1105 1195 1536 1122 1612 1761 1551 1658 1938 1208 1713 1301 1446 1309 1483 1735 1308 1050 1960 1573 1925 1006 1083 1530 1536 1533 1492 1063 1757 1074 1186 1829 1740 1337 1050 1270 1243 1451 1941 1348 1720 1727 1716 1150 1161 1713 1033 1842 1420 1473 1088 1445 1019 1660 1878 1437 1889 1810 1954 1076 1184 1462 1331 1993 1483 1221 1207 1905 1562 1186 1572 1036 1788 1064 1807 1856 1931 1209 1622 1012 1667 1678 1900 1101 1146 1901 1912 1178 1784 1441 1384 1582 1615 1576 1994 1342 1823 1534 1602 ช่อ พรรณิการ์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาท 2 คดี กรณีปมหุ้นสื่อ 'เดียร์ วทันยา' | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ช่อ พรรณิการ์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาท 2 คดี กรณีปมหุ้นสื่อ 'เดียร์ วทันยา'

จากเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เนื่องจากถือครองหุ้นสื่อบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562
 
หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องจากคดีดังกล่าวเกิดขึ้นถึงสองกรณี เนื่องจาก พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ถูก วทันยา วงษ์โอภาสี หรือที่รู้จักในนาม ”มาดามเดียร์” ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ฟ้องในคดีหมิ่นประมาท จากการแถลงข่าวว่า วทันยา ก็ถือหุ้นสื่อเช่นเดียวกับธนาธร และอีกกรณีบริษัท เนชั่น  บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) (เครือเนชั่น) ก็ได้ฟ้องพรรณิการ์ เนื่องจากการแถลงเรื่องการถือหุ้นสื่อที่พาดพิง วทันยา มีบางตอนพาดพิงถึงเครือเนชั่นด้วย
 
ไอลอว์จึงอยากชวนทุกคนมาดูข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้
 
สิ้นความเป็น สส. ธนาธรถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์เพราะหุ้นวีลัค
 
20 พฤศจิกายน 2562 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ้นจากการเป็น ส.ส. จากการเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ตามที่ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า เป็นการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) ประกอบมาตรา 98(3) ที่ห้าม "เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ" เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง
 
ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า แม้บริษัทวีลัคจะไม่ได้ทำกิจการสื่อนิตยสารสื่อแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทถือว่ายังเป็นบริษัทที่ทำกิจการสื่ออยู่ อีกทั้ง การโอนหุ้นพบข้อผิดสังเกตจากการทำเอกสารโอนหุ้น (แบบ บอจ.5) และการขึ้นเงินเช็คที่ล่าช้า โดยก่อนหน้านี้ธนาธรชี้แจงต่อศาลว่า "ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงิน" และดำเนินการตามปกติ ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงเชื่อว่า ธนาธรยังถือหุ้นบริษัทวีลัคฯ อยู่ในวันที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นสมัคร สส.บัญชีรายชื่อ ถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้าม "สมาชิกภาพ สส.สิ้นสุดลง"
 
พรรณิการ์ ร้อง กกต. เอาผิดวทันยา กรณีหุ้นสื่อเหมือนธนาธร
 
22 พฤศจิกายน 2562 พรรณิการ์แถลงข่าวว่า มอบหมายให้ทนายความไปยื่นข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรียบร้อยแล้ว เพื่อต้องการให้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับคดีของธนาธรในการตรวจสอบเรื่องนี้ เพื่อเอาผิดต่อ วทันยา เพราะมีหลักฐานเป็นผู้ขาดคุณสมบัติการลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากถือครองหุ้นสื่อ โดยยึดตาม บมจ.6 และยังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญระงับการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. รวมถึงขอให้ กกต. ดำเนินการทางอาญาตามมาตรา 151 ต่อวทันยาด้วย ซึ่งโทษสูงสุดคือจำคุก 10 ปี หรือตัดสิทธิทางการเมือง 20 ปีเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน และเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะว่าคดีถือหุ้นสื่อได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างนักการเมืองฝ่ายค้าน และรัฐบาล รวมถึงเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญได้รับการตอบสนองโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นนักการเมืองฝ่ายผู้มีอำนาจหรือฝ่ายท้าทายผู้มีอำนาจ
 
ก่อนหน้านั้น 18 พฤศจิกายน 2562 พรรณิการ์ แถลงข่าวที่พรรคอนาคตใหม่ถึงประเด็น นักการเมืองใช้สื่อเป็นเครื่องมือ กรณีเครือเนชั่น และการขยายผลกรณีเฟกนิวส์ว่า หลายเดือนที่ผ่านมาการเมืองไทยในประเด็นเจ้าของสื่อของนักการเมือง ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ห้ามไม่ให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งถือครองหุ้นสื่อ เพื่อใช้ให้เป็นคุณแก่ตัวเองและใช้เป็นโทษแก่คนอื่น แต่ในไทยมีนักการเมืองเกี่ยวข้องกับเจ้าของสื่อ แต่ไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้คือ กรณีของ วทันยา ซึ่งได้ลาออกจากผู้บริหารเครือเนชั่น ก่อนให้ฉาย บุนนาค ผู้เป็นสามีดำรงตำแหน่งผู้บริหารแทน จึงเกิดคำถามว่าขณะที่การถือหุ้นสื่อ ของ ส.ส.หลายสิบคน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งที่ปัญหาเกิดจากใบบริคนห์สนธิ บางกรณีนักการเมืองแสดงหลักฐานทุกอย่างแล้วว่าโอนหุ้นก่อน แต่ยังมีคดี แต่กรณีของวทันยา กฎหมายไม่สามารถทำอะไรได้ และเครือเนชั่น แสดงให้เห็นชัดเจนว่าทำการอันเป็นคุณแก่บางพรรค และเป็นโทษแก่บางพรรคอย่างเป็นระบบ
 
วทันยารุกกลับ ! ฟ้อง พรรณิการ์ คดีแถลงข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง
 
21 พฤศจิกายน 2562 วทันยา แถลงข่าวว่า ให้ทนายความฟ้องร้อง พรรณิการ์ ต่อศาลอาญา ในคดีหมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เพื่อปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของตน และคู่สมรส เนื่องจากโฆษกพรรคอนาคตใหม่ บิดเบือนข้อเท็จจริง ทำให้ตนกับคู่สมรสเสียหาย
 
วทันยา กล่าวว่า ไม่เคยดำรงตำแหน่งใดๆ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด(มหาชน) ตามที่พรรณิการ์ แถลงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตนและคู่สมรสไม่ได้เป็นเจ้าของ และเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อใดๆ ตั้งแต่ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. ดังนั้น ไม่ว่าจะตีความ คู่สมรสทั้งนิตินัยหรือพฤตินัย ตนทำถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ
 
และกล่าวปิดท้ายว่า คดีนี้ไม่ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงิน แต่เพื่อปกป้องศักดิ์ศรี โดยศาลรับคำฟ้องไว้ไต่สวนมูลฟ้อง และนัดไต่สวนครั้งแรกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
 
อีกคดี! เนชั่น ฟ้อง พรรณิการ์ พาดพิงเครือเนชั่นทำข่าวปลอม
 
27 พฤศจิกายน 2562 เนชั่นสุดสัปดาห์ ได้เผยแพร่เอกสารคำฟ้องที่ได้ ยื่นฟ้อง พรรณิการ์    ในฐานความผิดฐาน หมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทด้วยโฆษณา ต่อศาลอาญา
การฟ้องดังกล่าว สืบเนื่องจาก พรรณิการ์ แถลง ที่พรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 มีเนื้อหาพาดพิงเนชั่น
 
คำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 พรรณิการ์ จัดแถลงข่าวในที่ทำการพรรคอนาคตใหม่ ต่อหน้าสื่อมวลชน พูดพาดพิงถึงเนชั่น ว่ากระทำการอันเป็นคุณต่อพรรคการเมืองบางพรรค และเป็นโทษแก่นักการเมืองบางพรรค อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนมาจนหลังเลือกตั้งจนถึงปัจจุบัน และได้กล่าวถึงบริษัทในเครือเนชั่นว่ามีบริษัทใดบ้าง หรือเกี่ยวข้องกับใครบ้าง และการเสนอข่าวโจมตีพรรคอนาคตใหม่ และการมีข่าวปลอมของเนชั่นไม่เคยมีภาครัฐเข้ามาตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งการแถลงข่าวของพรรณิการ์ ทำให้เครือเนชั่น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท  และถือเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เนื่องจากมีสื่อมวลชนอื่นๆ เผยแพร่ข้อความดังกล่าวสู่สาธารณะด้วย และในคำฟ้องกล่าวว่า คำกล่าวทั้งหมดของพรรณิการ์เป็นความเท็จทั้งหมด โดยศาลอาญานัดไต่สวนวันที่ 2 มีนาคม 2563