1687 1331 1555 1787 1824 1258 1816 1163 1281 1321 1302 1004 1998 1539 1225 1970 1188 1075 1220 1306 1409 1927 1248 1259 1870 1011 1947 1441 1821 1639 1034 1959 1908 1967 1897 1171 1837 1531 1188 1614 1371 1229 1641 1261 1650 1509 1507 1908 1502 1543 1146 1704 1813 1067 1024 1059 1307 1713 1959 1411 1874 1292 1387 1796 1073 1287 1053 1203 1225 1868 1953 1646 1215 1208 1333 1783 1539 1588 1275 1815 1723 1570 1092 1643 1044 1568 1438 1256 1574 1828 1083 1113 1686 1548 1084 1311 1464 1584 1654 รู้จักคดี 112 ที่พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน Royalist ชาวโก-ลก ริเริ่ม | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รู้จักคดี 112 ที่พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน Royalist ชาวโก-ลก ริเริ่ม

 
 
2928
 
1.      สถิติของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า จากจำนวนคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างน้อย 280 คดีมี 136 คดีที่ประชาชนร้องทุกข์กล่าวโทษกันเอง คำว่า “ประชาชน” ในที่นี้มีทั้งผู้เคยมีความขัดแย้งและโต้เถียงกันบนโลกออนไลน์กับกลุ่มที่มีแนวคิดทางการเมืองที่ตรงกันข้ามกับจำเลย เช่น เครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปส.) และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ภาพจำในสังคมเกี่ยวกับมาตรา 112 คือ “ยาแรง” เพื่อหยุดยั้งกระแสการวิจารณ์เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่เริ่มต้นจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2563 หากแต่เหตุที่ถูกนำมาดำเนินคดีส่วนมากไม่ได้เกิดจากการปราศรัยทางการเมืองแต่เกิดจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ “เหยื่อ” ของคดีความโทษหนักส่วนใหญ่ไม่ใช่แกนนำการชุมนุมแต่เป็นประชาชนทั่วไปและมีส่วนหนึ่งผู้ป่วยจิตเวชหรือเยาวชน
 
2.      โทษหนักไม่พอยังซับซ้อนมากขึ้นเมื่อคดีมาตรา112 ริเริ่มจากใครและที่ไหนก็ได้ ในกรณีของพสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ครูสอนภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสและสมาชิกเครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบัน (คปส.) เคยแคปภาพเนื้อหาบนโลกโซเชียลและเดินไปร้องทุกข์กล่าวโทษคดีมาตรา 112 ที่สภ.สุไหงโก-ลกกับประชาชนและนักกิจกรรมอย่างน้อยแปดคน จากการตรวจสอบเจ็ดจากแปดคนไม่มีภูมิลำเนาอยู่ที่สุไหงโก-ลกเลย ความ ‘คลั่งรัก’ ของพสิษฐ์ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดใต้สุดของประเทศไทยนำจำเลยทั้งเจ็ดคนสู่เส้นทางคดีโทษหนักอย่างมาตรา 112พร้อมกับภาระการเดินทางไกล
 
2929
 
3.      เดือนตุลาคม 2566 มีคำพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างน้อย 16 คดี ในจำนวนนี้สามคดีเป็นคดีที่ศาลนราธิวาสนัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยคดีริเริ่มจากการแจ้งความของพสิษฐ์ ได้แก่คดีของภัคภิญญา ‘กัลยา’ และ ‘วารี’ โดยคดีของภัคภิญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกเก้าปี คดีของ ‘กัลยา’ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกสี่ปี และคดีของ ‘วารี’ ศาลยกฟ้อง ระหว่างการสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ทั้งสามได้ประกันตัวตลอดมา
 
4.      แนวโน้มสถานการณ์การคุมขังจำเลยที่คดีไม่ถึงที่สุดเริ่มน่าห่วงกังวล เดือนกันยายน 2566 มีจำเลยในคดีการเมืองที่ไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการสู้คดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 25 คน ในจำนวนนี้สิบคนเป็นจำเลยคดีมาตรา 112 เช่น ‘อุดม’ พนักงานโรงงานจากจังหวัดปราจีนบุรี คดีของเขาเริ่มต้นจากพสิษฐ์ วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ศาลนราธิวาสอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกสี่ปี
 
5.      ต่อมาศาลฎีกาไม่ให้ประกันตัวระหว่างสู้คดีในชั้นฎีกา ระบุว่า “พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 4 ปี หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างฎีกา ให้ยกคำร้อง”
 
2930
 
6.      เมื่อศาลไม่ให้ประกันตัว ‘อุดม’ ต้องอยู่ในเรือนจำจังหวัดนราธิวาสที่ห่างไกลจากบ้าน สำหรับจำเลยที่ถูกดำเนินคดีในพื้นที่ห่างไกลระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้นพวกเขามีต้นทุนในการเดินทางเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์สูงและหากต้องโทษจำคุกต้องเพิ่มต้นทุนทางใจเข้าไปอีก โอกาสที่จะพบหน้าครอบครัวคนที่รักน้อยกว่าจำเลยที่ถูกคุมขังในเรือนจำตามที่อยู่ปัจจุบันของพวกเขา ข้อความล่าสุดของ ‘อุดม’ คือ อยากกินอาหารจากบ้านเกิดจังหวัดปราจีนบุรี
 
7.      ไม่เพียงแค่ประชาชนทั่วไปที่ตกเป็นเหยื่อคดีมาตรา 112 ยังมีผู้ป่วยจิตเวชอย่าง ‘ชัยชนะ’ ที่ต้องเดินทางจากบ้านเกิดในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนไปสู้คดีที่จังหวัดนราธิวาส ท้ายสุดศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษายกฟ้อง 'ชัยชนะ' โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นเหตุแห่งคดีและมีพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความยืนยันว่าข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถนำมาดัดแปลงแก้ไขได้ พยานหลักฐานจึงมีเหตุให้สงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
 
8.      เยาวชนก็ไม่เว้น สองในแปดคนที่พสิษฐ์ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีมาตรา  112 คือ เยาวชนที่ต้องเดินทางไกลไปสู้คดีทั้งคู่ หนึ่งในนั้นคือ ปูน ธนพัฒน์ นักกิจกรรมเยาวชนที่ปัจจุบันอยู่กทม. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เหตุจากการโพสต์ภาพและข้อความลงในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวงพาดพิงรัชกาลที่ 10 และบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงต่อต้านสถาบันกษัตริย์แปดโพสต์ ระหว่างที่เขาอายุยังอายุไม่ถึง 18 ปี ทำให้คดีนี้ปูนถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ จังหวัดนราธิวาส เป็นภาระในการเดินทางไปต่อสู้คดี แม้ว่าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯ จะกำหนดให้ศาลเยาวชนฯ ในถิ่นที่อยู่ปกติของเยาวชน มีอำนาจในการพิจารณาคดี
 
2931
 
9.      ท้ายสุดขอชวนทุกคนติดตามคดีมาตรา 112 ที่ริเริ่มจากพสิษฐ์ จันทร์หัวโทน เครือข่ายประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปส.) ที่กำลังมีคำพิพากษาในวันที่ 17,20 และ 26 ตุลาคม 2566 นี้