1185 1424 1772 1714 1540 1140 1203 1537 1039 1677 1906 1008 1163 1262 1277 1249 1601 1007 1650 1094 1125 1285 1751 1244 1300 1472 1707 1894 1722 1200 1930 1461 1122 1903 1190 1961 1231 1643 1068 1771 1809 1573 1725 1385 1622 1445 1034 1082 1374 1928 1982 1879 1133 1194 1409 1570 1209 1733 1609 1380 1704 1783 1731 1895 1850 1670 1711 1044 1070 1046 1204 1697 1760 1347 1549 1600 1552 1992 1246 1388 1709 1928 1607 1265 1210 1157 1929 1828 1284 1057 1903 1085 1039 1737 1963 1382 1183 1091 1280 ไม่ใช่แค่ไทย อินโดนีเซียลีคส์ตรวจความเป็นไปได้ของการใช้ “เพกาซัส” ในอินโดนีเซีย | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ไม่ใช่แค่ไทย อินโดนีเซียลีคส์ตรวจความเป็นไปได้ของการใช้ “เพกาซัส” ในอินโดนีเซีย

2859
 
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 สำนักข่าว Asian News Network หรือ ANN รายงานว่า กลุ่มเคลื่อนไหวอิสระ IndonesiaLeaks ได้เปิดเผยรายงานการสืบสวนที่พบความเป็นไปได้ว่าเริ่มมีการใช้ สปายแวร์ “เพกาซัส” ในประเทศอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี 2561
 
กลุ่ม IndonesiaLeaks เปิดเผยผ่านนิตยสารรายสัปดาห์ Tempo ว่า บริษัท PT Mandala Wangi Kreasindo นำเข้าอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวนสองชิ้นซึ่งมีมูลค่าประมาณ 16,000 เหรียญสหรัฐ จากบริษัทสัญชาติสหรัฐอย่างบริษัท Cisco และบริษัท Dell บริษัทไอที Mandala Wangi Kreasindo 
 
แต่จากการสืบค้นพบว่า บริษัทที่เป็นผู้จัดส่งสินค้ากลับเป็นบริษัท Q Cyber Technologies ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศลักเซมเบิร์ก โดยบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทแม่ของผู้สร้างสปายแวร์เพกาซัสอย่างบริษัทสัญชาติอิสราเอล NSO Group 
 
แหล่งข่าวภายในที่กลุ่ม IndonesiaLeaks สัมภาษณ์ระบุว่า การตบตาอุปกรณ์สปายแวร์ให้เป็นอุปกรณ์เครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากบริษัท Dell เพื่อหลบเลี่ยงการเปิดเผยชนิดของสินค้าและราคาที่แท้จริงมักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
 
หน่วยงานอินโดนีเซียที่ถูกกล่าวหาว่าใช้งานเพกาซัสประกอบไปด้วย หน่วยสืบราชการลับประเทศอินโดนีเซีย และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียให้การปฏิเสธว่าไม่เคยใช้งานเพกาซัส แม้ว่าจะเคยจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเจาะระบบปฏิบัติการของแอปเปิล หรือ ios ในปี 2561 จริงก็ตาม
 
การให้การครั้งนี้ตรงกับฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐอินโดนีเซียที่พบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียมีการจัดซื้ออุปกรณ์เจาระบบ ios แบบ “ไร้การคลิก” (Zero-click) จำนวนสองชิ้นในปี 2560 และปี 2561 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 17.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
บริษัทที่ถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องในการจัดซื้อเพกาซัส คือ บริษัท Radika Karya Utama และบริษัท Mandala Wangi Kreasindo ซึ่งบริษัทแรกยอมรับว่ามีการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียบ่อยครั้งแต่ไม่ขอลงรายละเอียดมากไปกว่านี้ ขณะที่อีกบริษัทปฏิเสธการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเรื่อยมา
 
ที่มา: https://asianews.network/israeli-made-spyware-pegasus-used-in-indonesia-since-2018-says-indonesialeaks/
ชนิดบทความ: