1600 1061 1678 1269 1857 1351 1154 1073 1955 1074 1379 1787 1997 1273 1253 1746 1084 1293 1725 1949 1960 1753 1307 1555 1942 1184 1278 1451 1613 1673 1927 1719 1226 1773 1574 1533 1021 1648 1111 1590 1833 1373 1745 1386 1549 1223 1477 1486 1955 1654 1980 1063 1473 1329 1915 1637 1694 1859 1835 1796 1303 1859 1962 1483 1602 1446 1324 1583 1220 1381 1832 1882 1028 1964 1985 1246 1778 1066 1449 1656 1688 1633 1611 1809 1129 1966 1208 1487 1586 1099 1209 1858 1451 1726 1474 1952 1484 1174 1801 รวมมาตรการตรวจเข้ม ผวา ‘บิ๊ก เซอร์ไพรส์’ รับปริญญา มธ.–คำถามระงมใครส่งข้อมูลให้ จนท. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รวมมาตรการตรวจเข้ม ผวา ‘บิ๊ก เซอร์ไพรส์’ รับปริญญา มธ.–คำถามระงมใครส่งข้อมูลให้ จนท.

งานรับปริญญาบัตรของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จบปีการศึกษา 2561 จัดขึ้นที่ท่าพระจันทร์ ระหว่าง วันที่ 30-31 ตุลาคม 2563 โดยในหลวงรัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางความร้อนแรงทางการเมืองซึ่งหนึ่งในข้อเรียกร้องระบุถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
 
กระแสการรณรงค์ไม่เข้ารับปริญญาเกิดขึ้นในช่วงการซ้อมใหญ่เมื่อสัปดาห์ก่อน จนกระทั่งเพจ ‘บัณฑิตธรรมศาสตร์ของราษฎร’ ประกาศท้าทายฝ่ายความมั่นคงโดยตรงว่าจะมี ‘บิ๊ก เซอร์ไพรส์’ ภายในงานแน่นอน
 
นั่นทำให้การรักษาความปลอดภัยเข้มงวดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์งานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
 
  • เจ้าหน้าที่มีทั้งในและนอกเครื่องแบบ โดยเฉพาะนอกเครื่องแบบนั้นมาจากหลายหน่วยงานกระจายตัวอยู่จำนวนมากภายในมหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบ รวมถึงมีเรือตรวจการณ์ในแม่น้ำเจ้าพระยาหลายลำ โดยที่เรือข้ามฟากยังเปิดบริการปกติ
  • มีจุดตรวจอยู่ที่ประตูท่าพระจันทร์และท่าพระอาทิตย์ซึ่งเป็น 2 ประตูที่มหาวิทยาลัยเปิดให้เข้าออก จุดตรวจยังปรากฏอยู่ที่สนามหลวงฝั่งศาลฎีกาและหน้า มธ.ด้วย โดยมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดหลายตัว
  • การตรวจบัตรประชาชน ณ จุดตรวจเป็นไปอย่างเข้มงวด ต้องนำบัตรสอดเข้าเครื่องแสกนของเจ้าหน้าที่ แต่ประตูท่าพระจันทร์นั้นหากเป็นบัณฑิตสามารถเดินเข้าไปได้เลยโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนแสกนบัตร
 
การตรวจบัตรประชาชนเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกตั้งคำถามเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหนักหน่วง จากการประมวลผลของผู้สังเกตการณ์ที่ลงพื้นที่ในหลายจุดทั้ง 2 วัน พอสรุปขั้นตอนได้ดังนี้  
 
1. จุดตรวจแทบจะไม่มีการตรวจกระเป๋า เน้นแต่การตรวจบัตรประชาชนเท่านั้น
 
2. ผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชนจะถูกแยกไปอีกแถวเพื่อใช้ใบขับขี่ หรือบอกเลขบัตรประชาชนกับเจ้าหน้าที่
 
3. เมื่อเจ้าหน้าที่นำบัตรประชาชนไปเข้าเครื่องแสกนของเจ้าหน้าที่ ข้อมูลจะปรากฏบนหน้าจอมือถือของเจ้าหน้าที่ หากหน้าจอไม่ปรากฏ ‘สีแดง’ จะได้รับสติ๊กเกอร์แล้วผ่านไปได้ด้วยความรวดเร็ว
 
4.หากหน้าจอแสดงผล ‘สีแดง’ จะถูกแยกไปอีกจุด มีการถ่ายภาพหน้าตรงของบุคคลดังกล่าวก่อนจะได้รับสติ๊กเกอร์แล้วผ่านไปได้ หน้าจอสีแดงดังกล่าวมีข้อความว่า “ตรวจสอบพบในฐานข้อมูล พบจากรหัสบัตร”
 
5. สติ๊กเกอร์แต่ละจุดจะมีสีต่างกันและมีตัวเลขประกอบ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ได้คำตอบว่า เป็นเพียงการแบ่งแยกเป็นชุดตามจุดต่างๆ และเรียงลำดับเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจนับจำนวน ไม่ใช่การแบ่งประเภทบุคคลแต่อย่างใด ไทยพีบีเอสระบุว่าสติ๊กเกอร์มีทั้งหมด 6 สีคือ เขียว / ฟ้า / แดง / เหลือง / น้ำตาล / ม่วง
 
6.ในวันแรกมีผู้แจ้งว่า หลังการตรวจบัตร เจ้าหน้าที่ยืนยันให้บัณฑิตออกมารับเพื่อยืนยันว่ามาแสดงความยินดีจริงๆ ไม่ได้มาทำกิจกรรมการเมือง เมื่อบุคคลดังกล่าวสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าชื่อของเขาถูกจับตาใช่หรือไม่ ตำรวจตอบว่า ใช่ พร้อมระบุว่า “มหาวิทยาลัยเป็นคนส่งชื่อมาให้” อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลกับฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไม่มีการส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
 
7. ผู้ที่ไม่ซ้อมรับปริญญาหลายราย พบว่าเมื่อแสกนบัตรแล้วจะขึ้นหน้าจอ ‘สีม่วง’ มีข้อความว่า “ตรวจสอบพบในฐานข้อมูล พบจากชื่อ นศ.ที่ไม่ร่วมซ้อมใหญ่รับปริญญา มธ.2563”
 
 
คนส่วนใหญ่อาจไม่มีปัญหา “จอแดง” แต่ก็มีหลายคนที่ประสบเหตุดังกล่าว เช่น อั๋ว จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ รวมถึงอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มธ.คนหนึ่งก็โพสต์ว่ามีปัญหาลักษณะนี้และน่าจะเป็นเพราะ “ไปเซ็นชื่อตามแถลงการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยหรือเสรีภาพการแสดงออกต่างๆ หรือเปล่าก็ไม่ทราบได้” เป็นต้น  อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นยืนยันได้ว่าแม้เป็นบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียงในทางสาธารณะก็มีโอกาส ‘จอแดง’ ได้เช่นกัน
 
สำหรับผู้ที่ขึ้นหน้าจอ ‘สีม่วง’ นั้นก็เป็นประเด็นสำคัญและนำมาสู่การออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการบัณฑิต มธ.ตั้งแต่คืนวันที่ 30 ต.ค.ระบุว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนมากจากนักศึกษาจึงขอสอบถามมหาวิทยาลัยถึงเหตุผลของการเปิดเผยข้อมูลการเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมซ้อมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร อันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่พึงกระทำได้ของบัณฑิต ให้แก่หน่วยงานภายนอก นอกจากนี้วันที่ 31 ต.ค.เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ก็ออกแถลงการณ์ให้มีมหาวิทยาลัยตอบให้ชัดเจนและดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลต่อผู้เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม จนเสร็จสิ้นพิธีมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
 
นอกจากนี้ความสับสนยังเกิดขึ้นอีกประการหนึ่ง เมื่อสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานข่าวอ้างรายงานของฝ่ายความมั่นคงว่า บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ไม่เข้ารับปริญญาทั้งคณะ จนมีบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง
 
ทั้งนี้ สื่อมวลชนยังอ้างข้อมูลฝ่ายความมั่นคงที่ระบุว่า มีนักศึกษา มธ.รับพระราชทานปริญญาบัตรราว 51% และนั่นไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะในทุกปีตัวเลขผู้เข้ารับปริญญาจะอยู่ที่ 50-54 % อยู่แล้ว
 
ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยรอบพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น มีการจัดกำลังดูแลจากกองทัพบก เช่น กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) เป็นต้น ส่วนพื้นที่ภายในได้จัดกำลังจากหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ขณะที่พื้นที่ทางน้ำเป็นหน้าที่ของกองทัพเรือดูแล
 
สำหรับประชาชนผู้สวมใส่เสื้อสีเหลืองเฝ้ารับเสด็จบริเวณหอประชุมใหญ่และหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นปรากฏว่ามีจำนวนพอสมควรในวันแรก ส่วนวันที่สองมีเพียงประปรายเนื่องจากฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงเย็น
 
สำหรับกิจกรรมบิ๊ก เซอร์ไพรส์ ของกลุ่มบัณฑิตธรรมศาสตร์ของราษฎร ปรากฏว่ามีการจัดกันเพียงช่วงสั้นๆ ของวันที่ 31 ต.ค.โดยเน้นให้บัณฑิตถ่ายรูปคู่แสตนดี้ปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ ‘เบอร์นาร์ด’ ชายสูงวัยขายถั่วอันเป็นสัญลักษณ์ของธรรมศาสตร์ไปแล้ว ส่วนที่เป็นไฮไลท์ที่สุดของกิจกรรมคือ การแจกคิวอาร์โคดให้ดูคลิป ‘คนแดนไกล’ ซึ่งก็คือ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ในลุคหญิงสาวใส่ขนตาปลอมยาวมาก คลิปดังกล่าวเป็นเพียงสั้นๆ แสดงความยินดีกับบัณฑิตซึ่งสำเร็จการศึกษาด้วยตนเองหาใช่เพราะคนอื่น รวมทั้งตั้งคำถามกับพิธีกรรมการรับปริญญาบัตร
ชนิดบทความ: