1942 1957 1343 1191 1264 1887 1681 1554 1502 1167 1571 1866 1560 1363 1736 1744 1894 1180 1259 1382 1512 1280 1217 1050 1811 1815 1788 1874 1413 1307 1129 1827 1752 1260 1379 1533 1913 1084 1649 1850 1353 1841 1344 1488 1951 1906 1846 1102 1740 1607 1005 1009 1955 1047 1228 1062 1561 1722 1617 1662 1004 1647 1300 1448 1112 1158 1196 1036 1262 1755 1982 1072 1720 1447 1003 1904 1677 1859 1300 1017 1362 1531 1344 1710 1651 1096 1281 1175 1963 1337 1732 1975 1792 1387 1140 1504 1580 1060 1602 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องม. 112 ‘นคร’ เหตุพยานโจทก์มีข้อสงสัย เป็นคดีอ่อนไหวต้องระมัดระวังหากลงโทษต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องม. 112 ‘นคร’ เหตุพยานโจทก์มีข้อสงสัย เป็นคดีอ่อนไหวต้องระมัดระวังหากลงโทษต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัย

 
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดสมุทรปราการนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีมาตรา 112 ของ ‘นคร’ ช่างแต่งหน้าจากจังหวัดเชียงราย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งยกฟ้องและต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 อัยการอุทธรณ์ ใช้เวลาประมาณหกเดือนจึงมีคำพิพากษาอุทธรณ์สั่งให้ยกตามศาลชั้นต้น โดยสรุปว่า 
 
 
พยานหลักฐานในคดีนี้คือภาพโพสต์เฟซบุ๊กที่ได้จากการบันทึกภาพหน้าจอของผู้กล่าวหาคือ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล ผู้กล่าวหา ขณะที่ตำรวจที่ทำการสืบสวนคดีนี้เบิกความรับว่า การโจรกรรมข้อมูลในเครือข่ายสังคมออนไลน์มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบคดีในช่วงดังกล่าวจึงแสวงหาหลักฐานอื่นมาสนับสนุนเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยการทำหนังสือถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ขอให้ตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการใช้งานของบัญชีเฟซบุ๊ก 13 ราย ซึ่งหมายรวมถึงคดีนี้ด้วย แต่ดีอีไม่สามารถตรวจสอบช้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ตามความหมายของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตามมาตรา 3 คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ดังนั้นเมื่อดีอีไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์มีเพียงสำเนาการบันทึกภาพหน้าจอ ซึ่งยังมีเหตุให้ต้องสงสัย
 
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยมีเฟซบุ๊กสามบัญชี โดยบัญชีที่สองที่จำเลยใช้งานและเกี่ยวข้องกับคดีนี้ จำเลยสมันครใช้งานโดยใช้โน้ตบุ๊กของเพื่อนคนหนึ่งและเมื่อเปิดแล้วไม่ได้ทำการลงชื่อออกจากโน้ตบุ๊กดังกล่าวอันอาจมีบุคคลใดใช้งานบัญชีเฟซบุ๊กของจำเลย ทั้งนี้เมื่อจำเลยทราบข่าวว่า อาจถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้กระทำความผิดจึงได้ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอันเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง สอดคล้องกับการสืบสวนของตำรวจสองนายได้แก่ ร.ต.อ.อมรและร.ต.อ.สายัณห์ที่ยืนยันว่า การใช้งานเฟซบุ๊กของจำเลยทั้งสามบัญชีนั้นไม่มีข้อความหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องหรือพาดพิงในทำนองดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท ด้านเพื่อนของจำเลยที่โจทก์อ้างเป็นพยานก็ยืนยันเช่นเดียวกับที่เคยให้ไว้ตั้งแต่ในชั้นสอบสวนว่า ไม่เคยเห็นโพสต์ที่เป็นเหตุในคดีนี้ในเฟซบุ๊กของจำเลย 
 
คดีนี้มีความอ่อนไหว กระทบกระเทือนต่อจิตใจของสาธารณชนและเกี่ยวข้องกับความมั่นคง จะต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ในการลงโทษจะต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยเสียก่อน ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความชัดเจนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 จำเลยให้การปฏิเสธมาตลอด ลำพังจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กไม่สามารถอนุมานได้ว่า จำเลยเป็นผู้โพสต์ จึงยังมีความสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
 
 
‘นคร’  เป็นชาวจังหวัดเชียงราย ขณะที่ถูกกล่าวหาเขายังมีสถานะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่มาของคดีนี้สืบเนื่องจากการที่สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งนำข้อมูลส่วนตัวอย่างข้อมูลตามบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของ ‘นคร’ ไปรายงานข่าว  ในทำนองที่ว่า มีการโพสต์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ จากนั้นเพื่อนของ ‘นคร’ จึงส่งข่าวดังกล่าวมาให้ เขาจึงแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการไปลงบันทึกประจำวันไว้ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและโทรศัพท์ไปยังสถานีโทรทัศน์ช่องดังกล่าวขอให้ลบข่าวที่มีข้อมูลส่วนตัวของเขาทั้งหมด วันถัดมาครอบครัวโทรศัพท์มาแสดงความเป็นกังวลเรื่องนี้และพยายามติดต่อให้ลบข่าวทั้งหมดอีกครั้ง ซึ่งท้ายสุดก็มีการลบข่าวดังกล่าวไป ต่อมาศิวพันธุ์ มานิตย์กุล ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ระบุว่า จำเลยแชร์ข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ต่อมาพนักงานสอบสวนเรียก ‘นคร’ ไปเป็นพยานหนึ่งครั้ง เขาจึงได้เดินทางไปให้ปากคำเพียงลำพัง โดยไม่มีทนายความให้คำปรึกษาติดตามไปด้วย และจากนั้นจึงเรียก ‘นคร’ ไปรับทราบข้อกล่าวหา โดยมีโพสต์ที่กล่าวหาสองโพสต์คือ การแชร์ “Thai Atheist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” ที่โพสต์ข้อความว่า “ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรีตามจริงที่โรงเรียนไม่เคยสอน ร.1 ฆ่าเพื่อน ชิงบัลลังก์ ร.2 ตามเก็บลูกหลานพระเจ้าตากตายหมดเกลี้ยง” และการแชร์จากเพจ KonthaiUK เกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และการแปรพระราชฐานในเยอรมนี พร้อมข้อความประกอบว่า “แชร์ไปอ่านเป็นวิทยาทานอย่างหนึ่ง”
 
ในนัดรับทราบข้อกล่าวหา ‘นคร’ ที่แสดงความบริสุทธิ์มาตามนัดทุกนัดซื้อตั๋วเครื่องบินจากเชียงรายไปกลับในราคา 5,000 บาทมากรุงเทพฯและเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนที่สภ. บางแก้ว สมุทรปราการด้วยหวังว่า จะได้กลับเชียงราย หากวันดังกล่าวยื่นขอฝากขังและศาลอนุญาตให้ฝากขัง เขาต้องอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 9 วันจึงจะได้รับการประกันตัว ในชั้นศาลเขายังคงปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับโพสต์ดังกล่าวมาตลอด ด้วยคดีความที่เป็นเหมือนโซ่ตรวนสร้างความไม่แน่นอนให้แก่ชีวิตของเขาทำให้ ‘นคร’ ตัดสินใจย้ายจากเชียงรายมาอยู่กรุงเทพฯก่อนระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด