลุ่มกิจกรรมการเมืองหลายที่ก่อตัวและทำกิจกรรมทางการเมือง โดยทุกกลุ่มต่างมีเป้าหมายคล้ายกันคือให้ประเทศไทยได้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่มีบทบาทสำคัญและเกิดขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ กลุ่มมวลชนอาสา (We Volunter)[14] นักเรียนเลว[15] กลุ่มทะลุฟ้า [16] และทะลุวัง[17] เป็นต้น
รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2563[18] ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงก็เริ่มตอบโต้ผู้ชุมนุมด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูงรวมทั้งน้ำผสมสารเคมี แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง[19] นักเคลื่อนไหวคนสำคัญหลายคนถูกดำเนินคดีทั้งด้วยข้อหาชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ[20] ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116[21] ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112[22] และข้อหาอื่นๆ รัฐบาลยังมีความพยายามที่จะสอดแนมหรือสืบข้อมูลของคนที่รัฐเชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนการชุมนุม[23] ด้วย
1.2 ความพยายามสอดส่องทางดิจิทัลโดยรัฐ
ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านความมั่นคงหลังรัฐบาลคสช.เข้าบริหารประเทศ ได้แก่การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ 2559[24] แทนที่พระราชบัญญัติฉบับปี 2502 กฎหมายฉบับใหม่นิยามคำว่า "ความมั่นคงแห่งชาติ" ที่ต่างไปจากฉบับเดิมว่า
ในปี 2559 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังได้ผ่าน พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2)[25] ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือการจำกัดอำนาจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและโทรคมนาคมของประเทศ ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้กำกับดูแลแผนปฏิบัติการของกสทช. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กสทช.ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดการกับผู้เห็นต่างจากรัฐในหลายๆกรณี เช่นการสั่งให้ว๊อยซ์ทีวีงดออกอากาศเป็นเวลา 15 วัน[26] ในปี 2562 ต่อมาในปี 2564 กสทช.ยัง "ขอความร่วมมือ" จากสื่อในประเทศไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และข้อเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย[27]
ในส่วนของความพยายามในการสอดส่องประชาชน รัฐมีกฎหมายหลายฉบับที่ให้อำนาจในการทำงาน ทั้งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับปี 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2560 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการแจ้งหรือเรียกให้บุคคลมาให้ถ้อยคำ เรียกบันทึกการจราจรของข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่งมอบข้อมูลของผู้ใช้บริการ ทำสำเนาข้อมูล ถอดรหัสข้อมูลของบุคคลเป้าหมาย รวมทั้งการยึดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน[28] พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการไว้ในระยะเวลาระหว่าง 90 วัน - 1 ปี ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในประเทศไทยน่าจะให้การสนับสนุนความพยายามของรัฐในการสอดแนมเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อไปได้ เมื่อธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล หรือ "หนุ่ม เรดนนท์" ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์นปช.ยูเอสเอถูกพิพากษาจำคุกในปี 2554 มีข้อมูลว่าทริปเปิล ที บรอดแบนด์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้เปิดเผย ไอพีแอดเดรสของธันย์ฐวุฒิกับเจ้าหน้าที่[29]
ในปี 2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านกฎหมายอีกสองฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ[30] และพ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ[31] ซึ่งทำให้รัฐสามารถทำการสอดส่องประชาชนได้ง่ายขึ้น พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเรียกบุคคลมาสอบถามข้อมูลและเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคลโดยไม่ต้องขออำนาจศาลในกรณีที่มีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับร้ายแรง[32] กฎหมายยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ทำสำเนาข้อมูล รวมถึงยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องขออำนาจศาล ในกรณีที่ดำเนินการเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ในส่วนของพ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติมีแก้ไขความในมาตรา 6 ให้ต่างจากพ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติฉบับปี 2528 โดยมีความตอนหนึ่งว่า
ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะปฏิเสธความเกี่ยวข้อง แต่ก็มีความเชื่อกันว่ามีความเกี่ยวโยงระหว่างการสอดส่องของรัฐกับการติดตามคุกคามกลุ่มผู้เห็นต่าง ระหว่างปี 2563 - 2564 มีปรากฎการณ์ที่นักกิจกรรมอย่างน้อย 4 คน ได้แก่ ปิยรัฐ จงเทพ[33] ศรีไพร นนทรีย์[34] พรรณิการ์ วานิช[35] และ รถของสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้า[36] พบว่าตัวเองถูกติดเครื่องติดตามระบบจีพีเอสบนรถยนต์ ในเดือนสิงหาคม 2564 มีการเปิดเผยเอกสารของราชการซึ่งเป็นรายชื่อของบุคคล 183 คน ที่รัฐบาลเฝ้าติดตาม โดยในเอกสารดังกล่าวมีข้อมูลส่วนบุคคลทั้งชื่อนามสกุล วันเกิด หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขหนังสือเดินทาง ประวัติอาชญากรรมและภาพถ่าย[37] ในรายชื่อดังกล่าวปรากฎรายชื่อของนักกิจกรรม นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน และคนทำงานในภาคประชาสังคม เช่น ทนายอานนท์ นำภา, รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และปิยรัฐ จงเทพ ซึ่งต่อมาในเดือนมิถุนายน 2565 มีการเปิดเผยเอกสารของทางราชการที่ระบุว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินการติดตามสอดส่องและรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของ ผู้เห็นต่างทางการเมืองจากรัฐอีกคนหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรัศม์ ชาลีจันทร์[38] อดีตนักการทูตซึ่งเริ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นไม่นาน
ลำดับ |
ชื่อ-นามสกุล |
องค์กรที่เกี่ยวข้อง |
ประมาณวันที่ที่ถูกเจาะ (ปี-เดือน-วัน) |
1 |
ปรมินทร์ รัศมีสวัสดิ์ |
FreeYOUTH |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-12 |
2 |
เกศกนก วงษาภักดี |
FreeYOUTH |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-05 |
3 |
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ |
FreeYOUTH |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-10-21 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-10-26 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-15 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-20 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-03-18 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-06 |
4 |
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา |
ทะลุฟ้า |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-23 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-28 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-09 |
5 |
อานนท์ นำภา |
นักกิจกรรมอิสระ/ทนายความสิทธิ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-12-03 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-12-15 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-10 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-14 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-31 |
6 |
ปัณฑ์สิริ จิรฐากูรณ์
|
ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-17 |
7 |
ฉัตรรพี อาจสมบูรณ์ |
ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-30 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-09 |
8 |
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล |
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-15 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-20 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-23 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-24 |
9 |
นิราภร อ่อนขาว |
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-16 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-03-16 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-04-26 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-04-30 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-11 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-14 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-20 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-31 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-08 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-15 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-20 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-23 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-01 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-07 |
10 |
ณัฐชนน ไพโรจน์ |
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-18 |
11 |
ชลธิศ โชติสวัสดิ์ |
แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-23 |
12 |
เบนจา อะปัญ |
นักกิจกรรมอิสระ/อดีตแนวร่ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-17 |
13 |
บุคคล #1 |
นักกิจกรรมอิสระ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-19 |
14 |
รัฐภูมิ เลิศไพจิตร |
WEVO |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-21 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-04 |
15 |
วิชพรรษ ศรีกสิพันธุ์ |
WEVO |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-30 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-13 |
16 |
ปิยรัฐ จงเทพ |
WEVO |
ยืนยันได้ว่าถูกเจาะ แต่ไม่ทราบวันที่ |
17 |
บุคคล #2 |
WEVO |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-18 |
18 |
เอเลีย ฟอฟิ |
ศิลปะปลดแอก |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-17 |
19 |
เดชาธร บำรุงเมือง หรือ “ฮอคกี้” |
Rap Against Dictatorship |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-08-18 |
20 |
อินทิรา เจริญปุระ |
นักกิจกรรมอิสระ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-04-09 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-04-26 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-04 |
21 |
ณัฏฐา มหัทธนา |
นักกิจกรรมอิสระ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-23 |
22 |
บุคคล #3 |
The Mad Hatter* |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-15 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-31 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-07 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-16 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-19 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-23 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-27 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-02 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-05 |
23 |
บุคคล #4 |
The Mad Hatter* |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-14 |
24 |
บุคคล #5 |
The Mad Hatter* |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-14 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-19 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-05 |
25 |
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ |
iLaw |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-11-28 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-12-01 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2563-12-08 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-10 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-16 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-03-04 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-03-16 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-04-23 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-20 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-12 |
26 |
บุศรินทร์ แปแนะ |
iLaw |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-02-17 |
27 |
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ |
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-11-16 |
28 |
พวงทอง ภวัครพันธุ์ |
นักวิชาการ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-05-31 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-10 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-25 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-30 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-02 |
29 |
สฤณี อาชวานันทกุล |
นักวิชาการ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-09-15 |
30 |
ประจักษ์ ก้องกีรติ |
นักวิชาการ |
- ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-06-14 - ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2564-07-02 |
วันที่การชุมนุม |
การชุมนุม |
สถานที่การชุมนุม |
วันและเป้าหมายที่ถูกเจาะ |
17-31 ตุลาคม 2563 |
การชุมนุมในลักษณะไม่มีแกนนำเพื่ |
หลายจังหวัดทั่วประเทศ |
21 และ 26 ตุลาคม 2563 เจาะจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์
|
2 ธันวาคม 2563 |
การชุมนุมโดยราษฎรหลังศาลรั |
ห้าแยกลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร |
1 ธันวาคม 2563 เจาะยิ่งชีพ อัชฌานนท์; 3 ธันวาคม 2563 เจาะอานนท์ นำภา |
10 กุมภาพันธ์ 2564 |
การชุมนุมโดยราษฎรเพื่อเรียกร้ |
แยกปทุมวันไปสน.ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
10 กุมภาพันธ์ 2564 เจาะยิ่งชีพ อัชฌานนท์ |
20 กุมภาพันธ์ 2564 |
การชุมนุมโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์ |
รัฐสภา กรุงเทพมหานคร |
16 กุมภาพันธ์ 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว และ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์; 17 กุมภาพันธ์ 2564 เจาะบุศรินทร์ แปแนะ |
28 กุมภาพันธ์ 2564 |
การชุมนุมโดย REDEM เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบั |
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปกองพั |
15 และ 20 กุมภาพันธ์ 2564 เจาะจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์
|
20 มีนาคม 2564 |
การชุมนุมโดย REDEM เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบั |
สนามหลวง กรุงเทพมหานคร |
18 มีนาคม 2564 เจาะจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ |
29 เมษายน 2564 |
การชุมนุมโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์ |
ศาลอาญา กรุงเทพมหานคร |
26 เมษายน 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว และอินทิรา เจริญปุระ |
30 เมษายน 2564 |
การชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์ |
ศาลอาญา กรุงเทพมหานคร |
30 เมษายน 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว |
11 พฤษภาคม 2564 |
การชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์ |
สถานีตำรวจพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร |
11 พฤษภาคม 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว |
24 มิถุนายน 2564 |
การชุมนุมโดยราษฎรเพื่อรำลึกถึง 89 ปีอภิวัฒน์สยาม |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปรัฐสภา กรุงเทพมหานคร |
15 มิถุนายน 2564 เจาะปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และนิราภร อ่อนขาว; 16 มิถุนายน 2564 เจาะบุคคล #3; 19 มิถุนายน 2564 เจาะบุคคล #3; 20 มิถุนายน 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และยิ่งชีพ อัชฌานนท์; 23 มิถุนายน 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และบุคคล #3 |
1 กรกฎาคม 2564 |
การชุมนุมวิจารณ์การบริ |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขอนแก่น |
28 มิถุนายน 2564 เจาะจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา |
2 กรกฎาคม 2564 |
การชุมนุมเปิดท้ายวันศุกร์ลุ |
ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร |
1 กรกฎาคม 2564 เจาะนิราภร อ่อนขาว; 2 กรกฎาคม 2564 เจาะบุคคล #3 |
18 กรกฎาคม 2564 |
การชุมนุมครบรอบ 1 ปีเยาวชนปลดแอก |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร |
9 กรกฎาคม 2564 เจาะจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา; 10 และ 14 กรกฎาคม 2564 เจาะอานนท์ นำภา |
4 กันยายน 2564 |
การชุมนุมโดย REDEM เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบั |
สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์เคลื่ |
30 สิงหาคม 2564 เจาะฉัตรรพี อาจสมบูรณ์; 5 กันยายน 2564 เจาะเกศกนก วงษาภักดี; 6 กันยายน 2564 เจาะจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ |
14 พฤศจิกายน 2564 |
การชุมนุมโดย DRG เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบั |
แยกปทุมวันไปสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพมหานคร |
12 พฤศจิกายน 2564 เจาะยิ่งชีพ อัชฌานนท์ |
ปนัสยาสมาชิกคนสำคัญของแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ผู้ที่อ่านประกาศแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ฉบับที่หนึ่งที่มีข้อเรียกร้องปฏิรูปกษัตริย์สิบข้อ เธอถูกเจาะโดยเพกาซัสรวมสี่ครั้ง ที่ผ่านมาเธอถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ไม่น้อยกว่าสิบคดี และถูกคุมขังระหว่างการดำเนินคดีรวมสามรอบ การเจาะสามครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2564 ชี้ให้เห็นว่า ผู้เจาะอาจกำลังมองหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการเตรียมการชุมนุมเนื่องในวันครบรอบ 89 ปีการอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 วันที่ 18 กันยายน 2564 ปนัสยาเปิดเผยว่า ตอนนี้เธอทราบว่า เธอมีหมายจับอยู่และไม่รู้ว่า ตำรวจจะมาแสดงหมายจับกุมตัวเธอเมื่อไหร่ ต่อมาวันที่ 22 กันยายน 2564 สองวันก่อนหน้าการเจาะ ตำรวจแสดงหมายจับเข้าจับกุมเธอกล่าวหาว่า เป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊กแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ[39]