1035 1429 1031 1918 1262 1523 1461 1845 1712 1043 1010 1922 1098 1920 1786 1239 1919 1840 1612 1558 1515 1786 1220 1314 1642 1076 1895 1121 1326 1577 1666 1934 1484 1533 1530 1970 1172 1020 1385 1324 1693 1680 1397 1581 1842 1837 1974 1090 1543 1554 1716 1118 1278 1281 1473 1690 1005 1754 1170 1126 1492 1519 1733 1924 1234 1350 1000 1838 1608 1942 1724 1247 1000 1131 1334 1182 1221 1291 1311 1230 1692 1495 1048 1971 1452 1737 1543 1905 1985 1714 1294 1145 1596 1469 1652 1452 1279 1035 1279 ศาลพิพากษาจำคุกวีรภาพสามปี ตาม ม.112 ฐานพ่นสี “ปฎิรูปสภาบันกษัตริย์” ที่ #ม็อบดินแดง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลพิพากษาจำคุกวีรภาพสามปี ตาม ม.112 ฐานพ่นสี “ปฎิรูปสภาบันกษัตริย์” ที่ #ม็อบดินแดง

2908
 
วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 10.12 น. ศาลอาญา รัชดา พิพากษา วีรภาพ วงษ์สมาน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากและกระทำการฝ่าฝืนพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กรณีพ่นสีสเปรย์ข้อความเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ความผิดหลายกรรมจึงลงโทษด้วยตามข้อหาที่หนักที่สุด จำคุกสามปี ไม่รอลงอาญา
 
ศาลเริ่มพิพากษาด้วยการอ่านคำฟ้องและข้อค้นพบที่พบได้จากช่วงสืบพยาน โดยศาลระบุว่าโจทก์มีพยานหลักฐานหนักแน่น ว่าวีรภาพเป็นผู้ไปเข้าร่วมการชุมนุมที่มีความรุนแรงและใช้อาวุธ เจ้าหน้าที่จึงติดตามสืบเรื่อยมาจนกระทั่งพบเห็นบุคคลที่เชื่อว่าเป็นวีรภาพพ่นสีสเปรย์ข้อความดังกล่าว แต่กังวลว่าหากจับกุมทันทีในพื้นที่ชุมนุมจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าดี จึงรอให้การชุมนุมผ่านไปก่อนค่อยเข้าทำการจับกุม
 
อย่างไรก็ตามศาลระบุว่า มีพยานที่ยืนยันว่า วีรภาพไม่เคยใช้ความรุนแรงต่อเจ้าพนักงานหรอขัดขืนการจับกุม ศาลจึงลงความเห็นว่าข้อกล่าวหาในประเด็นดังกล่าวตกไป คงเหลือไว้เพียงข้อหาการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์เท่านั้น
 
ขณะเดียวกัน ศาลระบุว่าข้อความที่วีรภาพพ่นสีเอาไว้ทั้งหมดไม่ได้เป็นการแสดงออกทางการเมืองทั่วไป เพราะมีถ้อยคำหยาบคายที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 
 
วีรภาพ ขณะเกิดเหตุมีอายุ 18 ปี ได้เข้าร่วมการชุมนุมที่แยกดินแดง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 หลังการประกาศยุติบทบาทชั่วคราวของเพจ “ทะลุแก๊ส” ซึ่งจบลงด้วยการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่จนมีผู้บาดเจ็บและถูกจับกุมตามมาอีกเป็นจำนวนมาก โดยวีรภาพถูกจับกุมในวันที่ 15 กันยายน 2565 ต่อมาศาลอนุญาตให้วีรภาพประกันตัวระหว่างการสู้คดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ด้วยการวางหลักทรัพย์ 100,000 บาทจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะเดิมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอีก รวมทั้งต้องใส่กำไล EM ตลอดเวลา
 
วีรภาพถูกอัยการฟ้องในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 จากข้อกล่าวหาว่า เป็นผู้พ่นสีข้อความเกี่ยวข้องกับประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ใส่ตู้ควบคุมกำลังไฟและเสาของทางด่วนดินแดง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีภาพเคลื่อนไหวบันทึกไว้เป็นหลักฐานประกอบสำนวน
 
อัยการบรรยายฟ้องว่า คำว่า “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เข้าใจได้ว่า ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เลื่อนลอย ปราศจากหลักฐาน ถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทําให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสถาบัน ว่าทรงอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
 
หลังถูกอัยการสั่งฟ้อง ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัวจำเลย โดยใช้หลักทรัพย์เดิมจากชั้นสอบสวน คือจำนวน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
 
วันนี้ (28 กันยายน 2566) ศาลมีคำพิพากษาจำคุกสามปี ไม่รอลงอาญา ไม่มีเหตุให้ลดโทษ ขณะนี้กำลังทำเรื่องขอประกันตัวต่อไป
 
คดีนี้เป็นอีกหนึ่งคดีที่มีการนำมาตรา 112 เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพ โดยตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2566 ผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 257 คน ใน 279 คดี แยกเป็นคดีที่มี “ประชาชน” เป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำนวน 135 คดี คดีที่เกี่ยวกับการปราศรัยในการชุมนุมจำนวน 52 คดี คดีที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ จำนวน 150 คดี ทั้งหมดนี้เป็นคดีที่อยู่ในชั้นศาลแล้ว จำนวน 195 คดี 
 
ยังไม่มีแม้แต่คดีเดียวที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี