1376 1501 1315 1602 1928 1316 1558 1940 1089 1151 1429 1468 1026 1898 1769 1209 1383 1882 1597 1672 1390 1116 1681 1107 1296 1088 1211 1100 1872 1066 1013 1786 1987 1094 1151 1108 1753 1490 1280 1202 1856 1301 1847 1304 1400 1360 1648 1810 1813 1217 1669 1505 1550 1856 1592 1405 1349 1515 1109 1916 1191 1923 1420 1472 1636 1196 1014 1728 1697 1393 1642 1738 1505 1187 1072 1123 1378 1102 1779 1031 1263 1720 1930 1842 1029 1916 1033 1662 1906 1153 1953 1241 1322 1128 1918 1514 1388 1459 1681 ทบทวนกรณี #SaveRahaf กับสิทธิผู้ลี้ภัยในยุคคสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ทบทวนกรณี #SaveRahaf กับสิทธิผู้ลี้ภัยในยุคคสช.

 
 
นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2562 เป็นต้นมา บนโลกออนไลน์ได้เกิดกระแส #SaveRahaf ขึ้น หลังมีรายงานข่าวว่า ทางการไทยได้กักตัวหญิงชาวซาอุดิอาระเบีย ชื่อ ราฮาฟ โมฮาเหม็ด อัล-คูนัน อายุ 18 ปี ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ไทย ก่อนเธอจะเดินทางต่อไปออสเตรเลียเพื่อหลบหนีครอบครัว เพราะหวาดกลัวว่า ครอบครัวจะฆ่าเธอหลังปฎิเสธที่จะนับถือศาสนาอิสลาม
 
 
ราฮาฟเปิดเผยว่า ครอบครัวของเธอกดขี่เธอมาตลอดและการหนีออกจากบ้านถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากเธอต้องถูกส่งกลับเธออาจจะเสียชีวิตหรือถูกจำคุก โดยเธอพยายามส่งต่อข้อมูลของเธอผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว เช่น ภาพใบหน้า อายุ เพื่อยืนยันว่า เธอมีตัวตนอยู่จริง พร้อมกับเผยแพร่สำเนาพาสปอร์ต และคลิปความเคลื่อนไหวต่างๆ ของตัวเองระหว่างถูกกักตัวอยู่ 
 
 
 
1042
 
สำหรับท่าทีของรัฐบาลไทยในตอนแรก คือ ต้องการจะส่งตัวราฮาฟกลับประเทศด้วยเที่ยวบินของสายการบินคูเวต แต่เธอปิดประตูไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาภายในห้องและปฏิเสธที่จะออกจากห้องพักในโรงแรมภายในสนามบินสุวรรณภูมิจนเวลาล่วงเลย และทำให้เที่ยวบินดังกล่าวเดินทางออกไปแล้ว
 
 
เมื่อเรื่องราวของเธอเป็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้น และมีการกดดันจากต่างประเทศ เช่น แถลงการณ์ของรัฐบาลออสเตเลียที่เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) ให้ราฮาฟสามารถเข้าถึงกระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัย  
 
 
สุดท้าย ทางการไทยตัดสินใจว่า จะดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชน ทำให้ราฮาฟได้อยู่ในไทยเป็นการชั่วคราวภายใต้ความดูแลอย่างปลอดภัยของ UNHCR
 
 
ทบทวน กรณี #SaveRahaf ภายใต้กติการะหว่างประเทศ
 
 
กรณีการกักตัวราฮาฟช่วยทำให้สังคมไทยได้ทบทวนบทบาทของรัฐที่มีต่อผู้ลี้ภัยว่า ต้องดำเนินการตามแนวทางหลักสิทธิมนุษยชน หรือยึดตามหลักต่างตอบแทนโดยส่งผู้ลี้ภัยกลับตามคำร้องขอของมิตรประเทศ
 
 
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ปี 2494 และไม่มีกฎหมายรับรองสถานภาพของผู้อพยพ และผู้แสวงหาลี้ภัย ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ใช่สถานที่รองรับการลี้ภัย แต่ทว่ารัฐบาลไทยยังคงต้องเคารพหลักการไม่ผลักดันบุคคลสู่อันตราย (Non-Refoulement) ซึ่งบัญญัติไว้ในข้อที่ 33 ของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ เพราะบทบัญญัตินี้ยังมีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
 
 
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ( CAT ) ซึ่งในบทที่ 3 ข้อ 3 วรรคที่หนึ่ง บัญญัติว่า ‘รัฐภาคีต้องไม่ขับไล่ ส่งกลับ (ผลักดันกลับออกไป) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน’
 
 
รัฐบาลคสช. ละเมิดสิทธิผู้ลี้ภัยมาแล้ว อย่างน้อย 4 ครั้ง
 
 
แม้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีของอนุสัญญาที่ต้องเคารพหลักการไม่ผลักดันบุคคลสู่อันตราย แต่ทว่าในทางปฏิบัติของรัฐไทย ภายใต้การดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลับปรากฎว่า มีการละเมิดหลักการนี้โดยส่งตัวผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 4 ครั้ง ได้แก่
 
 
หนึ่ง ฮาคีม อัล อาไรบี นักฟุตบอลชาวบาห์เรน
 
 
ฮาคีมถูกสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไทย (สตม.) กักตัวไว้ตามการร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากรัฐบาลบาห์เรน เมื่อเดือนพฤศิจายน 2561 เนื่องจาก ถูกรัฐบาลบาห์เรนตั้งข้อหาว่าทำลายทรัพย์สินของสถานีตำรวจ และถูกตัดสินจำคุก 10 ปี แต่เขาปฏิเสธว่าเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ 
 
 
การตั้งข้อหาดังกล่าวมีการคาดกันว่า มีมูลเหตุจูงมาจาก ฮาคีมออกมาเปิดเผยเรื่องถูกจับกุมและซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่บาห์เรนเเพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพี่ชาย ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกลาง หรือ "อาหรับสปริง" 
 

1056 ภาพ: Banrasdr Photo
ปัจจุบัน ฮาคีมยังถูกกักตัวอยู่ที่ห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหลังศาลอาญากรุงเทพมีคำสั่งขยายเวลากักตัวเขาออกไปอีก 60 วัน และมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุซ้ำรอยกับ กรณีของ อาลี ฮารูน ที่หนีมาไทยหลังจากถูกจับกุมและอ้างว่า ถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่บาห์เรน และถูกส่งตัวกลับทำให้ถูกซ้อมทรมานและจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี 2557
 
 
สอง รวต รุท มุนี นักกิจกรรมแรงงานชาวกัมพูชา
 
 
รวตถูกจับกุมที่ประเทศไทยและส่งกลับประเทศตามหมายจับของรัฐบาลกัมพูชา ในความผิดฐานยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในกัมพูชาเนื่องจากนายมุนีร่วมผลิตสารคดีชื่อ "แม่ขายหนู" เป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงยากจนที่ถูกขายเพื่อค้าประเวณี เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2561
 
 
ทางด้านฮิวแมนไรท์ วอทช์ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลไทยส่งนายมุนีกลับ เนื่องจากมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า เขาอาจถูกฟ้องคดีด้วยเหตุผลทางการเมือง ถูกควบคุมตัวอย่างมิชอบ หรือถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายในกัมพูชา อีกทั้งยังมีนักกิจกรรมแรงงานถูกส่งกลับกัมพูชาถึงแม้ว่าจะได้สถานะลี้ภัยจากสหประชาชาติแล้วก็ตาม ก็คือ สม สุขา ศาลกัมพูชาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังในข้อหาดูหมิ่นและยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยก หลังจากที่เธอขว้างรองเท้าแตะไปที่ป้ายหาเสียงริมถนนของพรรครัฐบาล
 
 
สาม ชาวอุยกูร์อย่างน้อย 109 คน
 
 
ทางการไทยอ้างว่า ได้รับหลักฐานการกระทำผิดของชาวอุยกูร์และการพิสูจน์สัญชาติจากรัฐบาลจีน จึงตัดสินใจจะส่งกลับให้กับฝ่ายจีน เมื่อปี 2558 ทั้งนี้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 มีรายงานข่าวว่า ชาวอุยกูร์ 20 คน หนีออกจากอาคารควบคุมคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คนเหล่านี้เป็นชาวอุยกูร์กลุ่มสุดท้ายจากกว่า 200 คน ที่ถูกทางการไทยควบคุมตัวตั้งแต่ปี 2557 และบางส่วนถูกบังคับส่งตัวกลับไปยังจีนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2558
 
 
สี่  กุ้ย หมินไห่ เจ้าของร้านหนังสือในฮ่องกง
 
 
กุ้ย หมินไห่ได้หายตัวสาบสูญไป โดยเว็บไซต์ข่าวผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า เขาหายตัวไปจากที่พักในเมืองไทยเมื่อช่วงปลายปี 2558 และต่อมาก็มีรายงานข่าวจากสื่อทางการจีนเมือเดือนมกราคม 2559 ว่า เขาออกมาสารภาพผิดในคดีเมาแล้วขับรถชนผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตซึ่งเป็นคดีตั้งแต่ปี 2546 
 
 
ทั้งนี้ กุ้ย หมิ่นไห่นั้นเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีน มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการที่ทางการจีนพาตัวเขาไปนั้นเป็นไปตามกระบวนกฎหมายหรือไม่ และทางการไทยได้มีส่วนรู้เห็นและให้ความร่วมมือกับการพาตัวกุ้ย หมินไห่ด้วยหรือไม่
ชนิดบทความ: