1116 1052 1543 1616 1994 1498 1316 1936 1581 1518 1582 1029 1652 1335 1108 1942 1641 1245 1703 1928 1136 1950 1455 1707 1458 1162 1233 1829 1925 1873 1787 1259 1809 1610 1365 1207 1963 1955 1042 1454 1887 1541 1809 1005 1534 1767 1693 1748 1530 1011 1896 1397 1376 1276 1013 1920 1347 1019 1832 1889 1904 1686 1681 1096 1792 1106 1327 1544 1856 1122 1550 1769 1504 1052 1814 1700 1597 1314 1820 1489 1519 1298 1098 1551 1662 1823 1716 1108 1380 1555 1101 1912 1641 1976 1636 1072 1060 1001 1213 ศาลรัฐธรรมนูญออกข้อกำหนด "ห้ามวิจารณ์ศาล" มีผลบังคับใช้ 17 ตุลาคม 2562 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลรัฐธรรมนูญออกข้อกำหนด "ห้ามวิจารณ์ศาล" มีผลบังคับใช้ 17 ตุลาคม 2562

17 กันยายน 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 โดยมีจุดน่าสนใจอยู่ที่ข้อที่ 10 ในข้อกำหนดดังกล่าว ที่นำบัญญัติเรื่องการ "ห้ามวิจารณ์ศาลโดยไม่สุจริต" มาบรรจุไว้ และข้อกำหนดฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 
 
1177
 
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศของศาล โดยการออกข้อกำหนดหรือระเบียบดังกล่าวให้เป็นไปตามมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดศาลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีได้แต่ข้อกำหนดที่ออกมาจะต้องไม่ขัดกับพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ
 
ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้บุคคลที่เข้ามาในที่ทำการศาล หรือเข้าฟังการไต่ส่วนของศาลต้องประพฤติตัวตามที่ศาลกำหนด มิเช่นนั้นจะถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล อย่างเช่น
 
ข้อ 8 (2) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือส่งเสียงรบกวนหรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการรบกวนการพิจารณาคดีของศาลหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล และห้ามกีดขวางทางเข้าออกศาล 
 
ข้อ 8 (3) ห้ามประพฤติตนในทางก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อย หรือก่อความรำคาญ หรือกระทำการในลักษณะยุยงส่งเสริมการกระทำข้างต้น ในการพิจารณาคดีหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล
 
ข้อ 8 (7) ห้ามแถลง ชี้แจง แจกจ่ายเผยแพร่ ให้สัมภาษณ์หรือพูดออกอากาศในบริเวณศาล ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาคดี โดยไม่ได้รับอนุญาต
 
โดยข้อกำหนดข้อที่ 9 ระบุว่า ศาลอาจออกคำสั่งให้บุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดกระทำการหรืองดเว้นการกระทำเพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว 
 
นอกจากนี้ ในข้อที่ 10 ยังกำหนดให้ "ห้ามบิดเบือน" ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามคำสั่งศาล หรือวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาล โดยไม่สุจริตหรือใช้ถ้อยคำ หรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี ปลุกปั่น ยุยง หรืออาฆาตมาดร้าย
 
ซึ่งข้อกำหนดในข้อที่ 10 มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกับมาตรา 38 วรรคสาม ของพ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในกฎหมายระบุไว้ด้วยว่า "การวิจารณ์คําสั่งหรือคําวินิจฉัยคดีที่กระทําโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคําหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล" มาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่ตัวเองถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ  
 
    
 
 
 
 
 
 

ดูพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561  

ชนิดบทความ: