- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
บทเรียนจาก 6 ตุลาฯ เมื่อ "พลังฝ่ายขวา" ที่อ้างสถาบันกษัตริย์ ต้องการหยุดความเปลี่ยนแปลง
จากปี 2514 และ 2515 ที่ถนอมปกครองประเทศมีการนัดหยุดงาน 27 และ 34 ครั้ง ตามลำดับ มาเพิ่มเป็น 357 และ 241 ครั้ง ในปี 2517 และ 2518 ตามลำดับ (ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐและคณะ หน้า 83) ขณะที่ขบวนการชาวนาเองก็มีการเคลื่อนไหวใหญ่ อาทิในเดือนมิถุนายน 2517 ชาวนา 2000 คน เดินทางเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพ หลังจากนั้นขบวนการชาวนายังมีการรวมตัวด้วยการจัดตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้ตัวเองด้วย (ประจักษ์ หน้า 99)
การรวมตัวของกลุ่มพลังที่เคยถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่างของสังคมทั้งชาวนาและกรรมกรสร้างความไม่พอใจให้กับผู้เสียผลประโยชน์ เช่น เจ้าของที่ดินรู้สึกไม่พอใจกับข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปที่ดิน ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจก็รู้สึกไม่พอใจที่ไม่สามารถใช้แรงงานราคาถูกได้เหมือนในยุครัฐบาลทหาร (ประจักษ์ หน้า 99 - 100) ขณะที่บริบทการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านก็มีขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ (กรุงพนมเปญแตกและเขมรแดงเข้าสู่อำนาจในเดือนเมษายน 2518 ขณะที่ในลาว ขบวนการปะเทดลาวก็สามารถยึดอำนาจการปกครองและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สำเร็จในเดือนธันวาคม 2518)
ลูกเสือชาวบ้าน
สำหรับกรณีละครเสียดสีการเมือง จำลองฉากการฆาตกรรมพนักงานการไฟฟ้าที่ออกไปแจกใบปลิวต่อต้านจอมพลถนอมที่กลายเป็นมูลเหตุให้มีการใช้กำลังสลายการชุมนุมและการสังหารประชาชนในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งนักศึกษาถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทองค์รัชทายาทโดยเจตนาแต่งหน้านักแสดงละครแขวนให้คล้ายกับพระพักตร์ของพระองค์ ได้มีการนำไปพิจารณาในศาลทหารเป็นส่วนหนึ่งของคดี 6 ตุลา แต่คดีดังกล่าวไม่มีข้อยุติทางกฎหมายเพราะรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มาใช้ในวันที่ 15 กันยายน 2521 ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดแต่ระหว่างนั้นนักศึกษาและผู้ชุมนุมทั้ง 18 คน ต่างถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีในเรือนจำเป็นเวลา 2 ปี