1835 1480 1272 1359 1249 1777 1508 1493 1882 1467 1628 1020 1511 1986 1109 1690 1421 1845 1977 1424 1850 1246 1241 1163 1445 1891 1278 1452 1267 1934 1593 1321 1793 1707 1369 1995 1331 1577 1979 1697 1370 1497 1499 1437 1386 1143 1995 1993 1631 1557 1830 1219 1792 1734 1536 1194 1017 1555 1640 1282 1362 1005 1891 1144 1698 1521 1252 1690 1536 1813 1854 1979 1698 1388 1525 1365 1096 1244 1369 1508 1089 1596 1768 1384 1708 1376 1204 1433 1889 1240 1492 1302 1976 1576 1934 1412 1111 1364 1293 ปัญหาของการพิจารณาลงโทษสื่อ โดยกลไก กสทช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ปัญหาของการพิจารณาลงโทษสื่อ โดยกลไก กสทช.


832

 

“ให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาดำเนินการตามประกาศคำสั่งของ คสช. โดยเคร่งครัด เนื่องจากประกาศคำสั่งเหล่านี้ถือเป็นกฎหมายที่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามในส่วนที่เกี่ยวข้อง” เป็นคำกล่าวของพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) แจ้งให้ที่ประชุม กสท. ทราบในระเบียบวาระแรกของการประชุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 หลังการเข้ายึดอำนาจการปกครองของ คสช. 

 

กสทช. ผู้ล้อมปราบเสรีภาพสื่อ ด้วยอำนาจใหม่จาก คสช.


ก่อนหน้าการรัฐประหาร คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) โดยการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีหน้าที่กำกับดูแลเนื้อหาของสื่ออยู่แล้ว โดยใช้อำนาจตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 (พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ) ในการลงโทษสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่ขัดต่อมาตราดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ กสทช. จะใช้อำนาจลงโทษสื่อโดยอ้างว่า เป็นเนื้อหาที่ “ขัดต่อศีลธรรมอันดี” เช่น กรณีนำเหยื่อข่มขืนมาสัมภาษณ์ออกรายการหรือ กรณีจัดโชว์ที่มีการเปลือยอก  โดยไม่ค่อยปรากฏการใช้อำนาจลงโทษสื่อที่นำเสนอเนื้อหาวิจารณ์การเมือง


แต่หลังจากการเข้ายึดอำนาจของ คสช. เครื่องมือสำหรับการควบคุมเนื้อหาในสื่อชิ้นใหม่ๆ ถูกประกาศใช้เพิ่มขึ้นมากมาย ได้แก่ ประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557, คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 41/2559 รวมทั้งการบังคับให้สื่อต้องทำบันทึกข้อตกลงสำหรับการกลับมาออกอากาศ (MOU) ของสถานีที่ถูกสั่งปิดไปโดยประกาศ คสช. ที่ 15/2557ประกาศและคำสั่งต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติมเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ให้ กสท. สามารถเลือกหยิบยกเอามาใช้ในการพิจารณาสั่งลงโทษสื่อวิทยุโทรทัศน์ได้ง่ายขึ้น เมื่อประกอบกับอำนาจตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ที่มีอยู่อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ทำให้ขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องห้ามออกอากาศของสื่อกว้างขวางมากขึ้น ดังนี้
 
ข้อห้ามตาม มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ
1.       รายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.       รายการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
3.       รายการที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
4.       รายการที่มีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร
5.       รายการที่มีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

 

ข้อห้ามตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และ MOU
1. ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่อไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
2. ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
3.  การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริต เพื่อทําลายความน่าเชื่อถือของ คสช. ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ
4. ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
5. ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
6. การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของ คสช.
7. การขู่จะประทุษร้ายหรือทําร้ายบุคคล อันนําไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
 

 

ข้อห่วงกังวล ต่อเสรีภาพสื่อมวลชน


ภายใต้อำนาจของ กสทช. ที่ค่อนข้างกว้างขวาง หลายฝ่ายก็ได้แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเสรีภาพของสื่อมวลชน ตัวอย่างเช่น

 

9 มิถุนายน 2557 สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้ให้ความเห็นต่อการพิจารณาให้สถานีโทรทัศน์ที่ถูกปิดตามประกาศ คสช. ที่ 15/2557 กลับมาออกอากาศได้ว่า แม้จะมีการอนุญาตให้ออกอากาศได้ตามปกติ โดยปรับปรุงเนื้อหารายการให้สอดคล้องกับประกาศและเงื่อนไขของ คสช. แต่ในอนาคตหรือระยะที่ปลอดพ้นเงื่อนไขตามประกาศของ คสช. ผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์จำเป็นต้องมีสิทธิและเสรีภาพในการนำเสนอเนื้อหาได้ อีกนัยหนึ่ง คือ การปรับปรุงเนื้อหาให้ไม่ขัดต่อประกาศและเงื่อนไขของ คสช. นั้นกระทบต่อเสรีภาพของสื่อ


5 กรกฎาคม 2559 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแถลงการณ์ระบุว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 41/2559 ที่จำกัดความรับผิดของการใช้อำนาจของ กสทช. อาจทำให้เกิดการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนต่อสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งการขยายอำนาจตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ให้ครอบคลุมไปถึงประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 เป็นการขยายอำนาจในการจำกัดเสรีภาพของสื่อจนเกินขอบเขต ซึ่งจะทำให้สื่อมวลชนทำหน้าที่นำเสนอข่าวสารด้วยความหวาดกลัว และส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ครบถ้วนรอบด้าน


20 มีนาคม 2561 กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) กล่าวต่อเบนาร์นิวส์ว่า การใช้ ประกาศคสช.ที่ 97 และ 103/2557 แน่ชัดว่าเป็นการเมืองมากกว่ามีผลกระทบความมั่นคงหรือสร้างความแตกแยก การใช้อำนาจของ กสทช. ลักษณะนี้ จะกระทบต่อบรรยากาศการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ของประเทศไทยในปี 2562 


ประกาศและคำสั่งที่ คสช. ออกมาโดยอำนาจพิเศษเหล่านี้ ไม่เพียงถูก กสท. นำมาบังคับใช้เพื่อตีกรอบการนำเสนอเนื้อหาของสื่อ แต่ยังถูกนำมาใช้ดำเนินงานด้านอื่นๆ ของ กสทช. ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงออกอากาศให้เป็นไปตามประกาศ คสช. ที่เกี่ยวข้อง และการชะลอการพิจารณาปรับปรุงร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ฉบับที่ 2 ) ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้วเพื่อปรับแนวทางให้สอดคล้องกับประกาศคสช.
 

 

ปัญหาในการปฏิบัติงานของ กสทช.

1.      ขาดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ขาดการนิยามขอบข่ายเนื้อหาต้องห้ามที่ชัดเจน

มาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ และประกาศ คสช. ที่ 97/2557 และ 103/2557 มีการใช้ถ้อยคำที่เป็นเงื่อนไขในการจำกัดการนำเสนอเนื้อหาที่กว้างขวางและกำกวม เช่น เนื้อหากระทบต่อความมั่นคงของรัฐ, เนื้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงและเนื้อหาที่ยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง เป็นต้น อันเป็นประเด็นที่นำมาถกเถียงในที่ประชุมพิจารณาเนื้อหาสื่อของ กสท. ตั้งแต่การเริ่มลงโทษสื่ออย่าง พีซ ทีวี ด้วยประกาศดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2558 โดยสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ซึ่งได้รับตำแหน่งในโควต้าผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นผู้แสดงความเห็นเรียกร้องให้ กสท. ออกแนวปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในเรื่องรูปแบบหรือลักษณะการนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง หรือยั่วยุปลุกปั่น เพื่อบังคับใช้ต่อสื่ออย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติเฉพาะสื่อใดสื่อหนึ่ง 


สอดคล้องกับที่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เคยเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนของขอบเขตเนื้อหา โดยเสนอให้ กสท. พิจารณาวางแนวปฏิบัติการพิจารณาเนื้อหารายการต้องห้ามไม่ให้ออกอากาศตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ และตามประกาศ คสช. เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการ รวมทั้งวางหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษทางปกครองให้เหมาะสมและมีมาตรฐาน แต่ยังคงไม่ปรากฏแนวปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจต่อเนื้อหาด้านต่างๆ ที่ชัดเจน หลังจากนั้นก็ยังปรากฏกการทวงถามหาแนวปฏิบัติจากสุภิญญาอยู่เนืองๆ เช่น ปรากฏในมติ กสท. วันที่ 30 มีนาคม 2558 และวันที่ 12 พฤษภาคม 2559
 

เรื่องแนวปฏิบัติที่ชัดเจนถูกพูดถึงอีกครั้งในวาระพิจารณาวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เพื่อกำหนดโทษสถานีพีซ ทีวี ให้ระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 30 วัน จากการนำเสนอเนื้อหาละเมิดมาตรามาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ โดยสุภิญญา กลางณรงค์  แสดงความเห็นประกอบอีกครั้งว่า ในแง่สื่อที่เลือกข้างทางการเมือง กสทช. ควรวางแนวทางการกำกับสื่อ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติกับสื่อเฉพาะบางรายเท่านั้น ดังที่ กสม. เคยให้คำแนะนำไว้


เรื่องแนวปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจของเนื้อหา, กรอบของเนื้อหาเรื่องต่างๆ และการเลือกข้างทางการเมืองเป็นเรื่องที่ที่ประชุมพูดถึงตลอดมา นอกจากนี้ยังปรากฏบันทึกที่สะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักเรื่องการเลือกข้างทางการเมืองในสื่อโทรทัศน์อย่างน้อย 2 ความเห็น คือ วันที่ 4 กรกฎาคม 2559  ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกสทช. ได้แสดงทัศนะว่า กรณีสถานีพีซ ทีวี สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเรื้อรังของโทรทัศน์การเมืองไทย ที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองในอนาคต โดยอธิบายว่า โทรทัศน์ช่องการเมืองของไทยขัดต่อแนวปฏิบัติทั่วโลก แต่การปิดกั้นไม่ใช่ทางออก จึงจำเป็นต้องจัดสรรให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ควรจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นถึงการสนับสนุนฝ่ายการเมืองอย่างโปร่งใส หรือแสดงออกชัดเจนว่าสนับสนุนฝ่ายใด ไม่ใช่อย่างสื่อที่แสดงออกว่าเป็นกลาง แต่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


และวันที่ 15 สิงหาคม 2559 ความเห็นของคณะอนุกรรมการกำกับผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช.ว่า การนำเสนอรายการของสถานีวอยซ์ ทีวี จะมีความเห็นที่ตรงข้ามกับรัฐบาลปัจจุบันอยู่แล้ว หากพิจารณาเป็นกรณีต่อไปก็จะไม่มีทางสิ้นสุดเพราะช่องดังกล่าวมีแนวทางของตนเองตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ถึงจะมีการพูดคุยอย่างไรก็ตาม พิธีกรหรือบุคคลที่กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้นก็จะอยู่ครบเพราะเป็นกระบวนการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ และสิ่งนี้ก็เป็นเครื่องมือเพื่อการนั้น


แต่อย่างไรก็ดีจากข้อคิดเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ ต่อมติ กสท. ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ระบุว่า สำหรับการนำเสนอเนื้อหาของรายการใดๆ ที่เข้าข่ายเป็นสถานีที่เลือกข้างทางการเมือง กสทช. ก็ควรกำหนดกรอบกติกาเดียวกันในการกำกับทุกสถานีที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้มีความชัดเจนต่อการใช้ดุลพินิจที่ไม่เลือกปฏิบัติกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่า ตลอดระยะเกือบ 2 ปี นับตั้งแต่มีการแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ กสทช. ก็ยังไม่มีการกำหนดแนวปฏิบัติต่อสื่อการเมืองเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติเลย โดยระหว่างนั้นมีการพิจารณาลงโทษสื่อเพิ่มเติมไปอีกไม่น้อยกว่า 19 ครั้ง


2.      การพิจารณาข้อเท็จจริงไม่รัดกุม-ฟังไม่รอบด้านก็ตัดสินได้

ขณะที่กระบวนการรับฟังความเห็นประกอบของคณะอนุกรรมการกำกับผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. ขาดมาตรฐานการรับฟังอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในกระบวนการรับฟังข้อเท็จจริงประกอบมติของอนุกรรมการฯ กรณีสถานี พีซ ทีวี วันที่ 13 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมกสท. มีมติให้ให้คณะอนุกรรมการฯผู้แทนหน่วยงานความมั่นคงและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาให้ความเห็น แต่ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. มีมติเชิญผู้แทนฝ่ายความมั่นคงมาให้ ความเห็นประกอบ ซึ่งท้ายที่สุดคณะอนุกรรมการฯ ได้ทำหนังสือขอให้หัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อฯ ของคสช. มาให้ความเห็นเพียงฝ่ายเดียว และในการพิจารณากรณีสถานี สปริงนิวส์ที่ กสท. มีมติในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 คณะอนุกรรมการฯก็สอบถามความเห็นจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ ของคสช. เพียงฝ่ายเดียว อีกเช่นกัน 


นอกจากการความไม่แน่นอนในแนวปฏิบัติแล้ว ยังปรากฏว่า การพิจารณามติเร่งด่วนของสถานีพีซ ทีวี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ยังมีความไม่รัดกุม จากรายละเอียดความเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ ระบุว่า การพิจารณาลงโทษครั้งนี้ได้รับการร้องเรียนจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ ของคสช. ในวันที่ 22 เมษายน 2558 และจึงนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมวันที่ 27 เมษายน 2558 โดยไม่ผ่านขั้นตอนการรวบรวมข้อเท็จจริงตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงฯ  ที่กำหนดให้คู่กรณีมีโอกาสทราบข้อร้องเรียนและแสดงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อโต้แย้งข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน และสุภิญญายังมองว่า กรณีดังกล่าว ไม่ได้มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเข้าเงื่อนไขยกเว้น ทั้งการพิจารณามติลงโทษสถานี พีซ ทีวี ก็ไม่ได้มีการถอดความจากเทปออกอากาศทั้งหมดอย่างที่เคยทำในวาระใกล้เคียงกัน เพียงพิจารณาผ่านเทปบันทึกรายการบางส่วนของรายการเท่านั้น


หรือกรณีของสถานีวิทยุสปริงเรดิโอ ในวันที่ 12 เมษายน 2560 กสทช. มีคำสั่งอย่างไม่เป็นทางการให้สถานีวิทยุสปริงเรดิโอระงับการออกอากาศเป็นเวลา 7 วัน ทั้งที่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ออกอากาศว่ามีความไม่เหมาะสมและอาจกระทบต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยหรือไม่ ต่อมาวันที่ 17 เมษายน 2560  กสทช. มีคำสั่งให้สถานีกลับมาออกอากาศอีกครั้งในเวลา 12.00 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่ให้สถานีกลับมาออกอากาศได้ในเวลา 24.00 น. ของวันที่ 17 เมษายน 2560 แต่ไม่มีความชัดเจนว่า การถูกสั่งให้ระงับการออกอากาศนั้นเป็นเพราะเนื้อหาที่นำเสนอขัดต่อกฎหมายฉบับใด


นอกจากนี้สถานะของคณะทำงานติดตามสื่อฯ ของคสช. ยังคงเป็นเรื่องน่าสับสนในกระบวนการพิจารณาเนื้อหาของ กสทช. จากข้อมูลการลงมติของ กสทช. พบว่า มีการร้องเรียนเนื้อหาที่อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง ที่มาจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ ในจำนวนนั้น 5 ครั้งเป็นการร้องเรียนต่อสถานี วอยซ์ ทีวี และพีซ ทีวี แต่ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อสถานีทั้งสองแห่งนี้ในกรณีอื่นๆ ที่ตามเอกสารไม่ระบุว่า บุคคลหรือองค์กรใดเป็นผู้ร้องเรียน คณะอนุกรรมการฯ กลับเชิญคณะทำงานติดตามสื่อฯ ที่เคยเป็นผู้ร้องเรียนสื่อรายดังกล่าวให้มาแสดงความคิดเห็นหรือทำหนังสือสอบถามความเห็นว่า เนื้อหาของสื่อดังกล่าวเข้าข่ายขัดต่อประกาศ คสช. หรือไม่


ในความไม่ชัดเจนของแนวปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจกำกับสื่อของ กสท. ยังปรากฏในการออกความเห็นของคณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช. เท่าที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้มีไม่น้อยกว่า 3 ครั้งที่คณะทำงานชุดนี้ระบุว่า สื่อกระทำผิดประกาศ คสช. โดยไม่มีการอธิบายว่า เนื้อหาส่วนใดที่เป็นหรือไม่เป็นปัญหา ดังนี้


กรณีวอยซ์ ทีวี 

ครั้งที่ 1 วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Tonight Thailand มีมติว่า เนื้อหารายการขัดต่อประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช. และวอยซ์ ทีวี จากความเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ พบว่า การพิจารณาในวาระได้ทำหนังสือขอสอบถามความเห็นเฉพาะไปยังหัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช. และได้ทำหนังสือตอบกลับโดยไม่ได้มีการชี้ชัดในรายละเอียดว่า เนื้อหาการออกอากาศในส่วนใดมีลักษณะที่เข้าข่ายว่าเป็นการกระทำอันเป็นการขัดต่อประกาศ คสช.


ครั้งที่ 2 วันที่ 29 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake Up News มีมติว่า เนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 และบันทึกข้อตกลงระหว่าง กสทช.และวอยซ์ ทีวี  จากความเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ พบว่า การพิจารณาในวาระได้ทำหนังสือขอสอบถามความเห็นเฉพาะไปยังหัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช. และได้ทำหนังสือตอบกลับโดยไม่ได้มีการชี้ชัดในรายละเอียดว่า เนื้อหาการออกอากาศในส่วนใดมีลักษณะที่เข้าข่ายว่าเป็นการกระทำอันเป็นการขัดต่อประกาศ คสช.


กรณีสปริงนิวส์ ทีวี 

วันที่ 8 สิงหาคม 2559 มติ กสท. พิจารณาเนื้อหารายการเผชิญหน้า Face Time เกี่ยวกับการไม่ร่วมพิธีถวายสัตย์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า เนื้อหารายการขัดประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 และมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ จากความเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ กรณีดังกล่าวในชั้นอนุกรรมการฯ ไม่เห็นว่า เข้าข่ายขัดต่อกฎหมายใด ขณะที่ในกระบวนการรวบรวมข้อเท็จจริงได้มีการขอความเห็นจากคณะทำงานติดตามสื่อฯ คสช. และมีคำตอบกลับมาว่า เนื้อหาของรายการเผชิญหน้า Face Time ไม่เป็นไปตามคำสั่งหรือประกาศ คสช. ในลักษณะยุยงปลุกปั่น สร้างความเข้าใจผิด อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐ แต่ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน

 

3. ไม่มีลำดับขั้นการลงโทษ-ไม่ผิดก็เรียกมาตักเตือนได้

ในเรื่องการกำกับและกำหนดโทษทางปกครองตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ประกอบกับประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 หาก กสทช. พบว่า สื่อวิทยุโทรทัศน์ นำเสนอเนื้อหาที่เข้าข่ายเนื้อหาต้องห้าม กสทช. มีอำนาจที่จะกำหนดโทษได้ ดังต่อไปนี้
1.       กำหนดโทษปรับทางปกครอง 50,000-500,000 บาท
2.       สั่งด้วยวาจา หรือด้วยหนังสือ ให้ระงับการออกอากาศ
3.       สั่งเพิกถอนใบอนุญาต หรือที่ให้ผล คือ การปิดสถานี

 

แต่ในการใช้อำนาจ กสท. ก็ไม่มีความชัดเจนในแนวทางการกำหนดบทลงโทษ ดังกรณีของสถานี พีซ ทีวี และ ทีวี 24 ซึ่งถูกพิจารณาว่า เผยแพร่เนื้อหาต้องห้ามออกอากาศตามกฎหมายครั้งแรกเหมือนกัน แต่สถานี พีซ ทีวี ได้รับการตักเตือน ขณะที่ ทีวี 24 ถูกระงับการออกอากาศทั้งสถานีเป็นเวลา 7 วัน


ในข้อสังเกตต่อระเบียบวาระการประชุม กสท. ของพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. ระบุว่า การกำหนดโทษทางปกครองของทีวี 24 ควรมีกระบวนการ ขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับกรณีการกำหนดโทษของสถานี พีซ ทีวี กล่าวคือ มีการตักเตือนพร้อมแจ้งมาตรการทางปกครองก่อนจะดำเนินกระบวนการตามลำดับ


ขณะที่ตามประกาศ กสทช. ไม่ปรากฏการกำหนดมาตรการลงโทษในกรณีที่สื่อถูกพิจารณาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า มีกรณีที่สื่อถูกเรียกตักเตือน ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ทั้งที่ตามผลการพิจารณาของ กสท. ก็มีมติแล้วว่า สื่อดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิด โดยแบ่งเป็นสถานี วอยซ์ ทีวี 3 ครั้งและสถานีไทยพีบีเอส 1 ครั้ง


กรณีวอยซ์ ทีวี

ครั้งที่ 1 วันที่ 30 มีนาคม 2558 ที่ประชุม กสท. รับทราบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหา เห็นควรมีหนังสือขอให้บริษัทใช้ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ ในการตรวจสอบเนื้อหารายการก่อนที่จะมีการนำออกอากาศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย 

ครั้งที่ 2 วันที่ 20 มิถุนายน 2559 ไม่เปิดเผยเนื้อหา

ครั้งที่ 3 วันที่ 15 สิงหาคม 2559 ที่ประชุม กสท. พิจารณาเนื้อหารายการ Wake up News (วาระแรก) เห็นตามมติคณะอนุกรรรมการฯว่า เนื้อหารายการไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่กลับมีหนังสือขอความร่วมมือให้วอยซ์ ทีวีระมัดระวังและละเอียดรอบคอบในการเสนอเนื้อหา 
 

กรณีไทยพีบีเอส 

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 กสท.พิจารณาเนื้อหาสกู๊ปข่าวเรื่อง นักศึกษากลุ่มดาวดิน ในรายการ ที่นี่ Thai PBS โดยกรรมการเห็นพ้องว่า การนำเสนอเนื้อหาไม่ขัดต่อมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ แต่มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการเชิญผู้แทนไทยพีบีเอสมาตักเตือนด้วยวาจา

 

ชนิดบทความ: