1679 1630 1649 1860 1870 1862 1560 1272 1530 1037 1414 1110 1472 1237 1710 1485 1248 1277 1458 1027 1674 1964 1879 1786 1297 1075 1275 1782 1370 1302 1888 1468 1903 1033 1884 1688 1952 1793 1887 1239 1401 1896 1501 1423 1695 1951 1513 1720 1165 1776 1816 1607 1115 1597 1977 1186 1150 1054 1758 1523 1203 1036 1893 1131 1510 1105 1371 1092 1111 1490 1525 1466 1758 1328 1997 1970 1323 1916 1763 1273 1955 1598 1091 1814 1379 1290 1980 1580 1275 1254 1758 1472 1229 1297 1435 1264 1950 1716 1552 คสช.แจงคดี 'เสรีพิศุทธิ์' ทำตามขั้นตอน-ไม่ใช่รายแรกที่วิจารณ์ คสช. แล้วโดนพ.ร.บ.คอมฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คสช.แจงคดี 'เสรีพิศุทธิ์' ทำตามขั้นตอน-ไม่ใช่รายแรกที่วิจารณ์ คสช. แล้วโดนพ.ร.บ.คอมฯ



จากกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่า ทหารแอบแจ้งความดำเนินคดีกับเขา และเป็นความตั้งใจให้เขาต้องนอนคุกด้วยการบีบให้ตำรวจออกหมายจับบ่ายในช่วงบ่ายของวันเดียวกันซึ่งเป็นวันศุกร์ ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม 2561 พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. ชี้แจงว่า ทหารไม่ได้แอบร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์แต่ดำเนินการอย่างเปิดเผย เมื่อพบข้อมูลว่าบุคคลใดให้ข้อมูลเป็นเท็จก็จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับเจ้าหน้าที่ตำตำรวตามขั้นตอนปกติของกฎหมาย และทหารก็ไม่ได้บีบบังคับตำรวจแต่อย่างใด ทุกฝ่ายทำตามหน้าที่ของตัวเอง ที่ผ่านมาไม่ใช่เฉพาะกรณีพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เท่านั้น กลุ่มการเมือง หรือ นักการเมืองคนอื่นก็ถูก คสช.ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดี หากมีการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย

ขณะเดียวกันในวันที่ 3 ธันวาคม 2561 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ก็ระบุว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยังไม่ได้ประสานขอเข้าพบพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด

 

1085




สำหรับเหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2561 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ แสดงความคิดเห็นผ่านรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง วิพากษ์วิจารณ์คสช.มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า “ประชามติก็โกง รัฐธรรมนูญก็โกง” และต่อมานำมามีการนำวิดีโอคลิปของรายการดังกล่าวมาเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก "พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส" ต่อมาเดือนกันยายน 2561 บก.ปอท. ออกหมายเรียกให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสและผู้ดูแลเฟซบุ๊กมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อหามาตรา 14(2) ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ

ก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2560 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) มักจะถูกนำมาใช้ดำเนินคดีพ่วงกับกฎหมายหมิ่นประมาทเวลามีคนแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ในประเด็นสาธารณะและพาดพิงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนคนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการการเมือง กองทัพ หรือคสช. บนโลกออนไลน์ มักจะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ) หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ข้อหายุยงปลุกปั่น) ควบคู่กับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 (2) และ (3)

หลังมีการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แนวทางการร้องทุกข์กล่าวโทษคนที่แสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะกรณีของบุคคลที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง โดยแทนที่จะใช้วิธีฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง เช่น มาตรา 112 หรือ มาตรา 116 พ่วงกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) และ (3) ก็เปลี่ยนมาเป็นดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14 (2) อย่างเดียวแทน โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 14 (3) หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคงเพิ่มเติม

ทั้งนี้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) ซึ่งมีการแก้ไขในปี 2560 ได้มีการขยายความเนื้อหาการกระทำผิดให้กว้างขึ้น เป็น "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" จากเดิมที่ฉบับปี 2550 กำหนดไว้ว่า "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"

นอกจากกรณีของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็มีกรณีของผู้ถูกกล่าวหาในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14(2) อื่นๆที่น่าสนใจได้แก่ กรณีของศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากการแชร์ภาพประกอบข้อความเกี่ยวกับกระเป๋าของภรรยาหัวหน้าคสช. กรณีเจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแชร์โพสต์จากเพจ CSI LA เรื่องกรณีการข่มขืนหญิงชาวอังกฤษที่เกาะเต่า กรณีการออกหมายจับ แอดมิน แฟนเพจ “KonthaiUk” โพสต์ข้อความเรื่องการจัดซื้อดาวเทียม และต่อมามีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแชร์โพสต์ดังกล่าวอีกอย่างน้อยเจ็ดคนและมีผู้ถูกออกหมายเรียกจากกรณีเดียวกันอีกอย่างน้อย 20 คน และมีกรณีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และกรรมการบริหารพรรคอนาคใหม่อีกสองคน ที่ถูกกล่าวหาในข้อหาเดียวกันจากการจัดรายการเฟซบุ๊กไลฟ์ที่เพจของพรรคอนาคตใหม่วิจารณ์เรื่องการดูดผู้สมัคร ส.ส. ให้ย้ายพรรค

ตลอดสี่ปีที่ผ่านมามีประชาชนถูกกล่าวหาตามมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯไม่น้อยกว่า 44 คนหรือ 23 คดี แต่เฉพาะปี 2561 มีไม่น้อยกว่า 25 คนหรือ 12 คดี อ่านสถิติมาตรา 14(2) ทั้งหมดที่นี่

ชนิดบทความ: