1408 1580 1701 1222 1885 1711 1521 2000 1353 1560 1670 1367 1883 1586 1258 1276 1142 1087 1637 1095 1128 1360 1272 1015 1022 1352 1416 1993 2000 1217 1266 1924 1349 1251 1321 1508 1152 1097 1229 1050 1689 1944 1121 1402 1514 1379 1113 1188 1314 1449 1786 1084 1827 1363 1295 1306 1816 1088 1185 1058 1111 1479 1741 1687 1106 1691 1093 1831 1957 1976 1607 1236 1532 1359 1817 1416 1855 1152 1562 1651 1977 1562 1116 1990 1586 1325 1247 1615 1887 1496 1390 1631 1806 1841 1624 1037 1834 1670 1992 ข้อกำหนดฉบับ 27 ห้ามโพสต์สร้างความหวาดกลัวแม้เป็นความจริง โทษ 2 ปี ปรับ 40,000 บาท | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ข้อกำหนดฉบับ 27 ห้ามโพสต์สร้างความหวาดกลัวแม้เป็นความจริง โทษ 2 ปี ปรับ 40,000 บาท

 

 

12 กรกฎาคม 2564 เป็นวันแรกของการบังคับใช้ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 27 ซึ่งเป็นฉบับที่เพิ่มความเข้มงวดของข้อห้ามต่างๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่พบผู้ติดเชื้อโควิดรายวันหลัก 9,000 คน และระบบสาธารณสุขของประเทศไม่อาจรองรับสถานการณ์ได้ มาตรการห้ามออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนถูกนำมาใช้อีกครั้ง พร้อมกับการสั่งปิดตลาด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ในเวลา 20.00 น.

 

1861

 

ข้อกำหนดฉบับที่ 27 ที่ลงนามประกาศใช้โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชายังเขียนไว้ในข้อ 11. เป็นข้อจำกัดการแสดงความคิดเห็น ภายใต้สถานการณ์ที่อ่อนไหวของโรคระบาด ดังนี้

 

"ข้อ 11 มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การเสนอข่าวหรือการทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักรนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548"

 

การกระทำที่จะเป็นความผิดตามข้อ 11 ต้องมีองค์ประกอบทุกข้อรวมกัน ดังนี้

 

1. การเสนอข่าว หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด (เข้าใจได้ว่ารวมถึงสื่อออนไลน์)

2. ที่มีข้อความอันอาจ

    2.1 ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือ

    2.2 เจตนาบิดเบือนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. การกระทำเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทย ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุดเท่านั้น

 

การฝ่าฝืนข้อ 11 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การฝ่าฝืนข้อกำหนดไม่ว่าเรื่องใดๆ เช่น การออกนอกเคหสถานเกินเวลาที่กำหนด การรมกลุ่มเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มีอัตราโทษเช่นเดียวกันหมด

 

ก่อนหน้าการประกาศใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 27 ก็มีข้อกำหนดฉบับที่ 1 ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 h กำหนดข้อห้ามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนในทำนองเดียวกัน และใช้มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี 4 เดือน โดยระหว่างช่วงเวลาที่ผ่านมาก็มีการออกข้อกำหนดเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือผ่อนคลายข้อห้ามต่างๆ มาแล้วอีก 25 ฉบับ แต่ข้อห้ามเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ไม่เคยถูกแก้ไขใดๆ จนกระทั่งข้อกำหนดฉบับที่ 27 ออกมาบังคับใช้ใหม่ เท่ากับเป็นการยกเลิกข้อห้ามเดิมในข้อกำหนดฉบับที่ 1 แล้วใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 27 นี้แทน

 

ข้อกำหนดฉบับที่ 1 เคยเขียนข้อห้ามเรื่องการเสนอข้อมูลข่าวสารไว้ในข้อ 6 ดังนี้

 

"ข้อ 6 การเสนอข่าว ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่างๆ ซึ่งมีข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด 19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าหน้าที่เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าว หรือหากเป็นกรณีที่มีผลกระทบรุนแรง ให้ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548"

 

มีข้อสังเกตว่า การเขียนข้อห้ามในข้อกำหนดฉบับที่ 27 มีลักษณะ "สั้นลง" กว่าฉบับที่ 1 โดยมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

 

1) ข้อความที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว รวมทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง ตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 การเผยแพร่ข้อความที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวจะเป็นความผิดต่อเมื่อเป็นข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 ที่ "ไม่เป็นความจริง" เท่านั้น แต่ตามข้อกำหนดฉบับที่ 27 เอาผิด "ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว" โดยตัดองค์ประกอบที่เคยเขียนว่า "ไม่เป็นความจริง" ออก ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้เขียนข้อกำหนดฉบับที่ 27 ว่า อาจต้องการเอาผิดกับข้อความที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัวทั้งที่เป็นความจริงและไม่เป็นความจริง

 

2) เพิ่มเรื่องกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 ห้ามการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดจน "กระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" ซึ่งก็เป็นข้อห้ามที่กว้างขวางมากอยู่แล้ว และใช้มาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือคำอธิบายว่า มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแบบใดที่ส่งผลเสียจนต้องขยายองค์ประกอบความผิดให้กว้างออก เพราะในข้อกำหนดฉบับที่ 27 ขยายไปห้ามการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดจน "กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ" ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของผู้เขียนข้อกำหนดฉบับที่ 27 ที่ต้องการขยายขอบเขตของข้อห้ามออก และให้เอาผิดกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้หลากหลายมากขึ้น

 

3) ไม่ต้องตักเตือนให้แก้ไขก่อน ตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 หากเจ้าหน้าที่พบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นความผิด ให้เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าวก่อนได้ โดยไม่ต้องดำเนินคดี หรือหากเป็นกรณีที่มีผลกระทบรุนแรงจึงให้ดำเนินคดี ทั้งตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ข้อกำหนดฉบับที่ 27 ตัดเนื้อหาส่วนที่ให้เจ้าหน้าที่เตือนออก แม้ว่าข้อกำหนดฉบับที่ 27 จะตัดข้อความที่ให้ดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ออกด้วยแล้ว แต่การตัดสินใจดำเนินคดีตามกฎหมายใดก็เป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนอยู่แล้ว หากเห็นว่ากากระทำใดเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ด้วยก็ยังสามารถดำเนินคดีได้

 

๐ ทำความเข้าใจ ข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ที่นี่

 

ข้อมูลจากฐานข้อมูลของศาลอาญาภายใต้ข้อกำหนดฉบับที่ 1 ข้อ 6 มีคนถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ข้อความบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดมาแล้วหลายกรณี ตัวอย่างเช่น

 

กรณีที่ 1 จำเลยโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ตั้งค่าเป็นสาธารณะ เป็นข้อความทำนองว่า มีคำเตือนจากสำนักงานไปรษณีย์ ขอให้ผู้ได้รับจดหมายหรือพัสดุแยกใส่ถึงไว้ 24 ชั่วโมง ฉีดยาฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าบ้าน เพราะมีคนได้รับเชื้อโควิดแล้ว ซึ่งบริษัท ไปรษณีย์ไทย ยืนยันว่าเป็นข่าวปลอม ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะจากข้อความมีลักษณะเป็นคำเตือน ไม่ถึงขนาดก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนหรือทำให้เกิดความหวาดกลัว

 

กรณีที่ 2 จำเลยโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ตั้งค่าเป็นสาธารณะ เนื้อหาสรุปได้ว่ายาบ้าสามารถรักษาโรคโควิดได้ โดยกรมควบคุมโรคชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง คดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

 

กรณีที่ 3 จำเลยโพสต์ภาพและข้อความบนเฟซบุ๊ก เนื้อหาสรุปได้ว่า วันที่ 10 เมษายน 2563 จะมีประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ ให้เตรียมตุนอาหารน้ำดื่มให้เพียงพอ ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) และตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 จำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษครึ่งหนึ่ง ให้รอลงอาญา คุมประพฤติ และให้ทำกิจกรรมบริการสังคม

 

กรณีที่ 4 จำเลยโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ทำนองว่า อำเภอบางบัวทอง และบางใหญ่ จ.นนทบุรี มีผู้ติดเชื้อโควิดแล้วแต่มีการปิดข่าว ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) และตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 จำคุก 2 ปี ปรับ 30,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษครึ่งหนึ่ง ให้รอลงอาญา

 

เนื่องจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการโพสต์ "ข้อความอันเป็นเท็จ" ที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน เมื่อพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกนำมาใช้ควบคู่ไปกับข้อห้ามตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว จึงอาจเป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไปพร้อมๆ กันหรือเป็น "การกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท" ศาลจึงพิพากษาลงโทษตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพียงข้อหาเดียวในฐานะบทกฎหมายที่มีโทษหนักกว่า ไม่ได้ลงโทษตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 โดยตรง

 

แต่เมื่อข้อกำหนดฉบับที่ 27 ได้ขยายฐานความผิดให้กว้างออก รวมถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวที่ "เป็นความจริง" ด้วยแล้ว การโพสต์ข้อความที่เป็นความจริง ย่อมไม่ผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) แต่อาจผิดตามข้อกำหนดฉบับที่ 27 ได้

 

ชนิดบทความ: