1120 1456 1103 1045 1290 1784 1535 1978 1700 1168 1041 1086 1051 1890 1796 1464 1818 1670 1178 1634 1217 1031 1467 1061 1526 1403 1516 1868 1066 1047 1902 1778 1432 1640 1161 1079 1690 1130 1119 1323 1422 1211 1216 1506 1838 1144 1065 1457 1369 1108 1370 1909 1298 1217 1230 1061 1267 1590 1352 1767 1649 1928 1834 1212 1482 1733 1508 1913 1680 1223 1669 1563 1558 1420 1248 1100 1098 1613 1413 1134 1146 1747 1508 1461 1789 1099 1969 1394 1815 1437 1000 1962 1565 1029 1399 1873 1030 1200 1279 เลือกตั้ง 62: การใช้อำนาจพิเศษของคสช.ในช่วงเลือกตั้ง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เลือกตั้ง 62: การใช้อำนาจพิเศษของคสช.ในช่วงเลือกตั้ง

 
 
จากกรณีที่ผู้สมัครส.ส.จากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเปิดเผยเรื่องทหารคุกคามค้นบ้าน ทำให้พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. ออกมาชี้แจงว่า คสช.ดูแลความสงบเรียบร้อยในภาพรวมเจ้าหน้าที่ยังคงใช้กฎหมายปกติเข้าดำเนินการต่อผู้ที่กระทำผิดกฎหมายตามฐานความผิดต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นกำลังหลัก ส่วนฝ่ายทหารหรือฝ่ายปกครอง จะให้การสนับสนุนในบางกรณีเท่านั้น 
 
 
หากมีการกระทำใดที่คิดว่ากำลังถูกละเมิดสิทธิก็สามารถเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมได้ และยืนยันว่าคสช.ไม่มีการใช้อำนาจมาตรา 44 หรือมาตรการอื่นใดทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยการใช้มาตรา 44 ในขณะนี้ก็เพื่อแก้ไขในส่วนที่กฎหมายปกติไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเร่งด่วน และในส่วนที่มีความสำคัญต่อการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลที่กฎหมายปกติอาจจะแก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเท่านั้น
 
 
จากการสืบค้นข้อมูลของไอลอว์ไม่ปรากฏว่า คสช.ได้ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งเลยตามที่ คสช.จะยืนยันจริง แต่ก็พบว่าในช่วงเลือกตั้งมีการใช้อำนาจมาตรา 44 ที่เคยออกไว้เดิมลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและพรรคการเมืองอย่างชัดเจนไม่น้อยกว่า 13 กรณี โดยจำนวนนี้ไม่นับรวมอำนาจอันไร้ที่มาที่ไปในการติดตามนักการเมืองและประชาชน
 
 

๐ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558


วันที่ 1 เมษายน 2558 คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ให้ให้อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมบุคคลผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า, ควบคุมตัว, ค้น ยึด อายัด, หรือควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวด้วย เพื่อประโยชน์ในการป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ความมั่นคง, อาวุธปืน หรือการกระทำความผิดตามประกาศหรือคำสั่งของคสช. รวมทั้งสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง
 

ต่อมาวันที่ 11 ธันวาคม 2561 คสช. ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 22/2561 ยกเลิก ข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ปลดล็อคให้ประชาชนทำกิจกรรมสาธารณะได้อย่างสะดวกมากขึ้น และให้พรรคการเมืองเริ่มหาเสียงได้ แต่การยกเลิกดังกล่าวอาจเป็นเพียงฉากการเมืองฉากหนึ่งเท่านั้น เพราะ คสช. ยังคงไว้ซึ่งอำนาจบุกค้นและเรียกบุคคลไปปรับทัศนติในค่ายทหาร 7 วัน โดยปรากฏการใช้อำนาจดังกล่าวในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งจับประชาชน 2 คนเข้าปรับทัศนคติในค่ายทหารและมีกรณีการบุกค้นบ้าน หรือไปหานักการเมืองและประชาชน ดังนี้
 

10 มีนาคม 2562
นครปฐม
- มติชนออนไลน์รายงานว่า จุมพิตา จันทรขจร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เขต 5 จังหวัดนครปฐมให้ข้อมูลว่าหลังจากที่ได้ประกาศตัวต่อสาธารณะ และเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปแล้วว่าเธอเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขต 5 จังหวัดนครปฐม ของพรรคอนาคตใหม่ ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ 2561 ปรากฏว่ามีตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้วเข้ามาพบที่บ้าน และบอกว่าได้รับคำสั่งจากผู้ใหญ่สังกัดตำรวจภูธรภาค 7 ให้มาประสานงาน อำนวยความสะดวก และดูแลเรื่องของความปลอดภัยต่างๆ โดยมีการสอบถามประวัติขอเธอและคนในครอบครัวด้วย
 

จุมพิดาระบุด้วยว่าหลังเจ้าหน้าที่ชุดข้างต้นมาที่บ้านของเธอก็มีเจ้าหน้าแล้วชุดปฏิบัติการพิเศษจำนวน 3 นายมาหาที่บ้าน แจ้งว่าได้รับมอบหมายให้มาอำนวยความสะดวก ดูแลเรื่องความปลอดภัย และสอบถามประวัติของตนเองเหมือนเดิม ซึ่งเธอบอกวา ได้เคยชี้แจงข้อมูลไปแล้ว แต่ตำรวจชุดดังกล่าวบอกว่า เป็นคนละหน่วยกันจึงอยากได้ข้อมูลใหม่ โดยในครั้งนี้เจ้าหน้าที่มีแบบฟอร์มในการสัมภาษณ์มาด้วย เจ้าหน้าที่ยังขอภาพถ่ายหน้าเต็มของเธอ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่อยู่ สังกัดพรรค ประวัติทางการเมือง บุคคลที่ให้การสนับสนุน รวมทั้งให้ระบุชื่อนามสกุลหัวคะแนนของเธอด้วย
 
 
15 มกราคม 2562
ไม่ระบุ
- ประชาชนรายหนึ่งแจ้งว่า มีทหารในเครื่องแบบ 2 นายมาที่บ้านของเขาโดยได้พบกับพ่อและแม่ของเขาและได้ทำการสอบถามข้อมูลของเขา เช่น เรื่องสุขภาพ ช่วงเวลาที่เขากลับบ้าน และเมื่อเขากลับมาบ้านมีพฤติกรรมอย่างไร ทำอะไรบ้าง ทหารบอกแม่ให้บอกเขาด้วยว่า อย่าไปยุ่งกับการชุมนุม เดี๋ยวจะเกิดปัญหาเพราะตัวเขามีชื่ออยู่ในบัญชีของเจ้าหน้าที่
 
นนทบุรี- พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ นักกิจกรรมโพสต์เฟซบุ๊กว่า มีสันติบาลมาหาที่บ้านและขอถ่ายภาพด้วย โดยให้เหตุผลว่า ภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้ใช้ไม่ได้แล้ว โดยนายมีการตรวจสอบว่า ภาพที่รายงานเข้าไปนั้นถ่ายไว้เมื่อไหร่
 

16 มกราคม 2562
แพร่ -  เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล 2 นาย เดินทางไปที่บ้านของ ประเสริฐ หงวนสุวรรณ สมาชิกพรรคสามัญชนจังหวัดแพร่ หลังจากออกมาชูป้ายคัดค้านการเลื่อนการเลือกตั้งที่หน้าศาลากลางจังหวัดในวันที่ 13 มกราคม 2562 และสอบถามว่า จะไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ หรือมีการจัดกิจกรรมในจังหวัดอีกหรือไม่ หากมีขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน
 

18 มกราคม 2562
กรุงเทพฯ
– สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย โพสต์เฟซบุ๊กว่า เวลา 10.30 น. มีทหารนอกเครื่องแบบมาที่บ้าน สอบถามเรื่องการนำสมาชิกกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยไปเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในวันที่ 19 มกราคม 2562 ซึ่งเขาได้อธิบายไปว่า มีสุวรรณา ตาลเหล็กเป็นพิธีกร ส่วนประชาชนที่มาร่วมให้ไปดูจำนวนในวันชุมนุมเอง
ต่อมาเวลา 16.30 น. มีตำรวจนอกเครื่องแบบมาหาสมยศที่บ้านอีกครั้ง โดยถามว่า ทำไมถึงไม่ไปประชุมกับพวกน้องๆ สมยศตอบว่า หลังออกจากคุกงานเก่าพินาศไปหมดแล้ว ยังไม่มีงานใหม่ ไม่มีเงินค่ารถไปร่วมด้วย
 

19 มกราคม 2562
กรุงเทพฯ
– ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า “กันต์ แสงทอง” โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กระบุว่าว่า มีตำรวจฝ่ายสืบสวนของ สน. ตลิ่งชันมาที่บ้านของเขาแต่เขาไม่อยู่จึงได้แต่เจอกับแม่ของเขาแทน
15 มีนาคม 2562
 

19 มีนาคม 2562
นครพนม
- มติชนออนไลน์รายงานว่า ชวลิต วิชยสุทธิ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขต 4 พรรคเพื่อไทย จังหวัดนครพนม ให้ข้อมูลว่า ถูกชายฉกรรจ์อ้างตัวเป็นทหารประมาณ 5 คน บุกมาหาที่บ้านในเวลาประมาณ 14.30 น. ทั้งห้าไม่ยอมแสดงตัวว่ามาจากหน่วยงานใดบอกแต่เพียงว่ามาตรวจสอบป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ชายกลุ่มดังกล่าวยังบันทึกภาพ บ้าน และรถยนต์ทุกคันที่จอดในบ้านของเขาไปด้วย นอกจากกรณีของชวลิตไทยรัฐออนไลน์ยังรายงานกรณีของ สมบูรณ์ นาคะอินทร์ ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยด้วย สมบูรณ์ให้ข้อมูลกับไทยรัฐว่า มีรถยนต์กระบะ 4 ประตู มาจอดที่หน้าบ้านของเขา 2 คัน จากนั้นมีชายฉกรรจ์คล้ายทหารตำรวจนอกเครื่องแบบ ผมสั้นเกรียนลงจากรถมา 5 คน เดินเข้ามาในบ้านของเขา เมื่อสอบถามสังกัดคนกลุ่มดังกล่าวไม่ยอมแสดงตัว บอกเพียงแต่ว่ามาตรวจสอบ ป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยมีการบันทึกภาพบ้านและภาพรถยนต์ที่จอดในบ้านของเขาไปด้วย
 
 
แพร่ - ประเสริฐ หงวนสุวรรณ นักกิจกรรมในจังหวัดแพร่ แจ้งว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจาก สภ. เมืองแพร่ เข้ามาหาเขาที่บ้านซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองแพร่ว่า เขามีกำหนดเดินทางไปบริเวณที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรีมีกำหนดขึ้นปราศรัยหรือไม่ โดยก่อนหน้านี้ตำรวจสันติบาลก็โทรศัพท์มาสอบถามเรื่องนี้กับเขาด้วยเช่นเดียวกัน

 


20 มีนาคม 2562
แม่ฮ่องสอน
- เชียงใหม่นิวส์รายงานว่า ทหารพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าตรวจบ้านพักของนิรันดร์ จันทร์แค้น นายกสภาอบต.ห้วยผา โดยไม่แสดงหมายค้น ก่อนหน้านี้นิรันดร์เคยถูกนายทหารยศพลโทคนหนึ่งเรียกไปพบที่โรงแรมอิมพีเรียลธารา นายทหารคนดังกล่าวได้ขอร้องให้นิรันดร์ยุติการสนับสนุนผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ หากไม่ทำตามจะสกัดกั้นนิรันดร์ทุกวิถีทาง ซึ่งตอนนั้นนิรันดร์เข้าใจว่าเป็นการพูดเล่นจึงไม่ได้ใส่ใจ แต่ก็มาถูกบุกค้นบ้านในเวลาต่อมา

 

วันเดียวกันก็มีทหารเข้าตรวจค้นบ้านของสมศักดิ์ ณ มาตคำ นายกสภา อบต. หมอกจำแป่ด้วย สมบัติ ยะสินธุ์ ผู้สมัครส.ส. เขต 1 แม่ฮ่องสอน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คนของพรรคประชาธิปัตย์ถูกตรวจค้นกว่า 20 คนและคาดว่าจะมีมากกว่านี้อีก โดยตั้งข้อสังเกตว่าการคุกคามน่าจะเกิดจากการที่มีการส่งนายทหารระดับนายพันคนหนึ่งมา”ดูแล” การเลือกตั้งในพื้นที่โดยนายทหารคนดังกล่าวน่าจะใกล้ชิดกับพล.อ.ประยุทธ์และพล.อ.ประวิตร

 
20 มีนาคม 2562
นนทบุรี
- มติชนออนไลน์รายงานว่า หลังจากที่ได้รับเบาะแสว่าอาจมีการทุจริตซื้อเสียงในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจสันติบาลราว 30 นาย ก็ลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจสอบ และได้ไปที่บ้านพักของกาญจนา เจริญนนทสิทธิ์ภรรยาของโกวิทย์ เจริญนนทสิทธิ์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบางทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นน้องสะใภ้ของวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขต 5 จังหวัดนนทบุรี พรรคเพื่อไทย โดยกาญจนาระบุว่า ในการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้แสดงหมายหรือเอกสารใดๆ


22 มีนาคม 2562
กรุงเทพฯ, ชลบุรี
- ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งจากบุคคลใกล้ชิดของชาย 2 คนที่ถูกควบคุมตัวไปค่ายทหารจาก 2 เหตุการณ์ ได้แก่ สุธีพัทธ์ถูกทหารคุมตัวไปในช่วงเช้าเนื่องจากแชร์ภาพเอกสารคำสั่งที่ให้หน่วยทหารทำ IO (ปฎิบัติการข่าวสาร) สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ครอบครัวของสุธีพัทธ์ให้ข้อมูลกับศูนย์ทนายฯว่า สุธีพัทธ์ถูกคุมตัวที่ “ราบ 11”  นอกจากกรณีของสุธีพัทธ์ก็มีกรณีของเถลิงศกที่ถูกทหารควบคุมตัวไปตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2562 “ไหม” เพื่อนของเถลิงศกแจ้งกับศูนย์ทนายฯว่า เถลิงศกและน้องสาวของ ”ไหม” ถูกคุมตัวที่มณฑลทหารบกที่ 14 จ.ชลบุรี จากเหตุโพสต์ภาพรถทหารที่มีป้ายเขียนว่า พาคนไปเลือกตั้ง


๐ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559


วันที่ 29 มีนาคม 2559 คสช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 12/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตราย ต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมบุคคลผู้กระทำความผิดตามคำสั่งฉบับนี้ ไปสอบถามและกักตัวไว้ไม่เกิน 7 วัน ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวตามคำสั่งฉบับนี้ โดยในช่วงการเลือกตั้งปรากฏการใช้อำนาจดังกล่าวอย่างชัดเจน 1 ครั้งคือ

 

วันที่ 17 มีนาคม 2562 เวลา 17:00 น. ทหาร 5 นาย และ ตำรวจ 6 นาย ร่วมกันตรวจค้นบ้านของพุทธ สุนันต๊ะ บุคคลใกล้ชิด ไพโรจน์ ตันบรรจง ผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 จังหวัดพะเยา พรรคเพื่อไทย ซึ่งอยู่ในอำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559 เจ้าหน้าที่ใช้เวลาค้นบ้านของพุทธประมาณ 30 นาที


๐ ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557


ก่อนการรัฐประหาร คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหาของสื่อ โดยใช้อำนาจตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 (พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ) ในการลงโทษสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่ขัดต่อมาตราดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ กสทช. จะใช้อำนาจลงโทษสื่อโดยอ้างว่า เป็นเนื้อหาที่ “ขัดต่อศีลธรรมอันดี”

 


หลังการเข้ายึดอำนาจของ คสช. มีการออกประกาศคำสั่งที่ใช้ควบคุมการนำเสนอเนื้อหาของสื่อเพิ่มเติม ได้แก่ ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 สั่งห้ามออกอากาศเนื้อหาเช่น เนื้อหาที่ส่อไปทางหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ,ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ, การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคสช.โดยมีเจตนาไม่สุจริต และส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยก ประกาศทั้งสองฉบับไม่ได้มีการกำหนดมาตรการลงโทษใดๆไว้ ต่อมาในปี 2559 พล.อ.ประยุทธ์อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 41/2559 กำหนดให้กสทช.มีอำนาจพิจารณาและกำหนดมาตรการลงโทษสื่อมวลชนที่นำเสนอเนื้อหาเข้าข่ายขัดต่อประกาศสองฉบับข้างต้น

 


ช่วงการเลือกตั้ง กสทช. ลงโทษสื่อโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 41/2559  1 ครั้งคือลงโทษช่องวอยซ์ ทีวี โดยในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมกสทช. พิจารณาเนื้อหารายการของช่อง วอยซ์ 5 เทปได้แก่ รายการ Tonight Thailand 1 เทป ซึ่งออกอากาศในวันที่ 16 ธันวาคม 2561 และรายการ Wake up news 4 เทปที่ออกอากาศในวันที่ 21, 28 และ 29 มกราคม และ 4 กุมภาพันธ์ 2562 โดยกสทช.เห็นว่าเนื้อหาของรายการดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสน และยั่วยุให้เกิดความแตกแยกตามประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ รวมทั้งยังเป็นการกระทำความผิดซ้ำซาก กสทช.จึงสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ 2562

 


ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 วอยซ์ ทีวี ยื่นฟ้องกสทช.ต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 15 วันของกสทช. ระหว่างการพิจารณาศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองให้วอยซ์ ทีวีสามารถออกอากาศได้ก่อน กระทั่งมีคำพิพากษาออกมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562  ระบุว่า การนำเสนอเนื้อหาของวอยซ์ ทีวีไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยก และมีคำสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมกสทช.ที่สั่งระงับการออกอากาศของช่องว๊อยซ์ข้างต้น

 

ชนิดบทความ: