1782 1065 1353 1950 1510 1859 1558 1601 1322 1961 1924 1221 1375 1789 1839 1354 1302 1351 1448 1357 1394 1346 1585 1026 1831 1659 1054 1556 1203 1850 1084 1663 1623 1040 1314 1028 1615 1661 1322 1106 1673 1907 1645 1156 1808 1890 1209 1277 1566 1903 1716 1588 1306 1530 1935 1780 1400 1336 1149 1893 1499 1849 1334 1540 1444 1780 1374 1490 1616 1307 1656 1159 1775 1101 1988 1881 1777 1195 1856 1010 1178 1459 1158 1231 1970 1326 1626 1683 1981 1324 1779 1455 1935 1666 1385 1089 1467 1115 1498 ธีรวัช: “ผมไม่ได้ทำอะไรผิด” การต่อสู้ของเด็กหนุ่มผู้ถูกคดี มาตรา 112 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ธีรวัช: “ผมไม่ได้ทำอะไรผิด” การต่อสู้ของเด็กหนุ่มผู้ถูกคดี มาตรา 112

2898

 

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยังถูกเข้าใจอยู่ว่า “ไม่ทำผิด ไม่ติดคุก” และมีเพียง “ตัวแสบ” ไม่กี่คนที่โดนจับ อย่างไรก็ตามความเป็นจริงนั้นกฎหมายข้อนี้มีปัญหามากกว่านั้น ดังเช่นกรณีของ ‘ธีรวัช’ ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพียงการกดแชร์สเสตัสเฟซบุ๊กเช่นเดียวกับคนอื่น

 

“วันนั้นตำรวจไปบ้านที่ต่างจังหวัด คุณย่าเลยโทรหาเรา กลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นคดีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เราเลยบอกตำรวจว่าเราจะไปหาที่สถานีตำรวจวันต่อไป เราก็ไปแบบไม่มีทนายเลยเพราะตำรวจบอกคุณย่าให้หลานไปหา ไปยอมรับ แล้วจะไม่เป็นอะไร”

 

นอกจากนี้คดีดังกล่าวยังไม่ถูกดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเจ้าหน้าที่ตัดสินใจบอกธีรวัชเพียงให้ “ไปเซ็น” จะได้ไม่ถูกข้อหาอะไร สอบสวนเขาขณะไม่มีทนายอยู่ด้วยเป็นเวลากว่าสี่ชั่วโมง ปฏิเสธการให้ไปดำเนินคดีในศาลเยาวชนทั้งที่เขาเพิ่งอายุ 18 มาได้ไม่กี่เดือน ซ้ำร้ายยังเรียกเงินประกันตัวที่สูงยิ่งกว่าผู้ต้องหาคดียาเสพติดไม่รู้กี่เท่า

 

“ผมไม่ได้ทำอะไรผิด ย้อนกลับไปผมก็จะทำแบบเดิม ถ้าถึงเวลาต้องกดแชร์ก็จะกดแชร์อีกครั้ง”

 

วันที่ 28 กันนายน 2566 นี้ศาลกำลังนัดพิพากษาคดีของเขา แต่กำลังใจของเขายังเต็มร้อย และเชื่อว่าไม่มีความผิดใดที่ตัวเองได้กระทำเกินไปกว่าการใช้สิทธิเสรีภาพตามที่สังคมควรจะเป็น

 

เพราะทุกคนควรสนใจการเมือง จุดเปลี่ยนจากคนขายน้ำเต้าหู้สู่ม็อบเยาวชนปี 2563 

 

ธีรวัชเป็นนักเรียนสายอาชีพแห่งหนึ่งแม้ส่วนตัวเขาจะชอบการเรียนสายสามัญมากกว่า โดยช่วงระหว่างมัธยมปีที่หนึ่งถึงมัธยมปีที่สามเขาได้ขึ้นมาเรียนที่กรุงเทพมหานคร ตรงนี้เขาระบุเองว่าเป็นเพราะเขา “ดื้อ” จนคุณพ่อต้องให้มาอยู่ใกล้ตัว 

 

“อยู่กรุงเทพฯ เหงามาก เพราะก็ต้องอยู่ที่บ้านกับคุณพ่ออย่างเดียว เหมือนเป็นเด็กในกล่อง คุณพ่อก็เป็นตำรวจ”

 

ความดื้อของเขาทำให้ในสมัยก่อนเขากับคุณพ่อจะกระทบกระทั่งกันบ้าง เราจึงถามความฝันของเขาในวัยเด็ก ทว่าเขาไม่ได้ตอบชัดเจนว่ามีความฝันอะไรเนื่องจากชีวิตมีการผันเปลี่ยนไปมาบ่อย ตอนนี้เขาก็ถือเพียงแค่ต้องการมีอาชีพที่มั่นคงและไม่เดือดร้อนเรื่องเงินเพียงเท่านั้น

 

“แต่ตอนนี้ความสัมพันธ์ผมกับคุณพ่อปกติกันแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ได้ไปขายน้ำเต้าหู้ด้วยตนเอง ใช้ชีวิตด้วยตัวเองหนึ่งปีแบบไม่ขอเงินใคร ไม่เดือดร้อนใคร”

 

ธีรวัชใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตวัยรุ่นไปช่วยพี่สาวขายน้ำเต้าหู้อยู่ที่ตลาดแห่งหนึ่งแถวคลองสาม จังหวัดปทุมธานี เขาบอกว่าช่วงก่อนหน้าขายดีมากจนกระทั่งเศรษฐกิจแย่ลง พอเศรษฐกิจแย่ลงการย้ายไปขายที่อื่นก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว เขาจึงต้องพยายามออกมาหางานประจำจนกว่าจะพร้อมกลับไปขายน้ำเต้าหู้อีกครั้ง เนื่องจากมีอุปกรณ์และสูตรอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้เช่นกันที่ทำให้เขามองว่าการขายน้ำเต้าหู้เหนื่อยน้อยกว่าการทำงานประจำที่เขาทำอยู่เป็นอย่างมาก

 

“ตอนนี้ผมฝึกงานเพื่อเตรียมเป็นผู้จัดการร้านสุกี้แห่งหนึ่งอยู่… เหนื่อยกว่ามาก เข้างานหกโมงเย็น ออกงานตีสองครึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการเดินใช้แรง”

 

จึงเท่ากับว่า ธีรวัชได้เผชิญหน้ากับพิษเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศไทยในช่วงการปกครองของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนทำให้ต้องเปลี่ยนจากการเป็นนายตัวเองมาสู่งานประจำในระบบ ซึ่งยิ่งกระทบต่อสุขภาพ การพักผ่อน และเวลาส่วนตัวจำนวนมากอีกด้วย

 

ด้วยเหตุนี้เราจึงสงสัยว่า เพราะอะไรเขาจึงเริ่มหันมาสนใจการเมือง

 

“คนรอบตัวสนใจการเมือง ผมก็สนใจด้วย อยู่ในทุกกลุ่มอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องเบสิกอ่ะครับ ต้องสนใจ ไม่สนใจสิแปลก”

 

ธีรวัชเริ่มสนใจการเมืองจากการซึบซับจากคนรอบตัว จุดนี้ทำให้เขามองว่าการเมืองเป็นเรื่องปกติที่ควรสนใจ สำหรับธีรวัชการไม่สนใจการเมืองเลยคือเรื่องแปลกประหลาด แต่หากจะหาจุดตัดที่ทำให้เขาหันมาสนใจการเมืองอย่างจริงจังก็ต้องมองไปที่ผลการเลือกตั้งในปี 2562 ที่พล.อ.ประยุทธ์ ชนะการเลือกตั้งด้วยกลไกจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่มีที่มาจากการทำรัฐประหารในปี 2557 

 

2899

 

“เริ่มสนใจจริงๆ คือ ช่วงการเลือกตั้งปี 2562 ที่ประยุทธ์ชนะการเลือกตั้ง คนด่าประยุทธ์บ่อยมาก เราก็อยากรู้ว่าทำไมประยุทธ์ถึงโดนด่า ทำไมคนเขาถึงไม่ชอบประยุทธ์กัน เราก็อ่านสืบตามการเมืองมาเรื่อยๆ จนรู้ว่าระบบการเมืองไทยมันเป็นอย่างไรบ้าง”

 

ด้วยเหตุนี้ทำให้ธีรวัชตัดสินใจไปชุมนุมครั้งแรกที่แยกเกษตร ฝั่งบางเขน เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 หลังการชุมนุมของคณะราษฎรถูกสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และมีแกนนำหลายคนถูกจับกุม ซึ่งเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในการไปชุมนุม ไม่ได้ถูกห้ามอะไรเหมือนที่ครอบครัวอื่นเผชิญ 

 

แต่ในตอนนั้นเขาก็ยังไม่รู้ว่าการสนใจการเมืองดังที่ประชาชนในประเทศนี้ควรจะทำ จะนำคดีความมาสู่ตัวเขาเอง ซึ่งก็ไม่ใช่คดีธรรมดาแต่ก็เป็นคดีอาญาแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอีกด้วย

 

กดแชร์สเตตัสก็ทำให้เกือบติดคุก เมื่อคดีมาตรา 112 เงินประกันตัวสูงกว่าคดียาเสพติ

 

เขาอายุเพียง 18 ปี กับอีกไม่กี่เดือนนัก เมื่อมีเจ้าหน้าที่เดินทางไปพบญาติเขาที่ต่างจังหวัดเพื่อแจ้งว่าธีรวัชถูกดำเนินคดีความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์สเตตัสเฟซบุ๊กของเพจ “KonThaiUK” ในหัวข้อที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยและการแต่งตัวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ซึ่ง ณ ขณะนั้นสังคมไทยกำลังพูดถึงกระแสการ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” กันอย่างร้อนแรง 

 

“ตอนที่กดแชร์สเตตัสนั้นก็ไม่ได้คิดว่าจะโดนคดี เพราะคนแชร์ร่วมกันเยอะมาก เราแค่ไม่รู้ไปใช้ชื่อจริงนามสกุลจริง-ไม่ได้ตั้งค่าให้เป็นส่วนตัว เราเห็นคนแชร์เยอะทำไมเราจะแชร์บ้างไม่ได้ เราไม่น่าจะเป็นคนโดน”

 

เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าการแชร์สเตตัสเพียงสเตตัสเดียวจะทำให้มีการดำเนินคดีตามมา โดยเฉพาะในประเด็นการเมืองที่มีคนร่วมแชร์กันเป็นจำนวนมหาศาล ปัญหาสำคัญที่เขาตระหนักได้คือการใช้ชื่อและนามสกุลจริงในการแชร์สเตตัสการเมือง ที่สำคัญคือการไม่ได้ตั้งค่าไว้ให้เป็นการแชร์ในลักษณะส่วนตัว แต่เป็นการแชร์แบบสาธารณะที่คนอื่นๆ สามารถมองเห็นได้ ประกอบกับชื่อนามสกุลจริงที่เขาใช้ยังเป็นภาษาไทยอีกด้วย จึงอาจจะยิ่งเป็นการสร้างความสะดวกให้แก่เหล่า “นักร้อง” ที่ตามหากลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ไปร้องทุกข์กล่าวโทษแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

2903

 

“วันนั้นตำรวจไปบ้านที่ต่างจังหวัด คุณย่าเลยโทรหาเรา กลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นคดีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เราเลยบอกตำรวจว่าเราจะไปหาที่สถานีตำรวจวันต่อไป เราก็ไปแบบไม่มีทนายเลยเพราะตำรวจบอกคุณย่าให้หลานไปหา ไปยอมรับ แล้วจะไม่เป็นอะไร”

 

ด้วยเหตุนี้ธีรวัชจึงเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางแก้วเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ซึ่งตอนนั้นเจ้าหน้าที่ก็ “สืบ” ด้วยการถามคำถามจำนวนมาก เช่น ทำไมจึงทำแบบนี้ ทำไปทำไม โดยที่ไม่ได้มีทนายร่วมด้วย จนกระทั่งทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกให้เขามาในวันต่อไป ซึ่งธีรวัชระบุว่าวันต่อไปที่มาถึงก็คือวันที่เขาไปศาลและถูกนำตัวลงไปยังใต้ถุนศาลเพื่อรอส่งเข้าเรือนจำเสียแล้ว ตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่ธีรวัชได้เจอกับทนาย

 

“ตอนที่ถูกเรียกตัวไปพบเจ้าหน้าที่ เขาสัมภาษณ์เราจริงๆ แค่ประมาณหนึ่งชั่วโมง ที่เหลือเขาทำอะไรของเขาก็ไม่รู้ ตอนเขาถามก็จะถามช้าๆ เหมือนเน้นประเด็น ที่เหลือเขาก็มัวแต่พิมพ์อะไรสักอย่าง”

 

สาเหตุที่ธีรวัชยอมไปพบเจ้าหน้าที่ครั้งนี้ เขาระบุว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกกับคุณย่าให้ธีรวัชต้องไปตามนัดจะได้ไม่เป็นอะไร หากไม่ไปจะถูกออกหมายจับ ซึ่งธีรวัชก็ระบุว่าเขาไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเขา แต่ก็ได้เจอกันแล้วในชั้นศาล โดยคาดว่าเป็น “นักฟ้อง” ที่ไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษคดีมาตรา 112 แค่ของเขาเท่านั้น แต่น่าจะเป็นขาประจำของศาลนี้เสียด้วย

 

การต่อสู้ทางคดี ธีรวัชมีจุดแข็งว่าในช่วงเวลาที่ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษเขาเพิ่งมีอายุ 18 ปีมาได้ไม่นาน ทนายความของเขาจึงพยายามต่อสู้เพื่อให้คดีของเขาถูกยกไปพิจารณายังศาลเยาวชนแทนศาลทั่วไป เนื่องจาก “พระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553” มาตรา 97 เปิดโอกาสให้บุคคลอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ หากศาลพิจารณาเห็นว่ามีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน โดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว สามารถมีคำสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนได้ 

 

ด้วยเหตุนี้เขาจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพจิตเพื่อระบุวุฒิภาวะที่ชัดเจนจากสถาบันจิตเวช โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่ก็ไม่สามาถทำให้เขาสามารถย้ายคดีนี้ไปสู่ศาลเยาวชนได้สำเร็จ

“ตอนแรกที่ไปเราคุยกับหมอ หมอก็เหมือนเป็นนักศึกษาแพทย์ก็เข้าใจเรานะว่าเราไม่ได้เป็นอะไร เราต้องการความช่วยเหลือ หมอเขาก็คุยกันสักพักกับอาจารย์หมอ เราก็ชื้นใจแล้วแต่พอผลออกมาเราก็เซ็งนิดหน่อยว่าเขาช่วยเราไม่ได้”

 

ธีรวัชต้องใช้เงินประกันตัวระหว่างสู้คดีสูงมากถึง 150,000 บาท จำนวนนี้ถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก โดยเฉพาะตอนที่ธีรวัชเปรียบเทียบจำนวนเงินประกันของเขากับจำนวนเงินประกันในคดีอื่นๆ ที่เขาได้เจอ ณ ใต้ถุนศาล 

 

“ทั้งที่ในห้องตอนนั้นเงินประกันตัวสูงสุดที่ได้ยิน คือ ประมาณหนึ่งถึงสองหมื่นบาทในคดียาบ้า… แต่เอาจริงๆ ก็พอจะเข้าใจเลยว่าทำไมคดีผมแพง ก็เขาจะแกล้งเรา มันก็เขียนไว้ในมาตราเลยว่าเป็นการอาฆาตมาดร้าย ทั้งที่เราแค่แชร์โพสต์ เลยไม่ได้รู้สึกแปลกใจที่เงินประกันจะสูง”

 

หลังจากจ่ายเงินประกันตัวด้วยเงินของกองทุนดาตอร์ปิโด ธีรวัชต้องไปต่อสู้คดีในชั้นศาลอีกปีละสี่ถึงห้าครั้ง ทำให้ตั้งแต่ปีที่ถูกอัยการสั่งฟ้องจนถึงปัจจุบันเขาต้องเสียเวลาไปศาลมากเกินสิบครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การอยู่ต่างจังหวัดก็ทำให้เขาต้องเดินทางไป-กลับเสมอ สร้างความเหนื่อยล้าเป็นเท่าทวี

 

“ผมไม่ได้ทำอะไรผิด” เมื่ออุดมการณ์ที่มั่นคงปะทะกับกฎหมายที่บ้าคลั่ง 

 

หลังการถูกทำให้ไปพัวพันกับคดีมาตรา 112 ธีรวัชก็มีคนมาให้กำลังใจเยอะมาก ทว่าก็ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำเช่นกัน ส่วนมากจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของเขาในกลุ่มอื่นๆ

 

“เราเห็นจากกลุ่มอื่นแต่ก็ไม่ได้ไปโต้ตอบอะไรเพราะอยู่ในช่วงคดี เดี๋ยวคดีจะเพิ่ม”

 

แต่คำวิจารณ์เหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้เขาสั่นคลอนความคิด เราได้ถามเขาว่าหากสามารถย้อนเวลากลับไปได้จะกลับไปแก้ไขอะไรบ้างไหม ซึ่งธีรวัชตอบกับเราอย่างแน่วแน่ว่า

 

2904

 

“ผมไม่ได้ทำอะไรผิด ย้อนกลับไปผมก็จะทำแบบเดิม ถ้าถึงเวลาต้องกดแชร์ก็จะกดแชร์อีกครั้ง”

 

แต่เขาก็ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เขาจะระมัดระวังมากขึ้นด้วยการตั้งสถานะให้สามารถเห็นแค่เพื่อนเท่านั้น เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ได้ผิดอะไร เขาระบุว่าทุกคนรู้แก่ใจลึกๆ อยู่แล้วว่ามันไม่ผิด ดังนั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไขการกระทำอะไรทั้งนั้น

 

“หากพิพากษาแล้วผลออกมาว่าติดคุก ผมจะสูญเสียตำแหน่งการได้เป็นผู้จัดการร้านสุกี้ในเดือนหน้า… แต่ผมเคลียร์ชีวิตตัวเองแล้ว ไม่ผูกมัดสัญญาอะไร ถ้าติดก็ติด มันเต็มที่แล้ว เหลือแค่เขาจะแกล้งเราต่อไหม”

 

ธีรวัชไม่ได้บอกกับที่ทำงานว่าเขาเป็นผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112 เนื่องจากเขาไม่รู้ว่า ผู้บริหารในระดับสูงขึ้นไปมีแนวคิดทางการเมืองเป็นอย่างไรบ้าง ถึงแม้ในระดับเพื่อนพี่น้องที่รู้จักกันในองค์กรจะมีแนวคิดทางการเมืองที่ใกล้เคียงกันมากก็ตาม

 

“เราไม่รู้ว่าเจ้าของจริงๆ เขาโอเคไหม ป้องกันไว้ก่อน ส่วนถ้าเราต้องติดคุกเราก็แค่จะหายไปเลย”

 

เขายอมรับกับเราว่าหากต้องติดคุกเราก็คงเศร้าพอสมควร แต่ก็ยืนยันว่าไม่ได้แปลกใจนักเนื่องจากทำใจไว้แล้วเกือบครึ่งว่ามีโอกาสต้องติดคุก เราจึงตัดสินใจถามเขาต่อว่าได้เผื่อใจไว้หรือไม่ว่าหากไม่ติดคุกแล้วจะทำชีวิตต่อไปอย่างไรบ้าง

 

2900

 

“พ้นจากคดีนี้ได้ก็จะกลับไปเรียนต่อ อยากไปต่อมหาวิทยาลัย วุฒิผมตอนนี้สูงแค่ ปวช. แต่อยากจบมหาวิทยาลัยเพื่อเอามาต่อเรื่องการทำงาน”

 

อย่างไรก็ตาม เขายังไม่รู้ว่าจะเรียนคณะใดในมหาวิทยาลัยต่อไป เขาระบุว่าเป็นสภาวะอารมณ์ที่คล้ายคลึงกับสมัยเขาเรียนมัธยม-ปวช. ที่ยังไม่รู้ว่าอยากจะเป็นอะไรกันแน่ นอกจากการโหยหาชีวิตการทำงานที่มั่นคงและไม่เดือดร้อนตัวเองหรือผู้อื่น การมีใบปริญญาจึงน่าจะช่วยให้เขามีโอกาสมากกว่าในการใช้หางานต่อไปในอนาคต

 

“อยากให้สังคมไทยรู้ว่ากฎหมายนี้มันไม่ยุติธรรม มันไว้กลั่นแกล้งกันได้ คนไม่ได้ผิด กฎหมายต่างหากที่ผิด ไม่อยากให้เขามาโทษว่าเราทำตัวเอง ไปเปลี่ยนกฎหมายดีกว่า”

 

ถึงจุดนี้ ธีรวัชยังระบุว่าเขาจะไม่ลดเพดานของตัวเองลงแต่อาจจะรัดกุมมากขึ้น หากอนาคตมีการชุมนุมในประเด็นการเมืองเช่นนี้อีกแล้วเขาสะดวกจากการทำงาน เขาก็ยังคงไปร่วมเช่นเดิม แม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ไม่ได้มีหลักมั่นอะไรตายตัวและพร้อมเปลี่ยนเป้าหมายในชีวิตไปมาได้เสมอ แต่สิ่งหนึ่งที่ธีรวัชไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เสรี