1083 1033 1448 1882 1085 1840 1913 1331 1012 1168 1525 1140 1497 1591 1719 1910 1338 1526 1962 1930 1638 1855 1277 1572 1736 1847 1392 1547 1342 1460 1056 1864 1313 1179 1797 1320 1879 1987 1360 1446 1297 1356 1279 1579 1040 1683 1409 1491 1937 1997 1780 1169 1491 1815 1714 1947 1553 1701 1206 1453 1320 1344 1683 1452 1506 1354 1765 1945 1680 1107 1020 1405 1357 1404 1386 1811 1994 1436 1990 1297 1336 1782 1175 1357 1486 1248 1519 1078 1760 1441 1340 1853 1406 1010 1176 1892 1959 1614 1400 Reflection from Prison: ความในใจของเอ็กซ์ นักศึกษาที่ถูกคุมขังจากเหตุสลายการชุมนุมคณะราษฎรอีสาน 13 ตุลาคม 2563 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Reflection from Prison: ความในใจของเอ็กซ์ นักศึกษาที่ถูกคุมขังจากเหตุสลายการชุมนุมคณะราษฎรอีสาน 13 ตุลาคม 2563

"พอโดนล็อกคอผมก็โดนตำรวจกดลงพื้นไถผมไปกับพื้นและฉีกเสื้อผมถอดรองเท้าผม พอใกล้ถึงรถขังผู้ต้องหาตำรวจก็บอกกับผมว่าขึ้น ๆ ไปเถอะมันไม่มีอะไรหรอก แล้วก็ไม่แจ้งว่าพวกเราโดนข้อหาอะไร จับเพราะอะไร แล้วก็ไม่แจ้งว่าจะพาผมไปไหน "

เสียงจากเอ็กซ์ หนึ่งในผู้ถูกจับกุมวันที่ 13 ตุลาคม 2563
 
1581

เอ็กซ์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปี 2 ผู้ที่รับหน้าที่เป็นฝ่ายสถานที่ของกิจกรรมชุมนุมวันที่ 14 ตุลาคม 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนถึงวันนัดหมายชุมนุมเอ็กซ์และเพื่อนๆ ไปสังเกตการณ์ว่า จะตั้งเวทีตรงไหน และไปตั้งเต็นท์นอนเพื่อรอตั้งเวทีวันที่ 14 ระหว่างนั้นมีตำรวจมาบอกว่า ให้เอาเต็นท์ออกเพราะว่าจะมีขบวนเสด็จผ่านแล้วจะเป็นภาพทิวทัศน์ที่ไม่สวยงาม แต่ทีมงานไม่เอาเต็นท์ลง 
เอ็กซ์เล่า เหตุการณ์การสลายการชุมนุมในวันที่ 13 ตุลาคม 2563 ว่า เวลาประมาณ 15.00-16.00 น. มีตำรวจนครบาลใส่ชุดกันฝนสีส้มเข้ามาล้อมเต้นท์เอาไว้ ทีมงานจึงไปล้อมป้องกันรถเครื่องเสียงและเต้นท์จากตำรวจ ตอนที่มาสลายทีมงานมีประมาณ 30 -50 คน แต่ตำรวจมี 4 - 5 กองร้อย ประกอบด้วย ตำรวจภูธรชลบุรี และตำรวจสน.สำราญราฏที่คอยอยู่ด้านหลัง ในตอนสลายไม่รู้ว่าใครเป็นอะไรบ้าง แต่มีป้าคนนึงกำลังยืนร้องให้อยู่ เอ็กซ์จึงเข้าไปปกป้องป้าคนนั้นเอาไว้ หลังจากนั้นเอ็กซ์จึงโดนล็อกคอออกไป
 
"พอโดนล๊อกคอผมก็โดนตำรวจกดลงพื้นไถผมไปกับพื้นและฉีกเสื้อผมถอดรองเท้าผม พอใกล้ถึงรถขังผู้ต้องหาตำรวจก็บอกกับผมว่าขึ้น ๆ ไปเถอะมันไม่มีอะไรหรอก แล้วก็ไม่แจ้งว่าพวกเราโดนข้อหาอะไร จับเพราะอะไร แล้วก็ไม่แจ้งว่าจะพาผมไปไหน "

