1550 1542 1860 1479 1206 1425 1083 1497 1010 1101 1407 1288 1566 1746 1631 1376 1217 1827 1958 1205 1060 1902 1561 1035 1315 1156 1077 1267 1195 1032 1979 1006 1327 1274 1138 1448 1109 1343 1749 1243 1515 1786 1844 1236 1065 1866 1677 1240 1705 1290 1994 1042 1088 1775 1765 1902 1417 1873 1741 1300 1377 1851 1037 1058 1605 1586 1086 1702 1015 1012 1494 1058 1602 1171 1039 1148 1636 1470 1090 1415 1878 1294 1631 1139 1473 1425 1066 1878 1415 1010 1520 1871 1158 1830 1869 1945 1247 1711 1235 "อ๊อด ไชยวงศ์" ชาวลาวหายตัวใน กทม. นักเคลื่อนไหวจากเพื่อนบ้านถูกจับในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

"อ๊อด ไชยวงศ์" ชาวลาวหายตัวใน กทม. นักเคลื่อนไหวจากเพื่อนบ้านถูกจับในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

 

อ๊อด ไชยวงศ์ อายุ 34 ปี นักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยชาวลาวถูกพบเห็นครั้งล่าสุดเมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 26 สิงหาคม 2562 หรือสองสัปดาห์ที่ผ่านมาที่บ้านพักย่านบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ซึ่งเขาเข้ามาอยู่อาศัยชั่วคราวระหว่างรอลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม ในปี 2017 อ๊อดถูกลงทะเบียนเป็นบุคคลในความห่วงใย (person of concern) โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เนื่องด้วยกิจกรรมของเขาที่เกี่ยวข้องกับประเทศลาว ซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ พรรคเดี่ยวที่มีน้ำอดน้ำทนน้อยต่อแนวคิดที่แตกต่าง

 

1168


อ้างอิงจากรายงานของสมาพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ระบุว่า ที่ผ่านมาอ๊อดได้รณรงค์เรื่องประชาธิปไตยและการผลักดันสิทธิแรงงานข้ามชาติจากลาว และเป็นสมาชิกของกลุ่ม “Free Lao” กลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของแรงงานอพยพและนักเคลื่อนไหวชาวลาวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศลาว ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม 2562 อ๊อดได้โพสต์ภาพตนเองกำลังยืนที่หน้าสำนักงานใหญ่สหประชาชาติที่กรุงเทพฯ สวมใส่เสื้อยืดสีขาว ประดับด้วยธงชาติรูปช้างสีขาวสามเศียรของประเทศลาวซึ่งใช้ในปี 2495 จนถึงปี 2518  รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวได้ประกาศยกเลิกการใช้ธงนี้ไปแล้วและการปรากฏของธงก็มักจะสร้างความไม่พอใจต่อทางการลาว ในปี 2560 ศาลลาวได้พิพากษาจำคุกบุคคลสามคนจากการชูธงชาติรูปช้างสีขาวสามเศียรระหว่างการชุมนุมที่หน้าสถานทูตลาวประจำประเทศไทยในวันที่ 2 ธันวาคม 2558


ด้านขบวนการลาวเพื่อสิทธิมนุษยชน(LMHR) ระบุว่า อ๊อดอาจจะเป็นผู้เสียหายรายล่าสุด ที่เกิดจากความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาค เพื่อที่จะปราบปรามผู้คัดค้านรัฐบาลที่หลบหนีไปยันประเทศอื่น ประชาคมนานาชาติต้องช่วยกันประณามความร่วมมือในการปราบปรามครั้งนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การริดรอนพื้นที่ของภาคประชาสังคมในภูมิภาค
 

 

นอกจากนี้สมาชิกของกลุ่มที่รณรงค์ร่วมกับอ๊อดยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า เขาถูกจับตามองและคุกคามจากทั้งเจ้าหน้าที่ไทยและลาว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของสถานีตำรวจท้องที่ที่พักของอ๊อดกล่าวว่า ไม่มีผู้ลี้ภัยถูกจับกุมในเดือนที่ผ่านมา ด้านพลโทคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมปฏิเสธความรับรู้กรณีของอ๊อด และระบุเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยไม่ได้มีนโยบายปราบปรามผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศอื่นๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านถูกกล่าวหาว่า กวาดล้างกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมือง
 

 

ไทม์ไลน์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งถูกส่งหรือหายตัวไปจากประเทศไทย

ชาวอุยกูร์อย่างน้อย 90 คน
 

9 กรกฎาคม 2558 รอยเตอร์รายงานว่า ไทยบังคับส่งกลับชาวอุยกูร์อย่างน้อย 90 คนไปยังประเทศจีน โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างเป็นกังวลว่า พวกเขาเหล่านี้จะต้องเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือการซ้อมทรมาน มีการคาดการณ์ว่า ชาวอุยกูร์หลายร้อยคนหรืออาจจะมากถึงหลายพันคนได้หนีออกจากมณฑลซินเจียงของประเทศจีน พื้นที่ดังกล่าวรัฐบาลจีนได้ปราบปรามชาวอุยกูร์อย่างหนัก จำนวนมากต่างเลือกเดินทางผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อไปยังประเทศตุรกี ที่มีความคล้ายคลึงกันด้านวัฒนธรรมมากกว่า


รัฐบาลไทยให้เหตุผลของการส่งกลับว่า ได้ผ่านการตรวจพิสูจน์สัญชาติจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลุ่มที่ตรวจสอบมี 170 คนที่ระบุว่า มีสัญชาติตุรกีได้ส่งกลับประเทศตุรกี ส่วนที่ตรวจพิสูจน์แล้วว่า มีสัญชาติจีนได้ส่งกลับประเทศจีน ซึ่งคือ จำนวนประมาณ 100 คนที่ส่งกลับไปรอบนี้ เหลือประมาณ 50 คนที่รอการตรวจพิสูจน์สัญชาติ
 

กุ้ย หมิ่นไห่ คนขายหนังสือในฮ่องกง
 

17 ตุลาคม 2558 กุ้ย หมิ่นไห่ คนขายหนังสือร้านหนังสืออิสระคอสเวย์ เบย์ บุกส์ สัญชาติสวีเดนหายตัวไปหลังจากออกจากห้องพักที่พัทยา ประเทศไทย หลังจากนั้นมีข้อมูลว่า เขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ประเทศจีนโดยปราศจากความช่วยเหลือจากทนายความและการเข้าถึงของเจ้าหน้าที่ทูต ต่อมาเดือนมกราคม 2559 ทางการจีนได้ยอมรับว่า มีการควบคุมตัวกุ้ย หมิ่นไห่ไว้หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี สื่อในความควบคุมของจีนเผยแพร่ภาพการบังคับสารภาพความผิดเรื่องการขับรถชนจนมีผู้เสียชีวิตในปี 2546 และเขาได้กลับประเทศจีนและมอบตัวอย่างสมัครใจ แต่ทางการจีนไม่ได้เปิดเผยข้อมูลแหล่งที่อยู่ของกุ้ย หมิ่นไห่ให้ครอบครัวหรือสถานทูตสวีเดนแต่อย่างใด
 

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2558 เพื่อนร่วมงานที่ร้านหนังสืออิสระของเขาถูกอุ้มหายไปอีกสี่คน แต่ทั้งหมดถูกปล่อยตัวครบในเดือนมิถุนายน 2559 ต่อมากุ้ย หมิ่นไห่ถูกปล่อยตัวในเดือนตุลาคม 2560 หลังจากรับโทษครบสองปีจากกรณีความผิดขับรถยนต์ชนจนมีผู้เสียชีวิต โดยไม่มีการไต่สวน ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2561 ระหว่างการเดินทางไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยรถไฟ กุ้ย หมิ่นไห่ถูกควบคุมตัวอีกครั้ง รอบนี้ทางการจีนกล่าวหาว่า เขาประกอบธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย, ค้าความลับของชาติและใช้เวลากับทูตต่างชาติอย่างผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ กุ้ย หมิ่นไห่ป็นที่รู้จักในฐานะผู้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีน

 

สัม สุขา ปารองเท้าใส่ภาพฮุน เซน
 

8 กุมภาพันธ์ 2561 ทางการไทยส่งตัวสัม สุขา ผู้ลี้ภัยทางการเมืองกลับกัมพูชา ในเดือนเมษายน 2560 เธอโพสต์วิดีโอบนเฟซบุ๊ก เป็นภาพที่สัมปารองเท้าแตะไปที่ภาพของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีและเฮง สัมริน ประธานสภา ต่อมาในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน เธอถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นเจ้าพนักงานและยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยก จากนั้นสัมจึงหนีเข้ามายังประเทศไทยและถูกควบคุมตัวในต้นเดือนมกราคมจากการพำนักเกินเวลาที่กำหนดและอยู่ในศูนย์ตรวจคนเข้าเมือง สวนพลูมมาตลอด และระหว่างนั้นมีรายงานจากแอมนาสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกัมพูชาได้เข้าพบสัมเพื่อกดดันให้เธอกลับกัมพูชา
 

คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุกสองปีและปรับห้าล้านเรียลหรือ 37,000 บาท ต่อมาสัมขออุทธรณ์ เหตุที่ต้องอุทธรณ์เพราะมองว่า ศาลชั้นต้นวางโทษมาสูงเกินไป ศาลอุทธรณ์กัมพูชาตัดสินว่า มีความผิดและสั่งจำคุกสองปี ในระหว่างชั้นอุทธรณ์สัมบอกต่อศาลว่า ตอนนี้เธอเข้าใจแล้วว่า การกระทำของเธอผิด แต่ตอนนั้นเธอไม่รู้เลยว่า การกระทำเช่นนั้นมันจะผิดกฎหมายและขอให้ศาลลดโทษให้ พร้อมกันนั้นยังได้ขอโทษฮุน เซน นายกรัฐมนตรีด้วย
 

รวต มุนี สารคดีโสเภณีเด็ก
 

12 ธันวาคม 2561 รวต มุนี ถูกจับกุมที่ประเทศไทยและส่งกลับประเทศตามหมายจับของรัฐบาลกัมพูชา ในความผิดฐานยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในกัมพูชาเนื่องจากมุนีร่วมผลิตสารคดีชื่อ "แม่ขายหนู" เป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงยากจนที่ถูกขายเพื่อค้าประเวณี เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2561
 

ทางด้านฮิวแมนไรท์ วอทช์ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลไทยส่งมุนีกลับ เนื่องจากมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า เขาอาจถูกฟ้องคดีด้วยเหตุผลทางการเมือง ถูกควบคุมตัวอย่างมิชอบหรือถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายในกัมพูชา อีกทั้งยังมีนักกิจกรรมแรงงานถูกส่งกลับกัมพูชาถึงแม้ว่า จะได้สถานะลี้ภัยจากสหประชาชาติแล้วก็ตาม
 

เจือง ซุย เยิด บล็อกเกอร์เรดิโอ ฟรี เอเชีย
 

26 มกราคม 2562 เจือง ซุย เยิด บล็อกเกอร์เรดิโอ ฟรี เอเชียที่ทำงานเผยแพร่ข่าวในประเทศที่ขาดแคลนเสรีภาพสื่ออย่างเวียดนาม หายตัวไปจากห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้เพียงวันเดียวเขาได้สมัครเพื่อมีสถานะผู้ลี้ภัยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ผู้ให้ข้อมูลไม่ระบุชื่อเปิดเผยว่า เยิดถูกจับกุมในตอนที่เขาเข้าไปในร้านไอศครีมในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อนร่วมงานของเขาคาดการณ์ว่า การลักพาตัวครั้งนี้กระทำโดยเจ้าหน้าที่เวียดนามที่ทำงานร่วมกับตำรวจของไทย โดยคุมตัวผ่านชายแดนไทยกัมพูชาและเข้าไปที่เวียดนาม
 

ต่อมาในเดือนมีนาคม 2562 มีรายงานว่า เยิดถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำในประเทศเวียดนาม เจ้าหน้าที่เรือนจำแจ้งต่อภรรยาของเขาว่า เขาถูกจับกุมที่เวียดนามเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 และไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม ก่อนหน้านี้ในปี 2557 เยิดถูกจำคุกสองปีจากโพสต์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก่อนจะถูกลักพาตัวเขาได้โพสต์บทความในบล็อกสุดท้ายเกี่ยวกับโอกาสของการเปลี่ยนแปลงในเวียดนาม ท่ามกลางกระแสการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเวเนซูเอล่าครั้งใหญ่
 

หลังเยิดถูกลักพาตัวกลับเวียดนาม บั่ค ฮ่ง เฮวี่ยน ผู้ลี้ภัยทางการเมืองอีกคนตกอยู่ในความหวาดกลัว เนื่องจากเขาเป็นผู้ช่วย เยิดในการยื่นขอเป็นผู้ลี้ภัยในกรุงเทพฯ จนกระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เฮวี่ยน พร้อมบุตรชายวัยหกเดือนได้เดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศแคนาดาภายใต้โครงการผู้ลี้ภัยที่ให้เงินสนับสนุนโดยรัฐบาลแคนาดา ก่อนหน้าจะออกเดินทาง  เฮวี่ยนต้องอยู่ในห้องกักขัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองราวสัปดาห์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางการไทย ระหว่างนั้นมีรายงานว่า ตัวแทนของเวียดนามเข้ามาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองด้วย เฮวี่ยนถูกออกหมายจับหลังจากเขาจัดการชุมนุมครบรอบการรั่วไหลของขยะพิษในพื้นที่ชายฝั่งทางตอนกลางของเวียดนามในปี 2559
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

อ้างอิง
https://www.fidh.org/ไทย/24728
https://www.theguardian.com/world/2019/sep/07/thai-government-pressed-ov...
https://news.yahoo.com/laos-activist-feared-missing-thailand-rights-grou...
https://freeguiminhai.org/
https://www.theguardian.com/world/2019/feb/05/truong-duy-nhat-vietnam-bl...
https://www.reuters.com/article/us-thailand-uighurs-china/thailand-sends...
https://www.rfa.org/english/news/vietnam/canada-05022019172237.html
https://www.phnompenhpost.com/national/shoe-thrower-sam-sokha-deported-t...
https://www.phnompenhpost.com/national/appeal-court-hears-shoe-thrower-s...

ชนิดบทความ: