1028 1825 1653 1318 1665 1552 1942 1572 1099 1884 1508 1694 1890 1715 1055 1714 1171 1926 1681 1998 1473 1085 1649 1512 1057 1502 1214 1097 1269 1676 1803 1408 1928 1798 1577 1954 1344 1464 1698 1742 1372 1320 1439 1689 1229 1032 1754 1005 1775 1290 1599 1401 1284 1937 1842 1737 1923 1799 1474 1070 1853 1736 1544 1288 1545 1671 1823 1086 1938 1087 1702 1992 1881 1987 1278 1058 1160 1737 1535 1023 1603 1223 1766 1531 1333 1482 1442 1660 1263 1677 1702 1673 1529 1567 1433 1143 1284 1460 1676 ภาคประชาชนร้องให้ตรวจสอบคำพิพากษาคดี 112 ของเก็ท-โสภณ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ภาคประชาชนร้องให้ตรวจสอบคำพิพากษาคดี 112 ของเก็ท-โสภณ

13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.30 น. ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ยื่นหนังสือกรณีคำพิพากษาในคดีของ เก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรงให้มีการตรวจสอบว่าการตัดสินเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติ และมีการตีความสรรพนามเป็นอื่นหรือไม่ ในคดีมาตรา 112, พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง และมาตรา 91 โดยในวันนี้มีการยื่นหนังสือสองที่ คือช่วงเช้าที่ศาลฎีกาและช่วงบ่ายทำเนียบรัฐบาล 
 
2964
 
เวลา 9.30 น. ประชาชนประมาณ 10 คนถือป้ายข้อความเรียกร้องให้มีการปล่อยผู้ต้องขังในเรือนจำ และยกเลิกมาตรา 112 จากนั้นตะวันจะยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา และอ่านแถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องดังนี้ 
 
  1. ใน พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 มาตรา 4 กำหนดว่า ผู้ที่จะใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าต้องได้รับอนุญาต และมาตรา 9 กำหนดว่าผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 4 มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองร้อยบาท ดังนั้นคำพิพากษาคดีแดงที่ อ. 2410/2566 กำหนดบทลงโทษฐานใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน นั้น จึงเป็นการตัดสินลงโทษโดยปราศจากบทบัญญัติกฎหมายใดๆ รองรับ ทั้งยังขัดกับบทบัญญัติในตัวบทกฎหมายที่มีอยู่
  2. ตามที่ข้าพเจ้าพร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้รักความเป็นธรรมเห็นว่าประโยคคำพูดของนายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ตามคำฟ้องในคดีนี้ เป็นประที่จำเลยใช้เพียงสรรพนามบุรุษที่สอง เป็นประธานของประโยค ซึ่งตามหลักไวยากรณ์หมายถึงผู้ฟังซึ่งหน้าในขณะนั้นคือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กำลังฟังอยู่ จึงไม่ครบองค์ประกอบมาตรา 112
 
ตะวันกล่าวเสริมว่า ขอร้องเรียนให้มีการตรวจสอบว่าการตัดสินดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามบทกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้หากเป็นความผิดพลาด ก็ควรที่จะชี้แจงแ ละแก้ไขความผิดพลาดนี้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างรุนแรง อีกทั้งเพื่อธำรงความเป็นธรรมในสังคมที่ประชาชนควรได้รับจากศาลยุติธรรม
 
2965
 
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นระยะของการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลทหารเป็นรัฐบาลพลเรือน เราอยากให้รัฐบาลพลเรือนใช้อำนาจและหน้าที่ของตัวเอง ในการส่งเสริมประชาธิปไตย ไม่ใช่ดำเนินเฉกเช่นกับรัฐบาลทหาร 
 
“จริงๆ เรื่องสิทธิเสรีภาพ เรื่องการเมือง เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชา ถ้าเอาเรื่องเหล่านี้ไปซุกซ่อนไว้ แล้วปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปโดยไม่มีการกำกับดูแล ก็เปรียบเสมือนการรักษาอำนาจของรัฐบาลทหารในอดีตต่อไป”
 
เก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมจากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ผู้ถูกกล่าวหาในคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565