1884 1052 1480 1531 1503 1577 1454 1132 1236 1866 1460 1323 1534 1286 1671 1176 1292 1828 1001 1065 1161 1894 1652 1828 1277 1028 1321 1903 1100 1373 1604 1325 1778 1669 1511 1283 1377 1287 1204 1918 1809 1218 1298 1987 1309 1170 1908 1810 1649 1465 1213 1831 1926 1620 1233 1611 1483 1172 1951 1180 1517 1174 1847 1110 1463 1655 1323 1267 1605 1380 1424 1880 1821 1688 1209 1032 1219 1151 1190 1562 1838 1330 1703 1410 1484 1145 1781 1815 1076 1373 1371 1012 1612 1657 1426 1457 1436 1425 1385 ย้อนอ่านประสบการณ์นายประกันคดี 112 ที่ต้องประกันความรู้สึกไปพร้อมกับอิสรภาพของจำเลย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ย้อนอ่านประสบการณ์นายประกันคดี 112 ที่ต้องประกันความรู้สึกไปพร้อมกับอิสรภาพของจำเลย

 
 
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ในวงเสวนาเรื่อง 3 ปี 112 คนและคดียังเดินหน้ารอวันพิพากษา ชุติมน กฤษณปาณี คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ในฐานะนายประกันของกองทุนราษฎรประสงค์เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่เข้ามาทำงานในฐานะนายประกันเริ่มในปี 2564 ชลิตา บัณฑุวงศ์ที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมของกองทุนราษฎรประสงค์ได้ติดต่อมาที่คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ที่เธอทำงานอยู่ว่า อยากให้ไปเป็นนายประกันในคดีทางการเมือง ซึ่งต่อมาเธอรับเป็นนายประกันในคดีที่ศาลอาญาหรือบริเวณใกล้เคียง โดยเป็นนายประกันจนถึงปัจจุบัน คดีที่เป็นนายประกันมีจำนวนมากจนจำไม่ได้ ถ้ารวมคดีอื่นๆที่ไม่ใช่มาตรา  112 น่าจะเกิน 200 คดีในช่วงสองปีที่ผ่านมา  “วันหนึ่งเราอาจจะได้ประกันมากกว่าหนึ่งคดีหรือว่า ไปมากกว่าหนึ่งศาลด้วยก็จะต้องแยกร่างหรือว่าใช้วิธีจัดการวางแผนการเดินทางของตัวเองให้ถูกแล้วก็ไปให้ทัน”
 
“ในช่วงแรกที่ที่มาประกันเป็นนายประกันประมาณสองหรือสามคดีแรกที่เป็นนายประกันได้ประกันตัวหมดเลย ก็เลยไม่ไม่ค่อยรู้สึกอะไรแต่วันนี้คดีนึงจำได้เลยว่าเป็นคดีแรกที่ไม่ได้ประกัน แล้วก็ญาติเข้ามารอด้วย วันนั้นต้องอธิบายกับญาติเขาว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมเขาถึงไม่ได้กลับบ้านไปพร้อมกับญาติหรือว่ากลับบ้านกับแม่ที่เข้ามารอฟังคำสั่งอยู่ หน้าที่ของนายประกันไม่ใช่แค่การพาตัวจำเลยมาศาลหรือว่าทำให้จำเลยมาศาลตามนัด วางเงินประกันแล้วจบแต่ว่ามันคือการดูแลความรู้สึกของญาติทั้งก่อนประกันและก็หลังประกันหลังจากฟังผลแล้วว่าเราจะเยียวยาเขายังไงต่อมันไม่ใช่แค่การประกันอิสรภาพอย่างเดียวแต่ว่ามันคือการประกันความรู้สึกของญาติด้วยเพราะว่าเราต้องทำให้เขารู้สึกได้ว่าเขาจะไม่ถูกทอดทิ้งนะหลังจากนี้เราจะมีการดูแลกันต่อเนื่องเราจะมีการยื่นประกันอีกครั้งแน่นอน”
 
2966
 
 
เธอเล่าถึงกระบวนการเป็นนายประกันว่า ก่อนที่จะไปเราต้องรู้ตัวคนที่เราจะไปประกันก่อนว่าเขาเป็นใคร ถูกกล่าวหาในคดีอะไรและเราต้องไปที่ศาลไหนก็จะเตรียมเอกสารไว้
 
“เอกสารที่ใช้หลักๆมันจะเป็นเอกสารกระดาษแล้วก็ที่ศาลทุกศาลค่าถ่ายเอกสารแพงมากไม่รู้ทำไมแพงขนาดนี้ คือแผ่นละสองบาท...หรือบางศาลอาจจะเพิ่มขึ้นแผ่นละสามบาทและแย่ที่สุดคือบางศาลไม่มีร้านถ่ายเอกสาร ซึ่งมันทำให้การดำเนินงานหรือว่ากระบวนการของการประกันมันเป็นไปได้ยากมาก...แล้วก็หลายๆครั้งศาลเองก็ขอเอกสารที่อาจจะไม่แน่ใจว่าพูดได้ไหมว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาทิเช่นอย่างวันนี้ที่ไอซ์ไปประกันตัววัชรพลมา ศาลขอเอกสารก็คือเป็นใบเปลี่ยนชื่อของพ่อของวัชรพลซึ่งเขาเปลี่ยนชื่อมาประมาณ 20 ปีแล้ว ซึ่งไอซ์ก็คุยกับเขาว่าทำยังไงดีเพราะว่าเขาย้ายที่อยู่มาที่กรุงเทพแล้วแล้วก็ไอ้ตัวเอกสารเนี่ยมันหายไปไหนไม่รู้เพราะเขาเปลี่ยนมา 20 ปีแล้วเจ้าหน้าที่ก็แนะนำว่าให้ไปคัดถ่ายแล้วก็มาส่งเอกสารในภายหลัง ซึ่งหมายความว่า คุณพ่อต้องเดินทางมาศาลอีกรอบหนึ่ง เพื่อส่งเอกศาลหนึ่งใบเท่านั้นที่ศาล”
 
“นายประกันเตรียมเอกสารมาเองจากบ้านเลยแล้วก็เซ็นมาทุกอย่างให้เรียบร้อยเก็บของไอซ์จะถ่ายบัตรประชาชนของตัวเอง ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านหรือว่าถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นปึ๊งๆแล้วก็เซ็นไว้เลยเพื่อลดขั้นตอนหรือว่าการเสียเวลาในการที่ไปถึงหน้างานแล้ว”
 
 
เมื่อไปถึงศาลก็จะดูว่า เป็นการประกันตัวชั้นใด ถ้าเป็นการประกันในชั้นฝากขังจะต้องรอตำรวจมาส่งตัวจำเลยให้ศาลก่อนก็อาจจะไม่รู้ว่า เขามากี่โมง “เขาอาจจะเลทจากเวลาที่นัดก็ได้ สมมติว่านัดสิบโมง ตำรวจว่า ทำสำนวนไม่ทันขอเลื่อนเป็นเที่ยงและมาจริงบ่ายสองก็เจอมาแล้ว ซึ่งนายประกันก็จะต้องไปรอตามเวลาที่เขานัดเขาอาจจะมาเวลากะเทยก็ได้ เป็นเวลากะเทยที่ไม่มาตรงเวลาก็นั่งรอค่ะ หลายๆครั้งก็ต้องเอางานไปทำที่ศาลด้วย เป็นการใช้เวลาว่างมีประโยชน์...”
 
ชุติมนเล่าถึงการประกันตัวของจำเลยในชั้นที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วว่า
 
 
“จะต้องทราบว่า ปีที่ศาลพิพากษาลงโทษกี่ปี เพราะว่าจำนวนเงินที่วางประกันในคดีที่พิพากษาแล้วจะแตกต่างกับการวางเงินในชั้นฝากขัง อย่างศาลอาญาจะเป็นปีละ 50,000 บาทเศษของหนึ่งปีจะปัดเป็นหนึ่งปี [หมายเหตุ เช่น ลงโทษจำคุกหนึ่งปี หนึ่งเดือนจะต้องวางเงินประกันเป็นสองปี หรือ 100,000 บาท]จำได้ว่ามีคดีของจำเลยคนหนึ่งศาลพิพากษาลงโทษเป็นหน่วยวัน ซึ่งเขาบอกว่าเศษของหนึ่งปีปัดเป็นหนึ่งปีมันหมายความว่าศาลจะคิดเงินประกันของจำเลยคนนั้นในในเรทท่ากับคนที่ถูกจำคุกหนึ่งปี ซึ่งรู้สึกว่าเราเหมือนเป็นผักเป็นปลาที่เขาต่อรองไม่ได้แบบว่าปัดเศษไปเลยแล้วกัน ขอไม่ไม่คิดตามวัน ซึ่งในคดีนั้นทนายต้องมาเขียนขอลดหย่อนค่าวางประกันเพราะว่าวันที่ศาลตัดสินมันค่อนข้างน้อยไม่ถึงเดือนด้วยซ้ำ รู้สึกว่า โหชีวิตคนเรามันเป็นแบบมันเป็นตัวเลขที่แบบปัดเศษได้ขนาดนั้นเลยเหรอ หรืออิสรภาพเรามันเป็นตีค่าเป็นเงินที่แบบปัดเศษง่ายๆอย่างงั้นเลยหรอ”
 
“หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของนายประกันคือการดูแลความอิ่มท้องของจำเลย หลายๆครั้งจำเลยมาศาลตั้งแต่เช้าฟังคำพิพากษาเสร็จอาจจะประมาณ 10 โมง 11 โมงแล้วเขาจะถูกพาไปห้องเวรชี้ข้างล่างเลยก็ไม่ได้ทานข้าวเที่ยงนายประกันก็หลังจากที่ทำเรื่องเอกสารเกี่ยวกับการประกันเสร็จ นายประกันก็มีหน้าที่ที่จะต้องซื้อข้าวให้จำเลย ข้าวเที่ยง วิธีซื้อข้าวเที่ยงของที่ศาลอาญาคือ เราสั่งที่ร้าน เราก็เขียนชื่อจำเลยเขียนข้อมูลส่วนตัวของจำเลยใส่ไว้ในกล่องแล้วเดี๋ยวเขาจะไปส่งให้แต่ว่าความแปลกประหลาดคือ เราไม่สามารถซื้อน้ำที่มีน้ำแข็งให้กับจำเลยที่เป็นผู้หญิงได้ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน แล้วก็ซื้อได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นด้วย งงเหมือนกันว่าทำไมเป็นแบบนั้น”  
 
ส่วนที่ศาลอื่นๆ จะสามารถซื้อจากข้างนอกและฝากเข้าไปได้ แต่จะมีการห้ามอาหารที่มีแกงเพราะเขาจะเปิดกล่องดูทุกครั้งอาจจะป้องกันการใส่บางอย่างเข้าไปหรือไม่ ไม่ทราบได้ แต่ละศาลมีกระบวนการไม่เหมือนกัน
 
ย้อนฟังไลฟ์วงเสวนาได้ที่นี่