1126 1728 1237 1888 1850 1094 1615 1353 1208 1543 1583 1530 1274 1793 1479 1396 1370 1788 1754 1455 1803 1984 1892 1646 1101 1416 1620 1087 1378 1156 1311 1462 1676 1289 1925 1033 1293 1144 1353 1284 1979 1138 1646 1492 1106 1882 1200 1099 1593 1306 1132 1245 1357 1610 1179 1165 1595 1756 1530 1265 1896 1055 1490 1972 1544 1601 1618 1102 1235 1686 1607 1572 1154 1444 1575 1321 1857 1566 1532 1430 1816 1753 1877 1408 1567 1526 1944 1376 1426 1783 1529 1472 1481 1732 1576 1089 1192 1824 1697 เจ้าของเพลง #ประเทศกูมี เตรียมรับรางวัลที่นอร์เวย์ ส่วนนักกิจกรรมสองคนเตรียมขึ้นศาลเพราะเปิดเพลง #ประเทศกูมี หน้ากองทัพบก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เจ้าของเพลง #ประเทศกูมี เตรียมรับรางวัลที่นอร์เวย์ ส่วนนักกิจกรรมสองคนเตรียมขึ้นศาลเพราะเปิดเพลง #ประเทศกูมี หน้ากองทัพบก

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เฟซบุ๊กเพจ Rap Against Dictatorship ซึ่งเป็นเพจของศิลปินเพลงแร๊พเจ้าของผลงานเพลง #ประเทศกูมี โพสต์ข้อความว่าพวกเขาได้รับรางวัล Václav Havel Prize for Creative Dissent ซึ่งเป็นรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนที่จะมีพิธีมอบในงาน Oslo Freedom Forum ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยรางวัลดังกล่าวจะมีการมอบให้กับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการคัดค้านความอยุติธรรม ทางกลุ่มจึงส่งตัวแทนศิลปินส่วนหนึ่งไปรับมอบรางวัล
 
เพลง "ประเทศกูมี" ถือเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์แห่งปี 2561 เพลงประเทศกูมีเป็นเพลงแร๊พที่ใช้เหตุการณ์หกตุลาเป็นแบ็คกราวด์ของมิวสิควิดีโอ ขณะที่แร๊พเปอร์แต่ละคนจะหมุนเวียนกันเข้ามาร้องเพลงในส่วนของตัวเองซึ่งเนื้อหาเป็นการเสียดสีการเมืองร่วมสมัย เพลงประเทศกูมีถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ยูทูปในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 ซึ่งจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคน 2562 เวลา 12.37 น. เพลง ประเทศกูมี มียอดรับชมบนยูทูปแล้ว 64,113,184 ครั้ง 
 
กระแสของเพลง "ประเทศกูมี" ร้อนจนถึงขั้นมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเช่น พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเคยแสดงความเห็นว่า ในส่วนรัฐบาล รู้สึกเสียใจ เพราะสุดท้ายความเสียหายตกอยู่กับประเทศ ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.ที่ดูแลงานด้านความมั่นคงระบุว่าเนื้อเพลงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายถึง 50% และทางตำรวจจะทำการตรวจสอบว่าเข้าข่ายขัดคำสั่งคสช.หรือไม่ 
 
แม้ว่าท้ายที่สุดจะไม่มีการดำเนินคดีหรือสั่งแบนการเผยแพร่เพลงประเทศกูมี แต่ก็มีนักกิจกรรมสองคนที่ถูกดำเนินคดีจากการนำเพลงประเทศกูมีไปเปิดเพื่อประท้วง ผบ.ทบ. ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลังมีนักการเมืองหาเสียงทำนองว่าจะปรับลดงบกองทัพว่า ให้ไปฟังเพลง "หนักแผ่นดิน" รวมทั้งมีแนวคิดที่จะให้สถานีวิทยุในเครือกองทัพบกเปิดเพลงหนักแผ่นดินในบางช่วงรายการ (ต่อมาแนวคิดนี้ถูกยกเลิกไป) 
 
นักกิจกรรมทางการเมืองสองคนได้แก่เอกชัยและโชคชัยประกาศว่าทั้งสองจะไปทำกิจกรรมที่หน้ากองทัพบกเพื่อประท้วงแนวคิดของ ผบ.ทบ. ด้วยการเปิดเพลงประเทศกูมีพร้อมทั้งจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลา ด้วยการใช้เก้าอี้เหล็กตีตุ้กตาหมีที่ถูกแขวนไว้อย่างไรก็ตามเมื่อนักกิจกรรมทั้งสองเตรียมจะทำกิจกรรมตามที่ประกาศไว้ก็ถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ เมื่อเขานำตุ๊กตาหมีไปแขวนกับต้นไม้เจ้าหน้าที่ก็ปลดออกและยึดตุ๊กตาไป 
 
เอกชัยจึงใช้เก้าอี้ทำท่าตีโชคชัยเพื่อจำลองเหตุการณ์แทนพร้อมทั้งเปิดเพลงประเทศกูคลอไปด้วย แต่หลังจากทั้งสองทำกิจกรรมได้เพียงครู่เดียวเจ้าหน้าที่ก็เปิดเพลงพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่เก้า "ความฝันอันสูงสุด" กลบเสียงเพลงประเทศกูมีก่อนจะเชิญตัวทั้งสองไปตั้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ทั้งสองให้การปฏิเสธขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลซึ่งศาลแขวงดุสิตจะสืบพยานคดีนี้ระหว่างวันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2562 
 
ทั้งนี้เพลงหนักแผ่นดินที่เป็นเหตุแห่งการประท้วงเป็นเพลงที่ใช้ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังต่อนักศึกษาในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขณะที่เพลงประเทศกูมีก็มีการนำภาพจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลามาเป็นเบื้องหลังของมิวสิควิดีโอเพื่อเสียดสีสังคมไทย 
 
ดูรายละเอียดคดี เอกชัย เปิดเพลงประเทศกูมีหน้ากองทัพบก >>> https://freedom.ilaw.or.th/th/case/863
 
ดูเรื่องราวแวดล้อมเพลง ประเทศกูมีใน รายงาน 5 ปี คสช. เพราะคุณอยู่เราจึงปรากฎ 2: จากความอึดอัดสู่แรงบันดาลใจในงานศิลป์ >>> https://freedom.ilaw.or.th/node/696
 
ดู RAD ส่งตัวแทนรับรางวัลที่ประเทศนอร์เวย์ >>> https://www.facebook.com/rapagainstdictatorship/photos/a.374965666244979/583469578727919/?type=3&theater