1779 1780 1048 1097 1576 1156 1138 1106 1005 1338 1403 1793 1753 1071 1774 1801 1069 1408 1066 1030 1528 1689 1956 1028 1258 1504 1114 1183 1378 1928 1128 1704 1309 1316 1618 1017 1534 1813 1501 1451 1207 1420 1251 1190 1859 1782 1847 1185 1597 1531 1849 1361 1255 1873 1014 1515 1278 1544 1538 1159 1852 1384 1426 1854 1071 1238 1934 1303 1772 1945 1499 1007 1393 1306 1285 1329 1406 1835 1283 1856 1073 1276 1692 1196 1754 1250 1600 1029 1810 1926 1802 1230 1968 1040 1753 1607 1990 1834 1461 Change.NCPO โตโต้ -ปิยรัฐ จากผู้ต้องหาคดีฉีกบัตรประชามติสู่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Change.NCPO โตโต้ -ปิยรัฐ จากผู้ต้องหาคดีฉีกบัตรประชามติสู่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่

สำหรับผมการถูกดำเนินคดีครั้งนั้นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตัดสินใจเข้ามาเล่นการเมืองในระบบ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. 
 
ก่อนที่จะถูกดำเนินคดี(พ.ร.บ.ประชามติ) ผมรู้สึกว่าผมไม่พอใจร่างรัฐธรรมนูญ (ที่ต่อมาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ 2560) ผมก็เลยไปแสดงออกในฐานะปัจเจกชนคนหนึ่ง ครั้งนั้นการแสดงออกของผมไม่มีพันธะผูกพันกับใคร อย่างมากก็แค่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง ผมก็เลยเลือกแสดงออกด้วยการฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ (รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ)
 
ตอนที่ถูกดำเนินคดีและต้องขึ้นศาลผมเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นแค่มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง แต่ระหว่างทางที่สู้คดีผมเริ่มรู้สึกว่าการต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่งมันยากที่จะสำเร็จ เพราะเสียงคนธรรมดาบางครั้งอาจจะเบาเกินไปสำหรับผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการแสดงออกของคนคนเดียวอย่างกรณีของผม
 
แม้จะต้องเสียเวลาไปกับการต่อสู้คดีแต่มันก็ทำให้ผมตกผลึกว่าเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดความสำเร็จ ผมจะต้องเข้ามาต่อสู้ทางการเมืองตามระบบ ในรัฐสภา ผ่านการเป็นส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยมติมหาชน เมื่อมีการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายและอุดมการณ์ที่ตรงกัน ผมก็ตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเต็มตัว
 
การตัดสินใจทำงานการเมืองทำให้ผมมีโอกาสกลับบ้านที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ผมเริ่มต้นการเป็นผู้สมัครส.ส.ด้วยการผ่านกระบวนการคัดเลือกภายในพรรค (Primary Vote) เพื่อเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งที่เขต 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อผ่านการคัดเลือกภายในพรรคก็เริ่มลงพื้นที่หาเสียงแบบเต็มตัวในสนามเลือกตั้งใหญ่ 
 
เมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งปรากฎว่าผมมีคะแนนเป็นอันดับสามในเขตของตัวเอง แม้จะไม่ชนะแต่ก็ไม่ถือว่าแย่สำหรับการลงเลือกตั้งครั้งแรกเพราะอย่างน้อยผมก็ได้รับเสียงสนุนประมาณ 20000 คะแนน ส่วนคนที่เป็นส.ส.เขตผมได้ไป ประมาณ 35000 คะแนน หลังการเลือกตั้งผมก็ทำงานให้พรรคอนาคตใหม่อย่างเต็มตัวในฐานะเจ้าหน้าที่เครือข่าย ประสานงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
 
การเข้ามาทำงานการเมืองในระบบ มีพรรคสังกัดทำให้ผมต้องทบทวนแนวทางการต่อสู้ของตัวเอง จากเดิมที่เคลื่อนไหวในฐานะปัจเจกชนผมก็แค่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง แต่พอสถานการณ์เปลี่ยนไป ผมเข้ามาสู้ในระบบ มีพรรค มีองค์กรที่สังกัด การกระทำหรือการต่อสู้ของผมมันก็ไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบแต่จะมีคนรอบข้างหรือองค์กรที่ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย จึงต้องเพิ่มความระมัดระวัง ผมเชื่อว่าท้ายที่สุดการต่อสู้เรื่องการแก้กฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ ก็คงต้องจบลงที่กลไกของรัฐสภาไม่ว่าเราจะมองว่าปลายทางมันจะดูริบหรี่แค่ไหนก็ตาม
 
1162
 
ปิยรัฐ จงเทพ หรือ โตโต้ ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานทำลายบัตรประชามติโดยไม่มีอำนาจตามมาตรา 59 ความผิดฐานร่วมกันก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติตามพ.ร.บ.ประชามติมาตรา 60 (9) และความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 กับข้อหาทำลายทรัพย์สินที่ผู้อื่นร่วมเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 
 
ปิยรัฐถูกดำเนินคดีจากกรณีที่เขาฉีกบัตรลงคะแนนประชามติที่หน่วยออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัดที่สำนักงานเขตบางนาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยมีจิรวัฒน์และทรงธรรม เพื่อนของเขาอีกสองคนที่ถูกดำเนิคดีร่วมกับเขาในข้อหา ร่วมกันก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติด้วยจากกรณีที่ทั้งสองใช้โทรศัพท์บันทึกคลิปเหตุการณ์ขณะที่ปิยรัฐตะโกน "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" พร้อมฉีกบัตรประชามติระหว่างอยู่ในหน่วยออกเสียงเผยแพร่ทางยูทูป
 
ในเดือนกันยายน 2560 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าปิยรัฐมีความผิดฐานฉีกบัตรตามพ.ร.บ.ประชามติฯ และความผิดฐานทำลายทรัพย์สินที่ผู้อื่นร่วมเป็นเจ้าของแต่ยกฟ้องเขาในความผิดฐานร่วมกันก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติเพราะเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้มีเหตุวุ่นวายใดๆเกิดขึ้นและการออกเสียงในหน่วยยังคงดำเนินไปตามปกติ จิรวัฒน์และทรงธรรมก็ได้รับการยกฟ้องในข้อหานี้ด้วยเช่นกัน 
 
ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2561 ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นพิพากษาว่าปิยรัฐ จิรวัฒน์และทรงธรรม จำเลยทั้งสามในคดีนี้มีความผิดฐานก่อความวุ่นวายในหน่วยออกเสียงประชามติเพราะเห็นว่า 
 
ปิยรัฐและเพื่อนอีกสองคนมีลักษณะแบ่งงานหรือนัดแนะกันมาก่อนโดยให้ปิยรัฐเป็นคนฉีกบัตรส่วนจิรวัฒน์และทรงธรรมเป็นคนถ่ายคลิปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตโดยหวังจะให้เกิดความวุ่นวาย ขณะที่ปิยรัฐศาลก็เห็นว่าหากไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็สามารถลงคะแนนไม่เห็นชอบได้แต่ปิยรัฐกลับเลือกใช้วิธีฉีกบัตรซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายจึงไม่ใช่การใช้สิทธิโดยชอบ ขณะนี้คดีของปิยรัฐยังอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา
 
ดูรายละเอียดคดีของปิยรัฐ ที่นี่
 
--------------------------------------------------------------------------
 
ในช่วงเวลากึ่งทศวรรษของการปกครองโดยคสช.เป็นเวลาที่นานพอจะให้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง เช่น เห็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกและหัวหน้าคณะรัฐประหารผู้เคยปฏิเสธว่าตัวเอง "ไม่ใช่นักการเมือง" กลายเป็นนักการเมืองแบบเต็มขั้น เห็นระบบการเมืองที่หวนคืนไปสู่ระบบการเมืองแบบวันวาน เช่นการมี ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง 100% หรือเห็นรัฐธรรมนูญที่ย้อนกลับไปกำหนดให้นายกไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น ขณะเดียวกันระยะเวลาที่เนิ่นนานในยุคคสช.ก็นานพอที่จะเปลี่ยนชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านการรัฐประหารหรือการปกครองโดยคสช.จนมีคดีการเมืองติดตัวเป็นของขวัญ ผลงานชุด Change.NCPO จึงคัดเลือกภาพและเสียงของนักเคลื่อนไหวบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีการเมืองเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2557 - 2559 ซึ่งถือเป็นครึ่งแรกของการบริหารประเทศโดยคสช.มาบอกเล่าไว้ ณ ที่นี้
 
ชนิดบทความ: