1645 1233 1996 1908 1939 1324 1587 1549 1098 1041 1191 1452 1212 1830 1935 1980 1171 1412 1763 1504 1677 1707 1008 1875 1581 1399 1802 1920 1827 1172 1271 1341 1365 1609 1073 1831 1941 1014 1793 1055 1805 1145 1306 1621 1815 1894 1946 1528 1988 1438 1249 1811 1806 1139 1713 1973 1649 1123 1182 1087 1537 1082 1214 1793 1746 1262 1500 1185 1898 1905 1519 1128 1995 1123 1995 1173 1190 1014 1865 1607 1037 1607 1943 1843 1117 1452 1624 1805 1831 1795 1138 1357 1223 1734 1178 1699 1211 1753 1097 สี่ปี คสช. นักโทษคดี 112 ยังอยู่ในเรือนจำ 36 คน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สี่ปี คสช. นักโทษคดี 112 ยังอยู่ในเรือนจำ 36 คน

 

ข้อมูลเท่าที่ทราบ เกี่ยวกับคดีมาตรา 112 จากการแสดงความคิดเห็น ที่เกิดขึ้นในยุค คสช. และยังคงค้างอยู่จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ครบรอบการอยู่ในอำนาจสี่ปีเต็มของ คสช.

 

คดีที่จำเลยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ 

 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาพิพากษาศาลฎีกา ให้จำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
รายละเอียด: เฉลียว อดีตช่างตัดกางเกง ถูกเรียกรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.ที่ 44/2557 และเดินทางไปรายงานตัวเองเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ระหว่างถูกควบคุมในค่ายทหารถูกสอบสวนโดยใช้เครื่องจับเท็จเกี่ยวกับคลิปเสียง "บรรพต" หลังถูกควบคุมตัวโดยทหารครบเจ็ดวัน ก็ถูกส่งไป บก.ปอท. เพื่อตั้งข้อหาและดำเนินคดีตามมาตรา 112 จากการอัพโหลดคลิปเสียง "บรรพต" ขึ้นเว็บไซต์ 4share ระหว่างการสอบสวนไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว 
 
ต่อมาเมื่อถูกฟ้อง เฉลียวรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือนโดยให้รอลงอาญาโทษจำคุก อัยการยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษเฉลียวสถานหนัก ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้ในเวลาต่อมา ให้เพิ่มโทษจำคุกจาก 1 ปี 6 เดือน เป็น 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา เฉลียวได้รับการประกันตัวระหว่างสู้คดีในชั้นฎีกา และเมื่อ 9 มิถุนายน 2560 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกเฉลียว 5 ปี สารภาพลดโทษเหลือ 2 ปี 6 เดือน ขณะนี้ยังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
 
สถานะคดี: คดีแรก ที่ศาลทหารกรุงเทพ พิพากษาให้จำคุกเป็น 5 ปี ลดเหลือ 3 ปี 4 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
คดีที่สอง ที่ศาลอาญา พิพากษาลงให้จำคุก รรมละห้าปีรวมสามกรรมเป็น 15 ปี ลดเหลือ 7 ปี 6 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
คดีที่สาม ศาลจังหวัดราชบุรีนัดฟังคำพิพากษา 29 มิถุนายน 2561
คดีที่สี่ ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้อง
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำจังหวัดราชบุรี และเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
รายละเอียด: ธานัทถูกจับกุม โดยทหารเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ที่บ้านของเขาในจังหวัดราชบุรี คดีแรก ที่ศาลทหารกรุงเทพ ธานัทถูกกล่าวหาว่า ระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2557 เขากล่าวคำปรายศรัยในลักษณะเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ในเวทีคนเสื้อแดง และมีคนนำคลิปการปราศรัยดังกล่าวเผยแพร่บนระบบอินเทอร์เน็ต 
คดีที่สอง ที่ศาลอาญา เขาถูกกล่าวหาว่า ปราศรัยเข้าข่ายผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยแบ่งงานกันทำกับคนอื่น ธานัทเป็นผู้ปราศรัยในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 ระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หลักสี่ ส่วนผู้กระทำความผิดอื่นนำเทปการปราศรัยดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ระหว่างที่ธานัทกำลังรับโทษสองคดีข้างต้นอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เขาถูกควบคุมตัวไปที่เรือนจำกลางราชบุรีโดยไม่ทราบสาเหตุ ในเดือนมกราคม 2561 เขาจึงได้รับคำฟ้องคดีมาตรา 112 ซึ่งเป็นคดีที่สาม ของเขา โดยคดีนี้ธานัทถูกกล่าวหาว่า กล่าวคำปราศรัยที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2553 ระหว่างการชุมนุมของพรรคเพื่อไทยที่จังหวัดราชบุรี และหลังจากนั้นเขายังถูกกล่าวหาเป็นคดีที่สี่ จากกรณีกล่าวปราศรัยเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ที่จังหวัดลำพูน เมื่อปี 2554
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: ไม่ได้รับประกันตัว ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
รายละเอียด: สิรภพ ขณะถูกจับอายุ 52 ปี เป็นนักกิจกรรมเสื้อแดงที่เน้นทำการณรงค์ผ่านอินเทอร์เน็ตผ่าน โดยใช้นามแฝง “รุ่งศิลา”หรือ “Rungsira”  เขาถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัวแต่ไม่ได้ไป สิรภพถูกควบคุมตัวโดยทหารขณะกำลังเดินทางผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ไปยังจังหวัดอุดรธานี และถูกดำเนินคดีฐานไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. ต่อมากองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) อายัดตัวไปสอบสวนต่อในข้อหาหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ 
 
สิรภพถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการเขียนบทความและบทกลอนลงบล็อกจำนวน 3 ชิ้น ซึ่งถือเป็นความผิดรวม 3 กรรม สิรภพยื่นประกันตัวหลายครั้งแล้ว แต่ศาลทหารกรุงเทพไม่ให้ประกันตัว เขายืนยันที่จะต่อสู้คดีโดยไม่ได้รับสารภาพ จนถึงวันนี้ยังสืบพยานโจทก์ไปได้แค่ 4 ปาก
 
สถานะคดี: คดีแรกถึงที่สุดด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำคุก 6 ปี คดีที่สองถึงที่สุดด้วยคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำคุก 8 ปี รวมสองคดีต้องโทษจำคุก 14 ปี จำเลยยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
รายละเอียด: ปิยะ เป็นอดีตนายหน้าขายหุ้น ถูกจับเมื่อ 11 ธันวาคม 2557 และถูกกล่าวหาในคดีแรกว่า เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “นายพงศธร บันทอน” โพสข้อความหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ ปิยะปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กนี้ และต่อสู้คดี โดยยอมรับด้วยว่า เคยเปลี่ยนชื่อเป็นพงศธร บันทอน ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 9 ปี ลดเหลือ 6 ปี ปิยะอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน 

วันที่ 28 มกราคม 2558 ระหว่างถูกคุมขังอยู่ในคดีแรก พนักงานสอบสวนดีเอสไอ เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในคดีที่สองที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยในคดีที่สองปิยะถูกกล่าวหาว่า ส่งอีเมล์ให้ธนาคารกรุงเทพ มีข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ สองฉบับ โดยหลักฐาน คือ มีการลงชื่อท้ายอีเมล์ด้วยชื่อของเขา ปิยะให้การปฏิเสธว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งอีเมล์ทั้งสองฉบับนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปิยะมีความผิดจากการส่งอีเมล์หนึ่งฉบับ พิพากษาให้จำคุก 8 ปี ต่อมาปิยะยื่นอุทธรณ์และขอถอนอุทธรณ์ในภายหลัง
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก 50 ปี ลดโทษเหลือ 25 ปี เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างรับโทษที่เรือนจำคลองเปรม
รายละเอียด: เธียรสุธรรมขณะถูกจับกุม อายุ 58 ปี มีภรรยาและลูกสองคนที่กำลังศึกษาอยู่ที่ต้องส่งเสียเลี้ยงดู ถูกตำรวจจับกุมที่บ้านเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “ใหญ่ แดงเดือด” โพสต์วิจารณ์ คสช.และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงการพาดพิงสถาบันกษัตริย์ฯ ทั้งหมด 5 โพสต์ จำเลยให้การรับสารภาพทันที ศาลทหารสั่งให้ลงโทษจำคุกโพสต์ละ 10 ปี โทษเมื่อรวมแล้วจึงเป็นโทษจำคุก 50 ปี สูงที่สุดเที่บันทึกได้ในขณะนั้น 
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุก 60 ปี ลดเหลือ 30 ปี เพราะให้การรับสารภาพ 
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำคลองเปรม
รายละเอียด: พงษ์ศักดิ์ ถูกจับกุมตัววันที่ 30 ธันวาคม 2557 ที่สถานีขนส่งพิษณุโลก และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เผยแพร่รูปภาพและข้อความที่อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ บนเฟซบุ๊กชื่อ "Sam parr" จำนวน 6 ข้อความ ซึ่งถือเป็นความผิดจำนวน 6 กรรม ตามความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จำเลยรับสารภาพทันที ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ให้ลงโทษจำคุกโพสต์ละ 10 ปี เมื่อรวมแล้วจึงเป็นโทษจำคุก 60 ปี สูงที่สุดเที่บันทึกได้ในขณะนั้น 
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลทหารสระแก้วพิพากษาลงโทษจำคุก 18 ปี ลดเหลือ 9 ปี เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: คาดว่า รับโทษอยู่ที่เรือนจำในจังหวัดสระแก้ว 
รายละเอียด: ชโย อัญชลีวัชร ขณะถูกจับกุมอายุ 59 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Uncha Unyo” เผยแพร่รูปภาพและข้อความในกล่องสนทนาที่มีลักษณะเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ 
 
ชโยถูกจับกุมเมื่อเดือน มกราคม 2558  โดยเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังบูรพาเกือบ 30 นาย  มาควบคุมตัวชโยหน้าที่ว่าการอำเภอ ขณะชโยเดินไปทำงาน กระทั่งถูกดำเนินคดีเรื่อยมาที่ศาลทหาร ในจังหวัดสระแก้ว และถูกศาลทหารลงโทษจำคุก 18 ปี สารภาพลดโทษเหลือ 9 ปี 
 
สถานะคดี: ถูกฟ้องตามมาตรา 112 ทั้งหมด 29 กรรม อยู่ระหว่างสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: ไม่ได้รับประกันตัว ถูกจำคุกที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
รายละเอียด: อัญชัญเป็นข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งและประกอบธุรกิจขายตรงบนอินเทอร์เน็ต เธอถูกทหารพร้อมอาวุธบุกเข้าจับกุมที่บ้าน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อัพโหลดและเผยแพร่คลิปเสียงของ "บรรพต" มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และถูกฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถึง 29 กรรม จากคลิป 29 คลิป โดยเคยยื่นขอประกันตัวแล้วแต่ศาลทหารกรุงเทพไม่อนุญาตให้ประกันตัว อัญชัญให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี ซึ่งคดีของอัญชัญยังดำเนินไปอย่างช้าๆ เพราะมีการเลื่อนการสืบพยานหลายครั้ง
 
สถานะคดี: คดีสิ้นสุดแล้ว ศาลพิพากษาให้จำคุก 35 ปี ลดเหลือ 18 ปี 24 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำคลองเปรม
รายละเอียด: ธาราเอาลิงก์คลิปเสียงของบรรพตที่อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ มาฝังไว้บนเว็บไซต์ www.okthai.com ที่เขาเป็นเจ้าของ เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 และต่อมาถูกตั้งข้อหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (3) (5) เป็นจำนวนหกกรรม เบื้องต้นเขาปฏิเสธ และต้องการต่อสู้คดีว่า เขาทำเว็บไซต์ด้านสุขภาพเพื่อหารายได้จากโฆษณา ซึ่งเขาเอาลิงก์คลิปเสียงมาใช้เพราะมีเรื่องสุขภาพอยู่ด้วย และไม่ได้ฟังทุกคลิปก่อนเอามาใช้ แต่ธาราไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และการสืบพยานใช้เวลานานกว่าหนึ่งปีแล้วยังไมีความคืบหน้า ธาราจึงเปลี่ยนใจรับสารภาพ
 
9 สิงหาคม 2560 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยกรรมละ 5 ปี เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือกรรมละ 3 ปี 4 เดือน จำเลยกระทำความผิดคิดเป็น 6 กรรม รวมโทษจำคุกเป็น 18 ปี 24 เดือน
 
สถานะคดี: สิ้นสุดแล้ว ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 5 ปี
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลาง
รายละเอียด: "ทวีสิน" และ "ขวัญใจ" เป็นชื่อสมมติของจำเลยร่วมในคดีเผยแพร่คลิปเสียงใน “เครือข่ายบรรพต” ซึ่งตอนแรกมีจำเลย 12 คนร่วมกันในคดีเดียว แต่ทั้งสองปฏิเสธข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดี ขณะที่จำเลยคนอื่นรับสารภาพ ศาลทหารกรุงเทพจึงจำหน่ายคคดีทั้งสองออกจากคดีเครือข่ายบรรพต และให้อัยการทหารฟ้องแยกเป็นคดีใหม่สำหรับจำเลยสองคน
 
ต่อมา "ทวีสิน" เปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลพิพากษาให้จำคุก 10 ปี และลดเหลือ 5 ปี และหลังจากนั้นไม่นาน "ขวัญใจ" ก็กลับคำให้การเป็นรับสารภาพ และได้รับโทษเช่นเดียวกัน ทั้งสองคนเปลี่ยนใจเป็นรับสารภาพเนื่องจากเห็นว่าการต่อสู้คดีใช้เวลานานเกินไป และรับโทษจำคุกตามที่ศาลตัดสินและลดโทษให้
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาให้ 56 ปี ลดโทษเหลือ 28 ปี เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 
รายละเอียด: ศศิวิมล หรือ อีกชื่อหนึ่ง คือ ศศิพิมล อายุ 29 ปี เป็นพนักงานของโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้มีความสนใจทางการเมือง ไม่ได้ติดตามข่าวสารทางการเมือง เธอถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อ “รุ่งนภา คำภิชัย” โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ รวม 7 ข้อความ ซึ่งชื่อของรุ่งนภาเป็นคนที่มีปัญหากันในทางชู้สาว 
 
คดีนี้เป็นข่าวเศร้า เมื่อศศิวิมลถูกพิพากษาให้จำคุกนาน 28 ปี เพราะเธอมีลูกเล็กสองคนและแม่ที่แก่ชราอีกหนึ่งที่เธอยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู ทำให้ลูกสองคนต้องอยู่กับยายแทน โดยที่จริงแล้ว เธอต้องการปฏิเสธว่า ไม่ได้กระทำความผิด แต่ทนายอาสาที่ศาลตั้งให้ไม่มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือคดี จึงต้องตัดสินใจรับสารภาพ 
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้วศาลทหารกรุงเทพ พิพากษาให้จำคุก 14 ปี 60 เดือน ลดเหลือ 7 ปี 30 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: รับโทษอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
รายละเอียด: ก่อนถูกจับกุมชญาภา อายุ 48 ปี เป็นพนักงานบัญชีของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ตอนที่ถูกจับเธอถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า จะมีการปฏิวัติซ้อน และคดีนี้เป็นที่รับรู้กันว่า เป็นคดีที่โพสต์ข่าวลือการปฏิวัติซ้อน แต่ต่อมาเมื่อถูกตั้งข้อหา เธอถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กบางข้อความด้วย ตำรวจและทหารบุกเข้าจับกุมที่บ้านเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2558 ระหว่างการพิจารณาคดีชญาภาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกฟ้องรวม 5 กรรม 
 
ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 เธอถูกพาตัวมาที่ศาลทหารกรุงเทพ โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ไม่มีญาติและทนายความาด้วย ชญาภายังไม่ได้มีโอกาสปรึกษากับทนายความว่า จะต่อสู้คดีหรือไม่อย่างไร ทั้งที่เธอเห็นว่า ข้อความที่เธอโพสต์ไม่ใช่ข้อความที่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อมาศาล ชญาภาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาและศาลมีคำพิพากษาทันที
 
14. ณัฏฐธิดา 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: ไม่ได้ประกันตัว อยู่ทัณฑสถานหญิงกลาง
รายละเอียด: ณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือแหวน ขณะถูกจับอายุ 37 ปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ถูกฟ้องในข้อหาโดยแจ้งข้อหา ก่อการร้าย, อั้งยี่ซ่องโจร, ใช้และครอบครองอาวุธสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาต, พยายามฆ่า ศาลเหตุการณ์มีคนปาระเบิดใส่อาคารศาลอาญา ต่อมาณัฏฐิดาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในคดีดังกล่าว แต่ถูกอายัดตัวต่อเพื่อดำเนินคดีในข้อหามาตรา 112 จากการส่งข้อความในกลุ่มไลน์ ขณะที่จำเลยยืนกรานว่า ข้อความที่ถูกเอามาฟ้องไม่ใช่ข้อความของเธอ และขอต่อสู้คดี ศาลทหารกรุงเทพก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวในระหว่างสู้คดี
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารขอนแก่น
สถานะผู้ต้องหา: ไม่ได้ประกันตัว อยู่เรือนจำในจังหวัดขอนแก่น
รายละเอียด: ผู้ต้องหา 5 คน ถูกจับกุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยฝ่ายความมั่นคงออกข่าวว่า มีผู้ต้องสงสัยร่วมกันวางแผนก่อความวุ่นวายในกิจกรรม Bike for Dad และเตรียมประทุษร้ายบุคคลสำคัญทางการเมือง 2 คนแต่ต่อมาถูกออกหมายจับในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการพูดคุยกันขณะถูกคุมขังในเรือนจำด้วยคดีทางการเมืองคดีอื่น ไม่เกี่ยวกับกิจกรรม Bike for Dad ช่วงแรกผู้ต้องหาคดีนี้ถูกควบคุมในเรือนจำพิเศษในมทบ.11 ซึ่งทนายความประสบปัญหาถูกคุมคามเวลาเข้าเยี่ยม ต่อมาคดีถูกโอนไปพิจารณายังศาลทหาร ในจ.ขอนแก่น 
 
ผู้ต้องหาทั้งห้าคน ได้แก่ ประธิน, พาหิรัญ, วีระชัย, วัลลพ, ธนกฤต ต่างปฏิเสธและขอต่อสู้คดี โดยยืนยันว่า พวกเขาถูกใส่ร้าย ไม่ได้พูดจาในลักษณะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามที่ถูกฟ้อง โดยยื่นประกันตัวแล้วศาลทหารขอนแก่นไม่อนุญาตให้ประกันตัว ขณะที่การพิจารณาคดีก็ดำเนินไปอย่างล่าช้า
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารขอนแก่น
สถานะผู้ต้องหา: ไม่ได้ประกันตัว อยู่เรือนจำในจังหวัดขอนแก่น
รายละเอียด: ณัฐพล รู้จักกับ จ.ส.ต.ประธิน จำเลยคดีผู้ต้องหาป่วนกิจกรรม Bike for Dad ทั้งสองรู้จักกันในเรือนจำจังหวัดขอนแก่น หลังถูกปล่อยออกมาทั้งสองยังติดต่อกันและถูกจับกุมอีกครั้งในเดือน พฤศจิกายน 2558 ทั้งคู่ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 จากการส่งไลน์พูดคุยกัน และจากการที่จ.ส.ต.ประธินจดบันทึกลงในสมุดโน็ตส่วนตัว หลังถูกจับ ทั้งสองถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษแขวงนครชัยศรี ค่ายมทบ.11 กว่าสามเดือน ก่อนที่จะขอโอนคดีกลับไปต่อสู้ที่ศาลทหารขอนแก่น
 
ณัฐพล ปฏิเสธและขอต่อสู้คดี แต่ศาลทหารขอนแก่นไม่ให้ประกันตัว และดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีอย่างล่าช้า
 
สถานะคดี: คดีสิ้นสุดแล้ว ศาลพิพากษาให้จำคุก 70 ปี ลดเหลือ 30 ปี 60 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำคลองเปรม
รายละเอียด: วิชัย เป็นคนเชียงใหม่ ขณะถูกจับอายุ 33 ปี เขาถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ, แอบอ้างสร้างชื่อบัญชีเฟซบุ๊กปลอม และนำภาพถ่ายคนอื่นไปใช้รูปประจำโปรไฟล์ในเพจปลอม และโพสต์ข้อความและภาพถ่ายรวมทั้งแชร์ข้อมูลในลักษณะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ 10 ครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ก่อนถูกจับกุมในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ระหว่างสอบสวนและพิจารณาคดีไม่ได้ยื่นขอประกันตัวเพราะไม่มีหลักทรัพย์ และถูกคุมขังตลอดมา โดนญาติได้รับความเดือดร้อนเพราะต้องเดินทางจากเชียงใหม่มาเยี่ยมที่กรุงเทพฯ
 
เบื้องต้นวิชัยให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี แต่ต่อมากลับคำให้การเป็นรับสารภาพ เพราะเห็นว่า การต่อสู้คดีใช้เวลานานเกินไป ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุกการโพสต์ครั้งละ 7 ปี รวมเป็น 70 ปี และลดโทษให้ครึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยรับสารภาพเหลือโทษจำคุก 30 ปี 60 เดือน คดีนี้เป็นสถิติคดีสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกไว้
 
สถานะคดี: สิ้นสุดแล้ว ศาลพิพากษาให้จำคุก 10 ปี 16 เดือน
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
รายละเอียด: บุรินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมยืนเฉยๆ กับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ในวันที่ 28 เมษายน 2559 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนแปดคนที่ถูกควบคุมตัวไปก่อนหน้านี้ แล้วบุรินทร์ถูกควบคุมตัวไปที่ สน.พญาไทก่อนถูกอายัดตัวไปไว้ที่ค่ายทหาร ก่อนถูกฟ้องในความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยอ้างว่า เจ้าหน้าทีติดตามสังเกตการโพสต์เฟซบุ๊กของเขามาสักระยะหนึ่งแล้ว กระทั่งพบว่า มีการโพสต์ข้อความโจมตี คสช. และแชทพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดสองกรรม
 
24 มกราคม 2560 บุรินทร์ถูกพาไปขึ้นศาลและให้การรับสารภาพ 27 มกราคม 2560 ว่าบุรินทร์มีความผิด 2 กรรม กรรมแรก คือ ฐานดูหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และองค์รัชทายาท จากการโต้ตอบกันในกล่องสนทนา ลงโทษจำคุก 7 ปี เนื่องจากบุรินทร์เคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษมาไม่ถึงห้าปี จึงให้เพิ่มโทษ 1 ใน 3 รวมเป็นจำคุก 9 ปี 4 เดือน เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน กรรมที่สอง ความผิดฐานหมิ่นประมาณพระมหากษัตริย์ จากการโพสต์บนเฟซบุ๊ก ลงโทษจำคุก 10 ปี เพิ่มโทษ 1 ใน 3 เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 6 ปี 8 เดือน รวมทั้งสองกรรมแล้วบุรินทร์จะต้องรับโทษจำคุก 10 ปี 16 เดือน
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างชั้นสืบพยานที่ศาลทหารจังหวัดชลบุรี
สถานะผู้ต้องหา: ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำในจังหวัดชลบุรี ไม่ได้ประกันตัวเพราะศาลยังไม่สั่ง
รายละเอียด: เกษร เป็นผู้ป่วยทางจิตที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 13 ข้อความ ในจำนวนนั้น หลายข้อความเป็นการกล่าวถึงพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ใช่บุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บางข้อความโพสต์ขณะที่ คสช. ประกาศกฎอัยการศึก ทำให้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ในศาลทหาร
 
หลังถูกจับกุมเกษรถูกส่งตัวไปรักษาอาการที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์อยู่พักนึง ก่อนถูกส่งตัวกลับมาคุมขังในเรือนจำ โดยศาลยังไม่ได้กำหนดวันนัดพิจารณาคดี เนื่องจากแพทย์ยังมีความเห็นว่า ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แต่ทางญาติของเกษรยื่นขอประกันตัวไปตั้งแต่ปลายปี 2560 แล้ว แต่ศาลก็ยังไม่สั่งว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
 
สถานะคดี: คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาจำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน เพราะให้การรับสารภาพ
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างรับโทษที่เรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น 
รายละเอียด: 2 ธันวาคม 2559 เวลาประมาณ 5.07 น. บัญชีเฟซบุ๊กชื่อ Pai Jatupat ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กส่วนตัวของจตุภัทร์ หรือ ไผ่ แชร์บทความพระราชประวัติพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย โดยได้คัดลอกข้อความบางส่วนในบทความดังกล่าวมาโพสต์ประกอบบนสเตตัสด้วย พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี รักษาการหัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 23 ซึ่งพบการแชร์บทความดังกล่าวเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจตุภัทร์ต่อพนักงานสอบสวนสภ.เมืองขอนแก่น  
 
ในวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ตำรวจจับกุมตัวจตุภัทร์ระหว่างร่วมกิจกรรม “ธรรมยาตราลุ่มน้ำประทาว” ในความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จตุภัทร์ถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจหนึ่งคืนก่อนที่ศาลจังหวัดขอนแก่นจะอนุญาตให้เขาประกันตัวในวันต่อมา ตอนแรกจตุภัทร์ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว แต่ต่อมาวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งให้ถอนประกันจตุภัทร์ตามที่พนักงานสอบสวนร้องต่อศาล โดยระบุเหตุผลว่า จตุภัทร์ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว และถูกคุมขังที่เรือนจำกลางขอนแก่นเรื่อยมา เมื่อถูกนำตัวไปศาล ศาลก็สั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ทำให้ผู้ที่มาติดตามคดีกว่า 30 คน เข้าฟังไม่ได้ 
 
15 สิงหาคม 2560 หลังสืบพยานไปได้แล้วสองวัน จตุภัทร์กลับคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลพิพากษาให้จำคุก 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  ไม่ได้รับการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
รายละเอียด: สุริยศักดิ์ เป็นแกนนำนปช.จังหวัดสุรินทร์ ถูกจับกุมร่วมกับผู้ต้องหาอีกแปดคน โดยถูกกล่าวหาว่าเป็น "เครือข่ายโกตี๋" ที่สะสมกำลังอาวุธ สุริยศักดิ์ถูกตั้งข้อกล่าวหา ก่อการร้ายจากการชุมนุมในปี 2553 และข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 จากการส่งข้อความทางไลน์ ขณะที่ผู้ต้องหาอีกแปดคนถูกตั้งข้อกล่าวหาครอบครองอาวุธและก่อการร้าย
 
ต่อมาผู้ต้องหาคนอื่นในคดีเดียวกันได้รับการปล่อยตัวไป มีเพียงสุริยศักดิ์ที่ยังถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อยู่ที่ศาลทหารกรุงเทพ โดยจำเลยขอประกันตัวหลายครั้งแล้ว และปฏิเสธขอต่อสู้คดี แต่ศาลทหารกรุงเทพไม่ให้ประกันตัว
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาที่ศาลอาญา 
สถานะผู้ต้องหา: ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  ไม่ได้รับการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
รายละเอียด: ประเวศทนายความที่เคยว่าความให้จำเลยคดี 112 อย่างน้อยสองคน ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวในวันที่ 29 เมษายน 2560 และถูกนำตัวไปควบคุมที่มทบ.11 ก่อนจะถูกนำตัวไปฝากขังกับศาลอาญา และส่งเข้าเรือนจำ โดยศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และถูกตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก รวม 10 กรรม 
 
ประเวศเคยยื่นขอประกันตัวแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ประเวศจึงแสดงออกโดยการไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ขอแต่งตั้งทนายความ ไม่ขอถามค้านพยานโจทก์ ไม่ขอลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคดี ซึ่งการสืบพยานในคดีนี้เสร็จไปแล้วโดยใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษา 23 พฤษภาคม 2561
 
สถานะคดี: สิ้นสุดแล้ว ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 8 ปี ลดเหลือ 4 ปี
สถานะผู้ต้องหา: อยู่ระหว่างการรับโทษที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ 
รายละเอียด: เอกฤทธิ์ เป็นหลานของหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "อดิศักดิ์ สกุลเงิน" ถูกทหารจับกุมในวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 จากการโพสต์เฟซบุ๊กเป็นรูปภาพและข้อความพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ เอกฤทธิ์ให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน แต่ให้การรับสารภาพทันทีเมื่อไปศาลนัดแรก ศาลอาญาพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 8 ปี ลดเหลือ 4 ปีในวันที่ 3 สิงหาคม 2560
 
28.-35. เยาวชน 8 คน
สถานะคดี: แบ่งเป็น2 คดี คดีแรกศาลจังหวัดพลพิพากษาจำคุก จำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 4 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 จำคุก 7 ปี รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 5 ปี 20 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 รวมจำคุก 10 ปี  จำเลยรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 2 ปี 16 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 คงจำคุก 5 ปี
คดีที่สอง (จำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยที่ 1-4ของคดีแรก ) ศาลจังหวัดพลพิพากษา จำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 10 ปีจำเลยรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง  ให้นับโทษต่อจากคดีแรก
สถานะผู้ต้องหา: ผู้ต้องหา 8 คน อยู่ระหว่างรับโทษที่เรือนจำอำเภอพล และแยกเยาวชนชายไปควบคุมตัวไว้ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น
รายละเอียด: เหตุการณ์เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดขอนแก่นเมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2560 ทหารและตำรวจเข้าจับกุมเยาวชนชาย (อายุ 14 ปี) 1 คน วัยรุ่นชาย (อายุ 18-20 ปี) 6 คน จากบ้านและสถานศึกษาในตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท และชายวัย 25 ปี 1 คน จากอำเภอโนนศิลา รวมทั้งตามจับชายวัย 64 ปี อีก 1 คน ที่ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  นำไปควบคุมตัวที่มณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น และมณฑลทหารบกที่ 11 กรุงเทพฯ รวม 6 วัน พฤษภาคม 2560 พนักงานอัยการจังหวัดพลยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดพล รวม 3 คดี และมีคดีที่แยกฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น 1 คดี ทั้งหมดมีข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมอยู่ด้วย
 
36. สกันต์ 
สถานะคดี: ระหว่างการสืบพยาน นัดหมายสืบพยานโจทก์ในวันที่ 16 ตุลาคม 2561
สถานะผู้ต้องหา: คุมขังระหว่างการพิจารณาคดี
รายละเอียด: สกันต์เคยเป็นจำเลยที่ถูกศาลพิพากษาจำคุกในคดีทางการเมืองเกี่ยวกับเหตุการณ์ปี 2553 และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่สกันต์กำลังจะถูกปล่อยตัวจากเรือนจำเนื่องจากรับโทษครบกำหนด ตำรวจก็มาอายัดตัวเขาต่อเพื่อไปดำเนินคดีในข้อหามาตรา 112 
 
อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี โดยตามคำฟ้องระบุว่า จำเลยขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะกำลังชมรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดภาพการปฏิบัติพระกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพได้เปิดให้ดู จำเลยได้บังอาจพูดจากดูหมิ่น ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลย ขณะเป็นผู้ต้องขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะที่ทางเรือนจำจัดพิธีถวายความเคารพเนื่องในวันพ่อแห่งชาติร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติพระบรมราชินีนาถ ขณะผู้ต้องขังกำลังร้องเพลงดังกล่าว จำเลยได้บังอาจพูดจาดูหมิ่น และต้นเดือนธันวาคม 2557 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจพูดจาลักษณะดูหมิ่นอีกครั้ง จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และขอต่อสู้คดีที่ศาลอาญา
 

 

 
คดีที่จำเลยไม่ต้องอยู่ในเรือนจำ
 
สถานะคดี: อภิชาตได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังต่อ
สถานะผู้ต้องหา: คดีค้างอยู่ระหว่างการพิจารณาชั้นสืบสวนสอบสวน
รายละเอียด: อภิชาตเข้าร่วมการชุมนุมต้านรัฐประหารที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และเป็นคนแรกที่ถูกทหารจับกุมตัว ต่อมาถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. 7/2557, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216 และ มาตรา 368 เป็นคดีที่ศาลแขวงปทุมวัน ซึ่งล่าสุดศาลพิพากษาให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท รอลงอาญา 
 
ระหว่างการสืบสวน อภิชาตถูกทหารยึดมือถือไปตรวจค้นและพบว่าอภิชาตเคยโพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กที่มีลักษณะเข้าข่ายมาตรา 112 จึงถูกตั้งข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมฯ 14(3) เบื้องต้นอภิชาตถูกฝากขังโดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว แต่ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งยกคำร้องขอฝากขังในผลัดที่ 3 อภิชาตจึงถูกปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข และคดียังค้างอยู่โดยไม่เร่งรีบดำเนินการ 
 
สถานะคดี: ทั้งสองคดีอยู่ในชั้นสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ 
สถานะผู้ต้องหา: บัณฑิตได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้ง 2 คดี ด้วยหลักทรัพย์ 400,000 บาท 
รายละเอียด: บัณฑิตถูกดำเนินคดีแรก จากการแสดงความเห็นในเวทีระดมความเห็นเรื่องการปฏิรูปประเทศของพรรคนวัตกรรม เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 คำพูดตอนหนึ่งของเขาถูกเข้าใจว่าเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในงานเสวนาด้วยเข้าจับกุมบัณฑิตในที่เกิดเหตุ ต่อมาบัณฑิตได้รับการปล่อยตัวชั่วคราววันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ด้วยเงินประกัน 400,000 บาท 
ต่อมาถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาเดิม อีกครั้ง หลังแสดงความคิดเห็นหลังการเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” จัดโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2558 และถูกจับเมื่อเดินพฤศจิกายน 2559 และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเงินประกัน 400,000 บาท 
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: แพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยทางจิต และได้ประกันตัว
รายละเอียด: 19 กุมภาพันธ์ 2558 ประจักษ์ชัยเดินทางไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมที่ทำเนียบรัฐบาล คำร้องที่เขายื่นถูกมองว่าเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เขาจึงถูกจับกุมตัว ญาติเชื่อว่าประจักษ์ชัยทำความผิดไปเพราะมีอาการทางจิต ประจักษ์ชัยถูกส่งตัวไปตรวจรักษาอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ แล้วพบว่ามีอาการหลงผิดชัดเจน มีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งถือว่าเป็นโรคจิตเภท
 
ขั้นแรกศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เนื่องจากจำเลยวิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีได้ โดยให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 100,000 บาท ต่อมาศาลไต่สวนแพทย์แล้วสั่งให้ยกคดีกลับมาพิจารณาต่อ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ โดยประจักษ์ชัยต้องเดินทางไปกลับระหว่างบ้านที่ศรีสะเกษกับศาลที่กรุงเทพเพื่อมาเข้าร่วมในการพิจารณาคดีตลอด
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: แพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยทางจิต และได้ประกันตัว
รายละเอียด: เสาร์เป็นคนชาติพันธุ์ไทลื้อ ไม่มีสัญชาติไทย อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย วันที่ 13 มีนาคม 2558 เสาร์เดินทางไปยื่นคำร้องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และอ้างว่าตนเองติดต่อการงานกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทำให้เสาร์ถูกตั้งข้อหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112
 
พนักงานอัยการเนื่องจากเห็นว่า ให้งดการสอบสวนและส่งเสาร์เข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ จนกว่าจะหายหรือสามารถต่อสู้คดีได้ ซึ่งผลตรวจปรากฏออกมาแล้วว่า เป็นผู้ป่วยจิตเภท ในทางคดีจำเลยจึงต่อสู้โดยอ้างว่า กระทำความผิดไปโดยอาการป่วย คดียังอยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ 
สถานะผู้ต้องหา: ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
รายละเอียด: เดือนธันวาคม 2558 ฐนกร ถูกจับกุมกล่าวหาว่า คัดลอกและแชร์ภาพแผนผังทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์บนเฟซบุ๊ก หลังถูกจับกุมฐนกรถูกนำไปควบคุมไว้ในสถานที่ปิดลับ 7 วัน หลังถูกควบคุมตัวครบกำหนดเขาถูกตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่ม รวมแล้วเขาถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯสองกรรม จากการโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงและกดไลก์ภาพที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และมาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อีกหนึ่งกรรม จากการโพสต์เรื่องผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์ และถูกฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพ เบื้องต้นฐนกรไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวและถูกส่งเข้าไปอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ต่อมาเมื่อคดีขึ้นสู่ชั้นศาลฐนกรได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยหลักทรัพย์ 500,000 บาท 
 
หลังได้รับการปล่อยตัว ฐนกรไปบวชเป็นพระภิกษุ และยังคงต้องเดินทางมาศาลทหารกรุงเทพเรื่อยๆ เพื่อร่วมฟังการพิจารณาคดีของเขา โดยศาลทหารกรุงเทพเคยขอให้เขาสึกจากสมณเพศเพื่อดำเนินคดี
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างจำหน่ายคดี เนื่องจากจำเลยมีอาการป่วย
สถานะผู้ต้องหา: แพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยทางจิต และได้ประกันตัว
รายละเอียด: ฤาชาอดีตทหารยศจ่าสิบเอกถูกเจ้าหน้าที่กว่า 20 นายเข้าจับกุมที่บ้านในจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559  เจ้าหน้าที่แจ้งฤาชาด้วยวาจาว่าเขาถูกจับเพราะโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระราชินีและองค์รัชทายาท ฤาชาถูกนำตัวมาที่มทบ.11 เพื่อสอบสวนและก่อนจะถูกส่งตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในชั้นสอบสวน ฤาชาถูกกล่าวหาว่า โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระราชินี และองค์รัชทายาทบนเฟซบุ๊กรวมสามโพสต์ เป็นความผิดสามกรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 
 
หลังถูกจับฤาชาส่งตัวไปตรวจอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โดยแพทย์ลงความเห็นว่า ป่วยเป็นโรคจิตเภทอย่างรุนแรง ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ต้องพักรักษาตัว โดยยังไม่แน่ว่าจะหายเมื่อไร ศาลทหารกรุงเทพจึงสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าจำเลยจะหายและสามารถต่อสู้คดีได้ เพื่อรื้อฟื้นคดีกลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้านฤาชายังมีความเชื่อเหมือนเดิมว่า ตัวเองไม่ได้ป่วย แต่มีพระแม่ธรณีมาเข้าสิงอยู่ในร่างตัวเองและคอยทำสิ่งต่างๆ รวมทั้งการโพสต์เฟซบุ๊กด้วย
 
สถานะคดี: ยังอยู่ระหว่างการพิจาณาที่ศาลทหารกรุงเทพ
สถานะผู้ต้องหา: ได้ประกันตัว
รายละเอียด: พัฒนรี เป็นแม่ของสิรวิชญ์หรือจ่านิว นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ถูกจับด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เนื่องจากตอบโต้บทสนทนาผ่านกล่องข้อความเฟซบุ๊คกับบุรินทร์ ผู้ต้องหาอีกคดีหนึ่ง โดยใช้คำว่า "จ้า" อัยการทหารฟ้องพัฒน์นรีต่อศาลทหารในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 โดยอธิบายว่า การตอบรับว่า "จ้า" ไม่ห้ามปรามก็เป็นความผิดด้วย พัฒน์นรีได้รับการประกันตัวในวันเดียวกันด้วยหลักทรัพย์ 500,000 บาท
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยาน นัดหมายอีกครั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2561
สถานะผู้ต้องหา: หฤษฏ์และณัฏฐิกาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาในเดือนมีนาคม 2561 ณัฏฐิกาได้เดินทางลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา
รายละเอียด: หฤษฏ์ และ ณัฏฐิกา สองในแปดแอดมินเพจที่ถูกจับฐานทำเพจล้อเลียน พล.อ.ประยุทธิ์ ถูกอายัดตัวและแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯตามมาตรา 112 เพิ่มเติม ก่อนควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองรายไปขออำนาจศาลทหารกรุงเทพฝากขังเพื่อรอดำเนินคดีต่อไป ทั้งสองถูกฝากขังที่ศาลทหารตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ก่อนได้ประกันตัวในชั้นฝากขังผัดที่ 6 ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 โดยหลักทรัพย์ประกันตัวคนละ 500,000 บาท
 
ทั้งสองคนให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม 2561 ณัฏฐิกาไม่ปรากฏตัวศาลทหารกรุงเทพในนัดสืบพยานคดียุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ของแปดแอดมินเพจเฟซบุ๊ก "เรารักพลเอกประยุทธ์"  วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายจำเลยและนายประกันแถลงต่อศาลว่า วันนี้ถือเป็นการผิดนัดครั้งที่สองของณัฏฐิกาและคิดว่า นัดครั้งต่อไปคงไม่สามารถตามตัวณัฏฐิกามาศาลได้อีก ขอศาลใช้ดุลพินิจในการออกหมายจับเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าไปมากกว่านี้ ศาลทหารจึงพิจารณาออกหมายจับณัฏฐิกา นัดสืบพยานอีกครั้งวันที่ 1 มิถุนายน 2561
 
 
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างชั้นสืบพยานที่ศาลทหารจังหวัดเชียงราย 
สถานะผู้ต้องหา: ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยหลักทรัพย์ 100,000 บาท 
รายละเอียด: สราวุทธิ์ เป็นช่างตัดแว่นในจังหวัดเชียงราย ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 หลังถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ในอิริยาบถส่วนพระองค์ ประกอบกับข้อความในลักษณะหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559  ตำรวจนัดสราวุทธิ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหา เขาให้การปฏิเสธ และถูกคุมขังในเรือนจำ และมาได้รับการประกันตัวหลังถูกควบคุมไปเเล้ว 38 วัน 
 
ระหว่างได้รับการประกันตัว สราวุทธิ์ ก็ให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี คดีของเขายังอยู่ระหว่างการสืบพยานไปอย่างเงียบๆ 
 
11. สุธี 
สถานะคดี: ไม่ทราบสถานะคดี
สถานะผู้ต้องหา: ได้ประกันตัว
รายละเอียด: ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สุธี ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ชาวภูเก็ตจำนวนหนึ่งเข้าล้อมบ้านที่เป็นร้านขายน้ำเต้าหู้อยู่หลายชั่วโมง ต่อมาสุรทิน เลี่ยนอุดม จึงนำเรื่องเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองภูเก็ต ฝ่ายสืบสวนได้สืบค้นเฟซบุ๊กของสุธีและนำข้อความที่สันนิษฐานว่า เข้าข่ายการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จำนวน 10 ข้อความ 
 
สถานะคดี: อยู่ระหว่างการสืบพยานในศาลจังหวัดชลบุรี
สถานะผู้ต้องหา: ปล่อยตัวชั่วคราว
รายละเอียด: ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กขายเหรียญ และโต้เถียงกับผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงหลังเหตุการณ์สวรรคต ของรัชกาลที่ 9 เขาถูกประชาชนบุกไปพาตัวออกมาจากหอพัก ทำร้ายร่างกาย และบังคับให้กราบพระบรมฉายาลักษณ์ ก่อนถูกจับส่งตำรวจเพื่อดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรพานทอง และถูกส่งตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง และส่งเข้าเรือนจำ 
 
เบื้องต้นศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว แต่เมื่อยื่นขอประกันตัวใหม่ ศาลอนุญาตด้วยหลักทรัพย์ 150,000 บาท จำเลยปฏิเสธว่า สิ่งที่โพสต์ไม่ได้เป็นความผิดต่อกฎหมาย และขอต่อสู้คดี โดยมีนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยครั้งต่อไปวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2561
 
สถานะคดี: อยู่ในชั้นอัยการ
สถานะผู้ต้องหา: ปล่อยตัวชั่วคราว
รายละเอียด: 24 ตุลาคม 2559 ระหว่างที่อมรโชติซิงห์ ชาวไทยเชื้อสายซิกข์ กำลังซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง มีชายแปลกหน้าสองคนเข้ามถามว่าทำไมจึงใส่เสื้อสีชมพู หลังจากพวกเขาทะเลาะกันที่ห้างและตำรวจเข้ามาระงับเหตุ อมรโชติซิงห์ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 จากการดูหมิ่นรัชกาลที่ 9 ตามที่ชายทั้งสองกล่าวหา
 
ระหว่างการสอบสวน อมรโชติซิงห์ถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจบุปผารามสองวัน เขาปฏิเสธว่าไม่ได้กล่าวคำเหล่านั้น ตำรวจและทหารยังไปที่บ้านและค้นข้าวของ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ของเขา ต่อมาศาลอาญาธนบุรีให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 250,000 บาท และในนัดที่ต้องฟังคำสั่งว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ของอัยการ อัยการเลื่อนการสั่งคดีออกไปก่อน