เมื่อขึ้นไปบนรถผู้ต้องขัง ก็เจอกับน้องฟ้า เอ็กซ์ได้เข้าไปปกป้องน้องเกรงว่าน้องจะขวัญเสียจากเหตุการณ์ที่เจอ ในระหว่างที่อยู่บนรถมีเจ้าหน้าที่ 6 นาย คุมตัวไปด้วย เอ็กซ์ได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายไลฟ์ แต่ตำรวจข่มขู่ว่า ให้เก็บโทรศัพท์ถ้ายังคงไลฟ์อยู่จะยึดโทรศัพท์มือถือ แต่เอ็กซ์ได้ส่งโทรศัพท์ไปไว้ด้านในรถให้ไกลจากมือเจ้าหน้าที่และไลฟ์ต่อไปเพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ระหว่างที่เขาและเพื่อนๆ กำลังถูกจับอยู่บนรถผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ที่คุมอยู่จึงไม่กล้าทำอะไรเพราะจะมีหลักฐานจากการไลฟ์ 

เมื่อไปถึง ตชด. เอ็กซ์จึงถูกล๊อกข้อมือด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ขนาดใหญ่ จากนั้น เจ้าหน้าที่นำตัวเอ็กซ์และเพื่อน ๆ รวม 21 คนไปกักตัวและเขียนประวัติ แต่เอ็กซ์ปฏิเสธการเขียนข้อมูลส่วนตัวเขาจึงเขียนแค่ชื่อนามสกุลอย่างเดียว  ตำรวจอนุญาตให้ติดต่อกับญาติได้ เอ็กซ์จึงบอกกับญาติว่า ตนเองโดนจับและกำลังถูกนำตัวส่งที่ตชด. ส่วนเรื่องการติดต่อทนายความเอ็กซ์กล่าวว่า ไผ่และณัฐพงษ์ได้ติดต่อไว้ตั้งแต่อยู่บนรถว่า ให้ไปเจอที่ตชด. เอ็กซ์รู้ข่าวว่า ทนายได้เตรียมตัวไปรอตั้งแต่ช่วงเย็น แต่กว่าทนายจะเข้าไปเยี่ยมได้ก็เลยเวลาเข้าไปถึง 23.00 น.
 
ที่สถานที่ควคุมตัว ตชด.ภาค1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เจ้าหน้าที่ได้ให้เอ็กซ์และเพื่อนรอที่ห้องประชุมเรือนจำ จากนั้นได้นำข้าวมาให้กินแต่เอ็กซ์และเพื่อนมีข้อแม้ว่าจะต้องถอดกุญแจมือออกก่อนกินข้าว แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องทำให้ทุกคนยังไม่ได้กินข้าว เอ็กซ์และเพื่อนพยายามที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขาไม่ได้กระทำความผิดอะไรขอให้ปลดเครื่องพันธนาการออกแต่ก็ไม่เป็นผล จนเวลาเลยเข้าไปถึง 23.00 ได้มี ส.ส.พิธาเข้ามาเยี่ยม จากนั้น ส.ส. จึงเจรจาให้นำทนายเข้ามายังห้องประชุม และมีการสอบสวนในเวลาประมาณ 02.00 - 03.00 

เช้าในวันนั้น ตำรวจบอกกับเอ็กซ์และเพื่อนว่า จะไปศาลตอนแปดโมงเช้า เอ็กซ์และเพื่อนได้ตื่นมารอตำรวจ แต่ตำรวจกลับพาเอ็กซ์ไปศาลตอนบ่ายโมง เมื่อถึงห้องเวรชี้มีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนพูดประมาณว่า ไม่อยากให้ทนายเข้าไปหา ทั้งที่ทนายได้มารอเอ็กซ์และเพื่อนนานแล้ว

"ตอนแรกผู้พิพากษาตัดสินให้พวกผมสามารถประกันตัวได้ แล้วมีโทรศัพท์โทรหาผู้พิพากษา ผู้พิพากษาเข้าไปรับโทรศัพท์กลับมาก็พูดเหมือนว่า พวกผมประกันตัวไม่ได้ ...ผมทำเรื่องประกันตัวก็ประกันไม่ได้ เขาไม่อยากให้ผมออกมาทำเรื่องวุ่นวายให้บ้านเมือง" 

หลังจากที่ไม่ได้ประกันตัวเอ็กซ์และเพื่อนได้ฝากโทรศัพท์และบัตรต่างๆ ให้กับทนายความ จากนั้นได้ขึ้นรถผู้ต้องขังเดินทางไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ พอมาถึงเรือนจำเอ็กซ์และเพื่อนก็ได้โดนกระทำเยี่ยงนักโทษ ตรวจร่างกาย ฝากเสื้อผ้า เมื่อทุกคนทำทุกอย่างเสร็จแล้วจึงได้เข้าไปในแดนกักตัวและได้ตรวจร่างกายว่า มีใครบาดเจ็บ เอ็กซ์บอกว่าการตรวจร่างกายควรทำตั้งแต่อยู่ในห้องประชุมที่ ตชด.ภาค1 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่เพิ่งมาตรวจที่เรือนจำ เมื่อตรวจร่างกายเสร็จจึงได้เดินเข้าห้องขังโดยมีอุปกรณ์ในการนอนสามชิ้น ได้แก่ หมอนหนุนแผ่นปูนอนผ้าห่มและมียาพาราให้คนละ 1 แผง
วันรุ่งขึ้นเอ็กซ์และเพื่อนโดนตัดผมให้เกรียนสามด้าน เมื่อไปอยู่ในห้องขังเอ็กซ์กับเพื่อนได้กินข้าวกับน้ำเปล่าทุกมื้อ ส่วนเรื่องห้องน้ำและสุขลักษณะโดยรวมนั้นลำบากมากเพราะเป็นห้องน้ำรวมที่ไม่มีสิ่งกั้นมิดชิด การล้างภาชนะต่างๆ ไม่มีอ่างล้างแยกแต่ทำกันไปโดยอาศัยที่แคบๆบนส้วมนั่งยอง

"จะมีบล๊อกอยู่หนึ่งบล๊อกที่เราใช้ทั้งอาบน้ำ-ล้างจาน-แปรงฟัน ทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับการใช้น้ำ ห้องผมมี 28 คน ในวันถัดไปคนที่มีคดีพยายามฆ่าถูกประกันตัวออก ส่วนพวกผมเป็นคดีการเมืองที่ไม่ได้ประกันตัว" 

การใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำไม่สามารถรับรู้ข่าวสารได้ มีเพียงข่าวพระราชสำนักและช่องหนัง mono29 เท่านั้น การเข้าเยี่ยมไม่สามารถทำได้เพราะเรือนจำอ้างว่า อยู่ในช่วงกักตัว ทั้งๆ ที่ห้องเยี่ยมมีกระจกหนากั้นอยู่ คนที่สามารถเยี่ยมได้มีเพียงแค่ทนายความเท่านั้น

"การมีคดีติดตัวคิดว่าไม่ส่งผลอะไรต่อการเคลื่อนไหวในอนาคต เพราะคิดว่าถ้าเราอยู่กับที่มันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยิ่งเรามีคดีติดตัวแล้วเราออกไปเคลื่อนไหวมันก็ยิ่งส่งผลให้ทุกคนออกมามากขึ้น อย่างตอนที่ผมออกมาก็มีเพื่อนๆ คอยจัดงานต้อนรับแล้วทุกคนก็มาร่วมงานกันเยอะมาก"

"ผมเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผมเล่นดนตรี ถ้าวันหนึ่งมีคนมาห้ามเล่นดนตรี เหมือนที่คนออกมาห้ามเล่นเพลง 1-2-3-4-5 I love you ของพี่แอมมี่ ถ้าวันหนึ่งมันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับผม ผมไม่สามารถจะไปทำอะไรได้เพราะผมเรียนดนตรีมาตั้งแต่ ปวช. ไม่มีความรู้ด้านอื่นเลย ก็เลยมาเคลื่อนไหวประเด็นส่วนตัว แต่สุดท้ายก็ได้มาเคลื่อนไหวในประเด็นของส่วนรวม ตอนแรกมาด้วยความไม่รู้กฎหมายแบบสุด ๆ เห็นแก่ตัวทำเรื่องของตัวเอง พอได้ออกมาแล้วก็มาทำเพื่อส่วนรวมเพื่อคนทั้งประเทศ"
 
----------
 
วันที่ 13 ตุลาคม นักกิจกรรมซึ่งส่วนหนึ่งเรียกตัวเองว่า "คณะราษฎรอีสาน" เดินทางมาตั้งเต็นท์เตรียมเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎรในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 หลังพวกเขาตั้งเต็นท์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่งแม็คโดนัลด์ราชดำเนินแล้วเสร็จและเริ่มตั้งเวทีปราศรัย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้กำลังเข้ารื้อเต็นท์และทำการจับกุมผู้ชุมนุมรวม 21 คน ไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 ปทุมธานี หนึ่งคืน 
 
ผู้ถูกจับกุมทั้ง 21 คน ถูกตั้งข้อกล่าวหารวม 10 ข้อกล่าวหา ได้แก่ 
 
ชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์, ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร, ร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, 358, 368, 385, 391 ตามลำดับ  
 
ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชุมนุมทำกิจกรรมในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค 
 
กระทำการซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายแพร่ระบาดออกไป ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6)
 
ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114
 
ร่วมกันขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี บนพื้นถนน, ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน ตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 12, 19 ตามลำดับ
 
ขณะที่จตุภัทร์หรือ ไผ่ ดาวดิน ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมอีกข้อหาหนึ่ง 
 
ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรนัดชุมนุมใหญ่ ผู้ต้องหา 19 คน ไม่รวมจตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นที่ถูกดำเนินคดีในศาลอาญาและผู้ต้องหาเยาวชนอีกหนึ่งคนที่ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชน ถูกนำตัวไปที่ศาลแขวงดุสิตเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนและไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้งหมดประกันตัวโดยอ้างเหตุว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์รุนแรงและต่อสู้กับเจ้าพนักงาน ผู้ต้องหาทั้ง 19 คนถูกฝากขังเป็นเวลา 6 วัน ก่อนจะได้รับการประกันตัวในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 เบื้องต้นศาลแขวงดุสิตไม่อนุญาตให้ผู็ต้องหาทั้ง 19 คน ประกันตัว แต่ทั้งหมดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมดในวันเดียวกัน 

----------


วันที่ 13 ตุลาคม นักกิจกรรมซึ่งส่วนหนึ่งเรียกตัวเองว่า "คณะราษฎรอีสาน" เดินทางมาตั้งเต็นท์เตรียมเข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ของคณะราษฎรในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 หลังพวกเขาตั้งเต็นท์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่งแม็คโดนัลด์ราชดำเนินแล้วเสร็จและเริ่มตั้งเวทีปราศรัย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้กำลังเข้ารื้อเต็นท์และทำการจับกุมผู้ชุมนุมรวม 21 คน ไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 ปทุมธานี หนึ่งคืน 

ผู้ถูกจับกุมทั้ง 21 คน ถูกตั้งข้อกล่าวหารวม 10 ข้อกล่าวหา ได้แก่ 

ชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันทําให้เสียทรัพย์, ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร, ร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, 358, 368, 385, 391 ตามลำดับ  

ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชุมนุมทำกิจกรรมในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค 

กระทำการซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายแพร่ระบาดออกไป ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6)

ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114

ร่วมกันขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี บนพื้นถนน, ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน ตามพ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 12, 19 ตามลำดับ

ขณะที่จตุภัทร์หรือ ไผ่ ดาวดิน ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมอีกข้อหาหนึ่ง 


ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะราษฎรนัดชุมนุมใหญ่ ผู้ต้องหา 19 คน ไม่รวมจตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นที่ถูกดำเนินคดีในศาลอาญาและผู้ต้องหาเยาวชนอีกหนึ่งคนที่ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชน ถูกนำตัวไปที่ศาลแขวงดุสิตเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนและไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้งหมดประกันตัวโดยอ้างเหตุว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์รุนแรงและต่อสู้กับเจ้าพนักงาน ผู้ต้องหาทั้ง 19 คนถูกฝากขังเป็นเวลา 6 วัน ก่อนจะได้รับการประกันตัวในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 เบื้องต้นศาลแขวงดุสิตไม่อนุญาตให้ผู็ต้องหาทั้ง 19 คน ประกันตัว แต่ทั้งหมดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมดในวันเดียวกัน