1378 1278 1464 1638 1839 1096 1177 1898 1331 1641 1598 1310 1812 1736 1086 1720 1421 1775 1974 1029 1875 1944 1212 1892 1040 1102 1354 1679 1439 1372 1355 1990 1090 1661 1176 1876 1818 1102 1660 1574 1526 1338 1089 1044 1433 1053 1509 1564 1807 1663 1917 1033 1356 1765 1130 1717 1013 1536 1073 1631 1999 1294 1728 1107 1084 1518 1307 1735 1688 1680 1837 1475 1453 1954 1592 1032 1270 1098 1185 1533 1976 1269 1603 1947 1504 1109 1023 1192 1595 1002 1731 1778 1361 2000 1082 1816 1585 1341 1090 112 ALERT : ชวนรู้จักคดี 112 ของไอซ์-รักชนกก่อนศาลมีคำพิพากษาที่อาจหลุดเก้าอี้สส. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 ALERT : ชวนรู้จักคดี 112 ของไอซ์-รักชนกก่อนศาลมีคำพิพากษาที่อาจหลุดเก้าอี้สส.

 

 

วันที่ 13 ธันวาคม 2566  เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดไอซ์-รักชนก ศรีนอก สส.พรรคก้าวไกลฟังคำพิพากษาในคดีมาตรา 112  เธอถูกดำเนินคดีจากการทวีตและรีทวีตข้อความของผู้อื่นรวม 2 ข้อความบนทวิตเตอร์ คดีนี้หากศาลตัดสินว่า มีความผิดและสั่งลงโทษจำคุก โดยไม่ให้ประกันตัวหรือให้เข้าเรือนจำเพื่อรอคำสั่งประกันตัว เธอจะหลุดออกจากตำแหน่งสส.โดยทันที ชวนย้อนอ่านที่มาที่ไปคดีมาตรา 112 ของไอซ์

 

 

3006

 

 

ไอซ์-รักชนกเป็นใคร? 

 

 

ปัจจุบันไอซ์เป็นสส.สังกัดพรรคก้าวไกล เขตบางบอน-หนองแขม กรุงเทพมหานคร เธอเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนหน้านี้ในปี 2557 ไอซ์เคยแสดงความคิดเห็นสนับสนุนการรัฐประหารบนโลกออนไลน์ เพราะคิดว่าการรัฐประหารจะทำให้การชุมนุมและความวุ่นวายยุติลง แต่เมื่อมีโอกาสถกเถียงกับเพื่อนในประเด็นการเมืองจึงเริ่มเปลี่ยนความคิด ปี 2564 ไอซ์-รักชนกเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นจากการตั้งคำถามตรงไปตรงมาบนแอพพลิเคชั่นคลับเฮาส์จนได้รับฉายาตัวแสบแห่งคลับเฮาส์  เธอเป็นสมาชิกกลุ่มพลังคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวรณรงค์ เช่น การจัดฟรีคอนเสิร์ตเพื่อระดมทุนเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง นอกจากพื้นที่ออนไลน์ เธอยังไปร่วมการชุมนุมทางการเมืองและแสดงความคิดเห็นในพื้นที่ชุมนุมและโลกออนไลน์เรื่อยมา 

 

 

จุดเริ่มต้นคดี 112 

 

 

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 มณีรัตน์ เลาวเลิศ ประชาชนทั่วไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีกับผู้ใช้แอคเคาท์ทวิตเตอร์ชื่อ “ไอซ์” หรือ @nanaicez กรณีพบแอคเคาท์ทวิตเตอร์ดังกล่าวทวีตและรีทวีตข้อความและรูปภาพจํานวน 2 โพสต์ ได้แก่ ทวีตที่เกี่ยวข้องการผูกขาดวัคซีนโควิด 19 และแคมเปญ #28กรกฎาร่วมใจใส่ชุดดํา” โพสต์นี้มีภาพประกอบซึ่งภายในภาพเป็นลักษณะคนถือป้ายข้อความว่า “ทรราช (คํานาม) TYRANT ; ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง”  

 

 

อีกข้อความหนึ่งเป็นการรีทวีตจากทวิตเตอร์ที่ชื่อว่า นิรนาม โพสต์ไว้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เป็นภาพป้ายข้อความที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า เราจะไม่เป็นไท และเขียนข้อความประกอบว่า “เราจะไม่เป็นไทจนกว่ากษัตริย์จะถูกแขวนคอด้วยลำไส้ของขุนนางคนสุดท้าย” ที่เป็นคำกล่าวของเดอนีส์ ดิเดโรต์ นักปรัชญาฝรั่งเศส และมีแฮชแท็กประกอบ จากนั้นมีบุคคลอื่นรีทวีตของนิรนามประกอบข้อความอีกหนึ่งครั้งและแอคเคาท์ที่เป็นเหตุในคดีนี้จึงรีทวีตข้อความของทั้งสองแอคเคาท์ดังกล่าว

 

 

จากการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่น่าเชื่อว่า ผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ดังกล่าวคือ ไอซ์ พนักงานสอบสวนบก.ปอท.จึงออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ในชั้นสอบสวนเธอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา หลังเสร็จกระบวนการไม่ได้มีการยื่นคำร้องขอฝากขัง  ต่อมาวันที่ 23 มีนาคม 2565 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญา ศาลสั่งปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณาด้วยหลักทรัพย์ 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำการหรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา และให้มารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

 

 

สู้คดีในศาลที่ฝ่ายโจทก์มีหลักฐานเป็นภาพใบเดียว

 

 

ในชั้นศาลไอซ์ให้การปฏิเสธ เธอสู้คดีว่า มีคนส่งรูปไปในกลุ่มไลน์ โดยในภาพที่ส่งนั้นไม่ใช่ข้อความที่ตนโพสต์แต่มีชื่อแอคเคาท์ของตนติดอยู่ จากนั้นก็มีผู้นำภาพข้อความดังกล่าวไปแจ้งความ ซึ่งก็ได้พิสูจน์ไปว่าไม่ใช่คนทวีต โดยส่วนตัวไอซ์มองคดีที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่า หลักฐานอ่อนมาก มีเพียงภาพใบเดียว ไปหาหลักฐานโพสต์ต้นทางก็ไม่เจอ ระหว่างการพิจารณาทนายจำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) มาตรา 14 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 34 หรือไม่ ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยเห็นว่าพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา26 และมาตรา 34 วรรคหนึ่ง

 

หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ศาลอาญานัดไอซ์ฟังคำพิพากษาในวันที่ 13 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณา 807

 

 

เหยียบเรือนจำแม้เพียงนาทีเดียวก็หลุดตำแหน่งสส. ต้องเลือกตั้งใหม่

 

คดีนี้หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือให้ลงโทษแต่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการสู้คดีชั้นอุทธรณ์ในวันเดียวกันกับที่มีคำพิพากษา ก็จะยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้เพราะยังไม่ถือว่าเข้าลักษณะต้องห้าม แต่หากศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และในวันที่ศาลมีคำพิพากษาศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว หรือสั่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคำสั่ง ซึ่งส่งผลให้จำเลยต้องถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ก็จะถือว่าเข้าลักษณะต้องห้ามเป็นบุคคลที่ถูกศาลพิพากษาจำคุกและถูกคุมขังตามหมายศาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(6) เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งส.ส. ทันที

 

หาก ส.ส. พ้นตำแหน่งด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต รัฐธรรมนูญมาตรา 105 (1) กำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างลง (เลือกตั้งซ่อม) ยกเว้นอายุสภาเหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน โดยให้จัดการเลือกตั้งซ่อมภายใน 45 วัน นับจากวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ (นำมาตรา 102 มาบังคับโดยอนุโลม) สำหรับตัวของอดีต ส.ส. หากพ้นจากตำแหน่งในลักษณะที่คดียังไม่ถึงที่สุดและได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็ยังถือว่าไม่เข้าลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้ง และกลับมาลงสมัครใหม่ได้อีก

 

 

อ่านคดีของไอซ์ที่นี่  https://database.tlhr2014.com/public/case/1818/lawsuit/602/