1752 1569 1530 1906 1276 1385 1341 1389 1893 1581 1966 1174 1556 1081 1610 1270 1295 1407 1755 1323 1375 1441 1687 1093 1162 1103 1472 1169 1858 1937 1691 1828 1047 1812 1547 1834 1844 1640 1104 1111 1408 1395 1491 1908 1816 1815 1050 1492 1877 1901 1438 1347 1008 1814 1720 1379 1138 1007 1340 1978 1759 1661 1434 1908 1457 1735 1541 1178 1068 1662 1916 1916 1817 1684 1837 1311 1452 1404 1126 1197 1119 1479 1014 1210 1648 1871 1914 1618 1708 1887 1963 1140 1171 1301 1856 1881 1431 1635 1016 มาตรา 112 ไม่คุ้มครอง ทูลกระหม่อมฯ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

มาตรา 112 ไม่คุ้มครอง ทูลกระหม่อมฯ



ข่าวการเปิดตัว "ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ" ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวของพรรคไทยรักษาชาติ ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในทางเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันสถานะ "ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ" ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า ก็อาจทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า ในฐานะที่มาลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวแล้ว จะถูกวิจารณ์ได้หรือไม่ หรือทำได้มากน้อยเพียงใด
 


โดยเฉพาะอย่างในเมื่อมี "ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112" หรือความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ยังบังคับใช้อยู่ และเป็นกฎหมายที่สร้างความหวาดกลัวให้กับการแสดงความเห็นในสังคมไทยมานาน
 


ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในหมวดความมั่นคง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"
 


สามารถแยกองค์ประกอบความผิดได้ คือ ต้องมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
1) หมิ่นประมาท
2) ดูหมิ่น
3) แสดงความอาฆาตมาดร้าย

 


บุคคลใดบุคคลหนึ่งในสี่คน ที่มีสถานะในขณะกระทำความผิด คือ
1) พระมหากษัตริย์
2) พระราชินี
3) รัชทายาท
4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


 

เจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ ให้ความคุ้มครองเกียรติยศของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐ พระราชินี ในฐานะคู่สมรสขององค์ประมุขแห่งรัฐ รัชทายาท ในฐานะผู้ที่จะเป็นประมุขแห่งรัฐในอนาคต และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่แทนองค์ประมุขแห่งรัฐในยามที่องค์พระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ ทรงเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจในต่างแดน หรือทรงปฏิบัติพระราชภาระไม่ได้ด้วยสาเหตุอื่นๆ

 

ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ถือว่า อยู่ในความคุ้มครองของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามหลักการกฎหมายอาญาต้องตีความโดยแคบเพื่อประโยชน์กับสิทธิของประชาชน จึงต้องตีความว่า บุคคลที่อยู่นอกเหนือจากนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองด้วย

 

อย่างไรก็ดี หากพระบรมวงศานุงศ์ ถูกกระทำให้เสียหายต่อชื่อเสียงก็มีกฎหมายหมิ่นประมาททั้งทางแพ่งและอาญาให้ความคุ้มครองเกียรติยศศักดิ์ศรี เฉกเช่นที่บุคคลทั่วไปได้รับความคุ้มครอง ซึ่งความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หากเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี และยังมีข้อยกเว้นหากเป็นกรณีที่ติชมโดยสุจริต ตามวิสัยที่ประชาชนทั่วไปพึงกระทำก็ไม่เป็นความผิด หรือหากเป็นการพูดความจริงในประเด็นสาธารณะก็ไม่ต้องรับโทษ

 

“ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ” ได้สละฐานันดรแล้วตั้งแต่ปี 2515 จึงถือเป็นสามัญชนเฉกเช่นประชาชนทั่วไป อยู่ในสถานะที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ระดับเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคม ในขณะเดียวกันทูลกระหม่อมเองก็สามารถใช้สิทธิทางศาลในการดำเนินคดีหมิ่นประมาททั้งทางแพ่งและอาญา ในกรณีที่เห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีลักษณะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือติชมโดยสุจริต ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีก็สามารถใช้สิทธิทางศาลพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองและสามารถยกการพิสูจน์ความจริงเพื่อประโยชน์สาธารณะมาเป็นข้อต่อสู้ได้ ซึ่งต่างจากกรณีของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นที่เปิดให้พิสูจน์ความจริงหรือผลประโยชน์สาธารณะ เพื่อไม่ต้องรับผิด
 


ทั้งนี้ในวันเดียวกัน “ทูลกระหม่อมอุบลรัตน์ฯ” ก็ได้โพสต์ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวเกี่ยวกับการสมัครเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีว่า ได้สละฐานันดรเป็นสามัญชนแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิทางการเมืองของตัวเองเฉกเช่นประชาชนทั่วไป