1546 1104 1464 1380 1156 1365 1494 1109 1151 1075 1216 1252 1641 1576 1610 1866 1034 1336 1276 1453 1897 1489 1056 1193 1494 1872 1516 1485 1164 1141 1298 1931 1977 1832 1984 1687 1104 1270 1773 1368 1733 1978 1365 1406 1523 1303 1554 1153 1501 1784 1271 1363 1646 1536 1097 1686 1144 1079 1124 1037 1033 1468 1575 1118 1607 1560 1372 1253 1557 1436 1693 1486 1785 1346 1051 1555 1725 1672 1644 1377 1692 1129 1861 1082 1172 1072 1641 1702 1124 1334 1431 1261 1912 1457 1723 1808 1771 1480 1319 รอการลงโทษให้ ไบรท์ ชินวัตร คดี ม.112 ปราศรัยเรียกร้องปล่อย บุ้ง-ใบปอ เหตุกลับตัวกลับใจมาประกอบสัมมาชีพ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รอการลงโทษให้ ไบรท์ ชินวัตร คดี ม.112 ปราศรัยเรียกร้องปล่อย บุ้ง-ใบปอ เหตุกลับตัวกลับใจมาประกอบสัมมาชีพ

7 ธันวาคม 2566 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไบร์ท ชินวัตร อดีตนักกิจกรรมที่ถูกกล่าวหาว่ากล่าวคำปราศรัยเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระหว่างเข้าร่วมการชุมนุมที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับเนติพรหรือ บุ้ง และ “ใบปอ" ที่ถูกคุมขังด้วยมาตรา 112 และอดอาหารเรียร้องสิทธิประกันตัวอยู่ในขณะนั้น โดยศาลมีคำพิพากษาว่าชินวัตรมีความผิดตามฟ้อง มีโทษจำคุกสามปี ปรับเงิน 200 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง และโทษจำคุกให้รอการลงโทษ ให้เว้นการกระทำลักษณะเดิม พร้อมให้ทำงานสาธารณประโยชน์

3002
 
การอ่านคำพิพากษาในวันนี้เกิดขึ้นที่ห้องพิจารณาคดี 705 ในนัดนี้ไม่มีผู้สังเกตการณ์จากภายนอกมาร่วมสังเกตการณ์ ชินวัตรมาถึงห้องพิจารณาคดีในเวลา 9.20 น. โดยมาถึงศาลพร้อมทนายความอาสาของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในเวลาประมาณ 9.30 น. ศาลขึ้นบัลลังก์และอ่านคำพิพากษา โดยอ่านเฉพาะบทกำหนดโทษโดยสรุปได้ว่า
 
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง มาตรา 4 วรรคหนึ่งและมาตรา 9 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ในการพิจารณาคดีนัดแรกจำเลยขอเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องทั้งสามมาตรา การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป 
 
ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีบทลงโทษหนักที่สุด ลงโทษจำคุก 3 ปี ความผิดฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปรับเป็นเงิน 200 บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ปรับเป็นเงิน 100 บาท ไม่ปรากฎว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพและสำนึกในการกระทำ กลับตัวกลับใจมาประกอบสัมมาชีพและเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ตามเอกสารหลักฐานที่ยื่นต่อศาล จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นคนดี ทั้งการนำจำเลยไปคุมขังในระยะเวลาอันสั้นไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อจำเลยและต่อสังคม จึงให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลา 2 ปี ให้จำเลยรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติปีละสามครั้ง ให้จำเลยและเว้นการกระทำในลักษณะที่คล้ายกับการกระทำในคดีนี้และให้จำเลยบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
 
สำหรับเหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นเมือ่วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ชินวัตรเข้าร่วมชุมนุม เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวให้กับ เนติพรหรือ บุ้ง และ “ใบปอ" ที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ตอนหนึ่งของการปราศรัยชินวัตรกล่าวพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์เรื่องการโอนย้ายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ เรื่องการโอนย้ายกองกำลังทหารไปเป็นกองกำลังส่วนพระองค์ และเรียกร้องให้ยุติการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีกับประชาชน ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนสน.ยานนาวาผู้รับผิดชอบท้องที่ให้ดำเนินคดีกับชินวัตร
 
ตำรวจจับกุมชินวัตรที่บ้านพักในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหากับชินวัตรและนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 โดยเบื้องต้นเขาเคยแถลงว่าจะไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม และขอถอนคำร้องคัดค้านการฝากขัง เมื่อศาลอนุญาตให้ฝากขังชินวัตรก็ถูกควบคุมตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในวันเดียวกัน ในวันที่ 6 สิงหาคม 2565 ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัวชินวัตรต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ทนายความจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งและมีการไต่สวนคำร้อง ชินวัตรแถลงต่อศาลตอนหนึ่งว่า การกระทำที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้เขาเพียงมีเจตนาเรียกร้องสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวให้เนติพร และ "ใบปอ" เท่านั้น ส่วนการโกนหัวต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์เขาก็เพียงต้องการแสดงออกว่ามีพสกนิกรถูกรังแก ส่วนที่เขาเคยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมเพียงต้องการประท้วงต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อเนติพร และ "ใบปอ" ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วเขาก็กลับมาเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว จากนั้นวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวชินวัตรโดยต้องวางหลักประกัน 150,000 บาท เท่ากัยชินวัตรถูกคุมขังไปแล้วรวม 26 วัน 
 
ต่อมาคดีนี้อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เบื้องต้นชินวัตรให้การปฏิเสธ แต่ในนัดสืบพยานนัดแรกวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ชินวัตรแถลงขอเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ คู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยานก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาออกมาในวันนี้