1863 1383 1425 1476 1968 1826 1918 1127 1552 1442 1824 1385 1934 1847 1169 1736 1213 1397 1366 1085 1000 1099 1908 1728 1422 1964 1063 1197 1519 1798 1177 1720 1653 1029 1991 1351 1026 1909 1678 1394 1807 1346 1705 1869 1587 1913 1200 1154 1750 1871 1299 1731 1673 1260 1276 1451 1010 1955 1339 1941 1489 1690 1485 1541 1028 1975 1633 1654 1344 1657 1568 1704 1904 1294 1481 1169 1087 1658 1705 1808 1610 1061 1487 1549 1629 1452 1312 1775 1815 1460 1304 1265 1489 1965 1122 1927 1554 1977 1704 รวม 8 สส. เข้าสภาพร้อมบ่วงคดี “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” เครื่องมือคุมม็อบในยุคโควิด-19 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รวม 8 สส. เข้าสภาพร้อมบ่วงคดี “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” เครื่องมือคุมม็อบในยุคโควิด-19

สถานการณ์ประเทศไทยในปี 2563 - 2565 ตกอยู่ภายใต้การระบาดของโรคโควิด 19 ที่กระทบไปทุกภาคส่วนทำให้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" ถูกนำมาใช้เพื่อรับมือควบคุมภัยโรคระบาดร้ายแรงไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 ในขณะเดียวกันช่วงเวลาดังกล่าวยังเกิดการชุมนุมขับไล่รัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทำให้กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้กล่าวหาดำเนินคดีกับประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วย แม้ต่อมาสถานการณ์โรคระบาดจะเริ่มควบคุมได้ แต่การดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมกลับไม่เบาตาม 
 
แม้ว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะถูกยกเลิกแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แต่ไม่ได้เป็นผลให้การดำเนินคดีอาญาที่สืบเนื่องมาจากการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรคโควิดของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สิ้นสุดไปด้วย คดีของผู้ชุมนุมทางการเมืองยังคงเดินตามขั้นตอนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงกลางปี 2566 ผู้ชุมนุมบางส่วนซึ่งเป็นที่รู้จักในวงกว้างและมีบทบาทออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนบทบาทเข้าสู่สนามการเมืองระดับประเทศสวมบทบาทใหม่กลายเป็น “ผู้แทนราษฎร” ชุดที่ 26 แต่ก็ยังพ่วงด้วยคดีในอดีตเหล่านี้อยู่ 
 
ชวนดูสถิติจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ชุดที่ 26 ที่เคยถูกดำเนินคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในช่วงปี 2563 - 2565 ว่ามีใครกันบ้างและคดีความของพวกเขามีกี่คดีและเป็นอย่างไร
 
2907
 
7 สส.พรรคก้าวไกลรวม 37 คดี สส.เพื่อไทยหนึ่งเดียวรับจบ 9 คดี เหตุร่วมชุมนุมไล่ประยุทธ์
 
น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.จังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ในช่วงการชุมนุมปี 2563 ปรากฎตัวในหลายบทบาททั้งในฐานะผู้สังเกตการณ์ร่วมกับคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ไปจนถึงเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุม และผู้ที่คอยดูแลผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บในฐานะแพทย์อาสา โดยน.พ.ทศพร ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 9 คดี คดีสิ้นสุดแล้ว 4 คดี (ยกฟ้อง 1 คดี ลงโทษปรับ 2 คดี รอการกำหนดโทษ 1 คดี) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
 
นอกจากจะมีคดีติดตัวหลายคดีแล้ว น.พ.ทศพร ยังเป็น “คนแรกๆ” ที่ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการทำกิจกรรมทางการเมือง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ก่อนที่ข้อหานี้จะกลายเป็นข้อหา “หว่านแห” สำหรับการชุมนุมต่อจากนั้นอีกหลายร้อยครั้ง
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี
คดีกิจกรรมรำลึกครบรอบ 10 ปี สลายการชุมนุมเสื้อแดง บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ
19 พฤษภาคม 2563 จัดกิจกรรมร่วมกับ  อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง) บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนเพราะโควิด
 
9 สิงหาคม 2565 ศาลแขวงปทุมวันพิพากษามีความผิด โดยเห็นว่าประกาศฯ ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกโดยชอบแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิด แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วยจึงให้รอการกำหนดโทษสองปี
คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกรณีการชุมนุมที่แยกปทุมวัน 16 ตุลาคม 2563
 
ร่วมชุมนุมในฐานะแพทย์อาสา
19 ต.ค.2563 ศาลแขวงปทุมวันอนุญาตให้ประกันตัว โดยให้ทำสัญญาประกัน 20,000 บาท ว่าจะไม่กระทำการในลักษณะที่ถูกดำเนินคดีอีก และให้มารายงานตัวเมื่อถูกเรียก 
 
คดีชุมนุมที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2563 หรือ #ม็อบ17ตุลา
 
ร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัยบริเวณหน้ายูเนียนมอล์ 30 พฤศจิกายน 2563 น.พ.ทศพร รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
คดีชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 #ม็อบ19ตุลา เข้าไปในที่ชุมนุมในฐานะแพทย์อาสา และสมาชิกคณะทำงานของ กมธ. ของสภาฯ โดยขึ้นกล่าวให้กำลังใจสั้นๆ และพูดถึงมาตรการป้องกันโควิด-19 บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ศาลยกฟ้อง วินิจฉัยว่าการร่วมกลุ่มกันหน้าเรือนจำของจำเลยและประชาชนกว่า 300 คน เป็นเพียงการรอให้กำลังใจผู้ต้องขังคดีการเมืองเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้
คดีชุมนุม#ม็อบ19ตุลา บริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ ปฏิบัติหน้าที่แพทย์อาสาที่บริเวณแยกเกษตรและให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนให้รายละเอียดเกี่ยวกับการชุมนุม  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกคนละ 1 เดือน ปรับคนละ 14,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563  ร่วมชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินเท้ามุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่น “จดหมายลาออกของนายกฯ”  ศาลพิพากษาลงโทษปรับเนื่องจากให้การรับสารภาพ 
คดีกิจกรรม “อยู่เป็นเพื่อน ย้ำเตือนความยุติธรรม” เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564  ร่วมกิจกรรมชุมนุมเคาท์ดาวน์ “ปล่อยเพื่อนเรา” ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
ชลธิชา แจ้งเร็ว สส.จังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมร่วมก่อตั้งกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ยุคหลังรัฐประหาร 2557 ในช่วงการชุมนุมปี 2563 ชลธิชา ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องหลากหลายบทบาททั้ง "ผู้อำนวยความสะดวก" ให้แก่ผู้ชุมนุม ควบคู่กับการรับบท "ผู้เจรจา" กับตำรวจเพื่อเปิดทาง-เปิดพื้นที่การชุมนุมประท้วง โดยชลธิชา ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 15 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 11 คดี  (สั่งไม่ฟ้อง 2 คดี ยกฟ้อง 9 คดี) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี
คดีชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” (ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์) ที่บริเวณทางเท้าหน้าร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 เป็นผู้จัดการชุมนุม  โดยเนื้อหาของการชุมนุมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา  ศาลยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่ปรับคนละ 200 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
#ม็อบประชาชนปลดแอก ที่บริเวนถนนราชดำเนินกลาง รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563  เป็นผู้จัดการชุมนุมและเจรจากับเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมชุมนุม โดยเนื้อหาของการชุมนุมมีหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์รัฐบาล การสืมทอดอำนาจคสช. และอื่นๆ  
ศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา โดยเห็นว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมหรือการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล โดยในระดับการป้องกันโควิด ในพื้นที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ยังไม่ถึงขนาดเสี่ยงต่อการแพร่โรค และสถานการณ์ติดเชื้อในขณะนั้นก็เป็นศูนย์
 
คดีจัดกิจกรรม “กวี ดนตรี ปลดแอกแหวกหาคนหาย” รำลึกถึงผู้สูญหายหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 
เป็นผู้แจ้งการชุมนุม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มศิลปินกวีปลดแอก “กวี ดนตรี ปลดแอก แหวกหา คนหาย ร่วมรำลึกเหตุการณ์ทางการเมือง” ระหว่างการจัดกิจกรรม มีผู้ชุมนุมผลัดกันปราศรัยโจมตีรัฐบาล และสลับเล่นดนตรี 
 
ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าสถานที่ชุมนุมเป็นสถานที่แออัด การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การทำกิจกรรม ชุมนุมมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด แต่ปรับ 200 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
คดีม็อบ #ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา บริเวณด้านหน้าของรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เป็นผู้จัดการชุมนุมเรียกร้องให้สภาเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกหมวด, การลดอำนาจ สว. และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าสถานที่ชุมนุมเป็นสถานที่เปิดโล่ง ขณะนั้นสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่รุนแรง ไม่ปรากฎว่าจำเลยจัดชุมนุมที่มีลักษณะมั่วสุม หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือไม่
คดีชุมนุม “คณะราษฎรอีสาน” บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563 เข้าร่วมชุมนุมโดยไม่ได้มีการปราศรัยใดๆ อัยการสั่งไม่ฟ้อง โดยเห็นว่า ไม่ปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่นตลอดพื้นที่ อันเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสและแพร่เชื้อโรค ไม่มีความรุนแรง
คดีชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 63 หรือ #ม็อบ18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย ร่วมชุมนุมและให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำที่ถูกคุมขัง รวมทั้งยืนยันข้อเสนอ 3 ข้อของการเคลื่อนไหว ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการเข้าร่วมชุมนุมและให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เป็นการเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุม
คดีชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 63 ร่วมชุมนุม เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก 2. เปิดประชุมวิสามัญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 4 มกราคม 2564 รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 #ม็อบ19ตุลา เป็นผู้จัดกิจกรรมและปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทั้ง 19 คน และขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการรวมกลุ่มกันหน้าเรือนจำของจำเลยและประชาชนกว่า 300 คน เป็นเพียงการรอให้กำลังใจผู้ต้องขังคดีการเมืองเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้
คดีม็อบ20ตุลา หน้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมและเคลื่อนขบวนไปยังหน้าทําเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์  ศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา โดยเห็นว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องไม่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมหรือการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล และสถานที่เกิดเหตุเปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก จึงไม่น่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคระบาด
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย  เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมเพื่อติดตามการพิจารณาลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ รวมถึงร่างฉบับประชาชน ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ ไม่ถึงขนาดฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
คดี #ม็อบ17พฤศจิกา ที่หน้ารัฐสภา เกียกกาย  เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563  ร่วมชุมนุมเพื่อติดตามการพิจารณาลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ รวมถึงร่างฉบับประชาชน อัยการสั่งไม่ฟ้อง โดยเห็นว่าไม่ใช้ผู้จัดการชุมนุม และไม่ปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่นตลอดพื้นที่ อันเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสและแพร่เชื้อโรค อีกทั้งไม่ปรากฎว่ายุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
คดีกิจกรรม #ขยะในพระปรมาภิไธย หรือ #ม็อบ6มีนา ในวันที่ 6 มีนาคม 2564 บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดาฯ ร่วมชุมนุมทำกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัว4 แกนนำราษฎรซึ่งไม่ได้รับการประกันตัว  ศาลยกฟ้อง เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยเข้าร่วมชุมนุม
คดี #ม็อบ18กรกฎา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564  ร่วมชุมนุมปราศรัยและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไล่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีคาร์ม็อบ 11 กันยา ที่ด้านหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564  ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ (Car Mob) จากหน้าห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ไปยังศาลจังหวัดธัญบุรี และปราศรัยย้ำข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และประเด็นงบประมาณของสถาบันกษัตริย์ฯ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
ปิยรัฐ จงเทพ สส.กรุงเทพมหานคร เขตที่ 23 นักกิจกรรมการเมืองและอดีตผอ.กองงานมวลชนอาสา (Wevolunteer) ในช่วงปี 2563 มักปรากฎตัวในฐานะแนวหน้า หัวหน้าการ์ดม็อบโดยปิยรัฐ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 12 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 3 คดี (ยกฟ้อง 1 ลงโทษปรับ 2 ) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี
คดี #ม็อบมุ้งมิ้ง ชุมนุมปราศรัยหน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563  ร่วมจัดการชุมนุมและปราศรัยตั้งคำถามกับการจัดสรรงบประมาณของกองทัพบก ศาลพิพากษาว่ามีความผิด โดยเห็นว่าการชุมนุมไม่ได้จัดให้มีจุดคัดกรอง ไม่มีการเว้นระยะห่าง ลงโทษปรับคนละ 20,000 บาท และ ปรับข้อหาใช้เครื่องเสียงคนละ 200 บาท รวมปรับคนละ 20,200 บาท แต่ลดโทษให้ 1/4 เหลือปรับคนละ 15,150 บาท  
คดีคาร์ม็อบ #ม็อบ1สิงหา64 (แยกราชประสงค์ และเคลื่อนขบวนไปทางประตูน้ำ สู่ถนนวิภาวดี)  ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ #ม็อบ1สิงหา เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  13 กันยายน 2564 รับทราบข้อกล่าวหาและยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีอั้งยี่-ซ่องโจร กลุ่มการ์ดวีโว่ ที่ห้างเมเจอร์รัชโยธิน  แกนนำกลุ่มมีพฤติการณ์ที่เป็นการชุมนุมมั่วสุมกัน ก่อน​​นัดหมายชุมนุม #ม็อบ6มีนา64 อยู่ระหว่างการดำเนินคดี
คดี #ม็อบ18กรกฎา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564  ร่วมชุมนุมปราศรัยและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไล่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย  เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมและเคลื่อนขบวนไปยังหน้าทําเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสันติไม่ถึงขั้นยุยงปลุกปั่น  การใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่ปรากฎว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม
คดีชุมนุมแต่งชุดไทยให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 บริเวณหน้าสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เป็นผู้จัดกิจกรรมให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดีทั้งสองคน บริเวณหน้าสน.ยานนาวา ศาลพิพากษาว่ามีความผิด แม้ไม่ได้ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่จำเลยถือเป็นผู้จัดการชุมนุม มีหน้าที่แจ้งการชุมนุม เมื่อไม่ได้แจ้ง จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ลงโทษปรับ 3,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์ลดโทษลง 1 ใน 3 คงปรับ 2,000 บาท
คดีจัดกิจกรรม #ม็อบ1กุมภา หรือ #StandWithMyanmar บริเวณหน้าสถานเอกอัครทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564  เป็นผู้จัดกิจกรรมประกาศเชิญชวนให้มาชุมนุมและปราศรัยเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หลาย ในประเทศเมียนมา ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด  
ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สส.จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านการรัฐประหารปี 2557 และในช่วงการชุมนุมปี 2563 ร่วมกลุ่มเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี โดยปัญญารัตน์ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 3 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 1 คดี (ลงโทษปรับ)
 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี
คดี #ม็อบ24มิถุนา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564  ไม่ปรากฎข้อมูลแน่ชัด 
ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแขวงดุสิตแล้ว คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
 
คดี ‘คาร์ม็อบไล่ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564  ร่วมชุมนุมมีการใช้รถที่ติดตั้งเครื่องขยายเสียงอยู่บนรถส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเรียกร้องให้พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
ศาลพิพากษาว่ามีความผิด เนื่องจากจำเลยบางคนไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และมีการถอดหน้ากากอนามัยคุยกันสร้างความเสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด–19 และใช้เครื่องขยายเสียงลงโทษปรับ 6,000 บาท 
 
คดีคาร์ม็อบ 2 สิงหาคม 2564 ไม่ปรากฎข้อมูลแน่ชัด ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 

ธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 พรรคก้าวไกล ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “รัฐธรรมนูญก้าวหน้า - CONLAB ที่เคยร่วมรณรงค์และรวบรวมรายชื่อของประชาชนเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเป็นแกนนำกลุ่ม Re-Solution เคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2564  โดย ธิษะณาถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 4 คดี

ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรม #3ตุลามาไล่ประยุทธ์ ที่บริเวณลานกิจกรรมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564  ร่วมปราศรัยย้ำสามข้อเรียกร้อง ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันฯ คดียังอยู่ในชั้นสอบสวนของตำรวจ
คดีชุมนุมทำกิจกรรมขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริเวณสะพานผ่านฟ้าและเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ร่วมชุมนุมกับกลุ่มไทยไม่ทน รับทราบข้อกล่าวหา (ข้อมูลจากบัญชีแอป X Tisana Choonhavan - ธิษะณา ชุณหะวัณ@tisanachoonhav2) และยังไม่ปรากฎว่าคดีสิ้นสุด 
คดีเรียกร้องให้บริษัท Victoria’s Secret เยียวยาแรงงาน จากกรณีปิดโรงงานช่วงโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ร่วมปราศรัยหน้ากระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากบัญชีแอป X Tisana Choonhavan - ธิษะณา ชุณหะวัณ@tisanachoonhav2) ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีชุมนุม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ร่วมปราศรัยโดยกล่าวถึงปัญหาของข้อกฎหมายมาตรา 112 การตีความกฎหมาย และฎีกาของศาลที่ผ่านมา ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
เฉลิมพงศ์ แสงดี สส.จังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล โดยเฉลิมพงศ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด ทั้งหมด 1 คดี 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรมคาร์ม็อบในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 สังเกตการณ์ในที่ชุมนุมและถูกกล่าวว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเชิญชวนให้มาร่วมชุมนุม 25 สิงหาคม 2564 รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่ปรากฎว่าคดีสิ้นสุด
ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อดีตสส.บัญชีรายชื่อสัดส่วนภาคใต้ พรรคก้าวไกลชุดที่ 25 ในช่วงการชุมนุมปี 2564 เคยแสดงความเห็นประณามรัฐบาลกรณีการสลายชุมนุมกลุ่มม็อบจะนะรักษ์ถิ่น โดยประเสริฐพงษ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 คดีซึ่งถูกยกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว
 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีคาร์ม็อบกระบี่ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีคุณภาพ ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าการชุมนุมจัดในที่แจ้ง มีอากาศถ่ายเท สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ไม่ถึงขนาดที่จะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล การเลือกตั้งปี 2562 เคยลงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในช่วงการชุมนุมปี 2563 -2565 พริษฐ์เคลื่อนไหวทางการเมืองในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราภายใต้กลุ่ม Re-Solution โดยพริษฐ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 คดี
 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรม #ราษฎร์ธรรมนูญ ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 เข้าร่วมกิจกรรม “ราษฎร์ธรรมนูญ” ในฐานะวิทยากรเกี่ยวกับประเด็นรัฐธรรมนูญ รับทราบข้อกล่าวหา และคดียังอยู่ในชั้นสอบสวนของตำรวจ

 

ชนิดบทความ: