1868 1183 1851 1368 1842 1417 1959 1486 1899 1441 1465 1051 1247 1392 1972 1216 1895 1661 1339 1675 1111 1128 1051 1056 1656 1387 1606 1590 1742 1910 1212 1553 1526 1853 1242 1045 1619 1423 1788 1621 1978 1564 1447 1438 1135 1902 1473 1456 1668 1865 1836 1263 1083 1124 1166 1314 1754 1728 1031 1390 1514 1515 1747 1987 1279 1324 1761 1570 1274 1716 1439 1585 1909 1394 1480 1107 1075 1981 1593 1236 1819 1988 1148 1424 1251 1864 1171 1884 1762 1019 1061 1235 1750 1960 1183 1215 1757 1582 1761 ความเคลื่อนไหวสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก เดือนตุลาคม 2557 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ความเคลื่อนไหวสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก เดือนตุลาคม 2557

เดือนตุลาคม 2557 มีความเคลื่อนไหวคดีความ การใช้กฎหมายและอำนาจรัฐปิดกั้นการใช้เสรีภาพการแสดงออกของประชาชน เท่าที่บันทึกไว้ ดังนี้

 
คดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
 
15 ตุลาคม มีการจับกุมผู้ต้องหารายใหม่ คือ โอภาส ผู้ถูกกล่าวหาว่าเขียนข้อความที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯบนฝาผนังห้องน้ำ ห้างสรรพสินค้าซีคอนแสควร์ มีการจัดแถลงข่าวการจับกุมในวันที่ 17 ก่อนที่โอภาสจะถูกนำไปฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 20 ซึ่งญาติยื่นหลักทรัพย์ มูลค่า 2,500,000 บาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลให้ยกคำร้อง
 
21 ตุลาคม ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การ 2 คดี ได้แก่คดีของ “เฉลิมพล” และคฑาวุธ จำเลยทั้งสองคดีขอเลื่อนนัดสอบคำให้การออกไปก่อน เนื่องจากต้องการเวลาในการปรึกษาแนวทางคดีกับทนายความ ศาลยังสั่งให้พิจารณาคดีทั้งสองเป็นการลับโดยตลอดด้วย ซึ่งหลังมีคำสั่งดังกล่าว ศาลก็เชิญญาติและผู้มาสังเกตการณ์คดีทั้งหมดออกจากห้องพิจารณา
 
27 ตุลาคม ศาลอาญานัดสอบคำให้การ คดีเจ้าสาวหมาป่า ซึ่งมีจำเลยสองคน ได้แก่ ปติวัฒน์ และภรณ์ทิพย์ จำเลยทั้งสองแถลงขอเลื่อนนัดสอบคำให้การออกไปอีกหนึ่งนัด ซึ่งศาลนัดใหม่วันที่ 29 ธันวาคม ต่อมาในวันที่ 28 ตุลาคม นักวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดลสามคนใช้ตำแหน่งยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสอง แต่ศาลยกคำร้อง
 
นับจากการรัฐประหารถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 16 คน อยู่ในเรือนจำอย่างน้อย 13 คน
 
คดีการเมืองหลังรัฐประหาร
 
ตุลาคม นักศึกษาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสองคน ถูกตำรวจสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เรียกไปเสียค่าปรับ จากการแขวนป้ายผ้าหน้าสะพานลอยข้ามถนนพญาไท คนละ 1,000 บาท
 
15 ตุลาคม  ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การคดี จาตุรนต์ ฉายแสง จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านอำนาจของศาลทหาร และขอเลื่อนนัดสอบคำให้การไปก่อน
 
19 ตุลาคม มีการจับกุมหนึ่ง และตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศคสช. ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน วันที่ 21 หนึ่งถูกพาตัวไปฝากขังที่ศาลทหารและได้รับประกันตัว
 
27 ต.ค. ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การคดีชัยนรินทร์ ฝ่าฝืนประกาศคสช. ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน จำเลยรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษชัยนรินทร์  ตามประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 จำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี 
 
คดีเยี่ยมยอด ไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง จำเลยรับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี
นับจากการรัฐประหารถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาทางการเมือง อย่างน้อย 109 คน อยู่ในเรือนจำอย่างน้อย 62 คน
 
การเรียกตัว จับกุมบุคคล
 
ตุลาคม ศรีไพร นนทรี และเพื่อนคนงานย่านรังสิตและนวนครรวม 5 คน เดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เพื่อชี้แจงกรณีการเตรียมเข้าร่วมงาน World Day for Decent Work หลังถูกเจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาเรียก ในวันเดียวกันยุพดี แกนนำเสื้อแดงยานนาวาก็ถูกทหารเรียกให้ไปพูดคุยเช่นกัน
 
16 ตุลาคมทหารเชิญสุกิจ พูนศรีเกษม พร้อมแกนนำชาวเขาเผ่ามูเซอกว่า 30 คนเข้าไปปรับความเข้าใจ ที่ค่ายวชิรปราการ จังหวัดทหารบกตาก หลังจากชาวเขาเผ่ามูเซอ พยายามเดินทางด้วยรถตู้ 15 คัน เพื่อเข้าร้องเรียนต่อ คสช.ที่กรุงเทพฯ เพราะถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ พยายามเข้าตรวจยึดอาคาร สิ่งปลูกสร้างในเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ก่อนถูกเจ้าหน้าที่สกัดไว้ 
 
นับจากการรัฐประหารถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวอย่างน้อย 613 คน มีผู้ถูกจับกุม อย่างน้อย 291 คน
 
การปิดกั้นการจัดกิจกรรมสาธารณะ
 
ตุลาคม เจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาขอให้นักศึกษากลุ่มเกลียวแห่งธรรม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยกเลิกการจัดงานเสวนา “6 ตุลา วันฟ้าเปลี่ยนสี” เนื่องจากมีลักษณะเป็นกิจกรรมการเมือง
 
31 ตุลาคมเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารตรึงกำลังหน้า อนุสรณ์นายนวมทอง ไพรวัลย์ บริเวณสะพานลอยหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อสกัดการทำกิจกรรมรำลึกของกลุ่มนักศึกษาจากศูนย์กลางนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ประชาชนบางคนวางดอกไม้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมหรือให้สัมภาษณ์กับสื่อ
 
คืนวันเดียวกัน มีผู้ไปรวมตัวที่ร้านลาบด้านข้างอนุสาวรีย์ประชาธิไตย ประมาณ 30-40 คน ตำรวจเชิญตัวอานนท์ และพันธ์ศักดิ์ไปสอบปากคำที่สน.นางเลิ้ง จากกรณีที่มีนักศึกษานำป้ายผ้าไปติดรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขณะที่มีผู้เข้าร่วมอีก 3 คนถูกปรับคนละ 100 บาท ฐานไม่พกบัตรประจำตัวประชาชน
 
นับจากการรัฐประหารถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีการจัดกิจกรรมสาธารณะที่ถูกปิดกั้นแล้วอย่างน้อย 22 ครั้ง
 
คดีอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง
 
20 ตุลาคม ศาลจังหวัดภูเก็ตนัดไต่สวนมูลฟ้อง คดีที่บริษัท ทุ่งคำ ฟ้องหมิ่นประมาท สุรพันธุ์ ชาวบ้านจังหวัดเลยที่คัดค้านการทำเหมือง มีผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เข้าเบิกความหนึ่งคน วันที่ 29 ต.ค. ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีนี้
 
29 ตุลาคม ศาลจังหวัดพระโขนง อ่านคำพิพากษายกฟ้อง คดีที่บริษัท เนเชอรัลฟรุต ฟ้องหมิ่นประมาท อานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากการสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
 
ประเภทรายงาน: