1987 1641 1496 1581 1229 1429 1047 1615 1790 1456 1083 1130 1068 1622 1073 1997 1080 1171 1635 1088 1265 1604 1534 1366 1873 1087 1980 1952 1947 1751 1338 1079 1383 1996 1003 1883 1601 1582 1706 1458 1771 1536 1764 1798 1060 1730 1294 1817 1060 1697 1897 1333 1066 1632 1863 1352 1636 1383 1375 1108 1729 1834 1648 1702 1464 1772 1979 1858 1019 1818 1580 1517 1057 1614 1081 1868 1561 1834 1353 1917 1935 1177 1793 1958 1524 1696 1946 1319 1112 1436 1656 1003 1006 1426 1373 1176 1029 1220 1387 RECAP 112 : ชวนรู้จักคดี ป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์ > วัคซีน COVID 19” | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

RECAP 112 : ชวนรู้จักคดี ป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์ > วัคซีน COVID 19”

(1) ย้อนกลับไปในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังระบาดรุนแรงเมื่อปี 2563 และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนในประเทศยังคงไม่ทั่วถึง ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เฟซบุ๊กเพจกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนก็ได้โพสต์ภาพป้ายผ้าดิบขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความด้วยสีดำและแดงว่า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” โดยป้ายดังกล่าวถูกแขวนอยู่บนสะพานรัษฎาภิเศก หรือ “สะพานขาว” สถานที่ซึ่งเป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดลำปาง
 
(2) ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ใช้วิธี "เข้าตรวจค้น" ก่อนที่หมายเรียกคดีจะเดินทางมาถึงตามกระบวนการ โดยในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังภาพดังกล่าวถูกโพสต์ 18 มกราคม 2564 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจเช็คกล้องวงจรปิดในบริเวณและเข้าตรวจค้นสำนักงานของ “คณะก้าวหน้าจังหวัดลำปาง” พร้อมกับทำการยึดถังสี อุปกรณ์ทาสี เสื้อผ้าเปื้อนสี รวมทั้งป้ายผ้าที่เขียนเลข 112 และเครื่องหมายกากบาททับ กลับไปเป็นหลักฐาน
 
(3) ต่อมา มีการตรวจค้นที่พักของภัทรกันย์ แข่งขัน หรือโม นักศึกษามหาวิทยาลัยเรียนราชภัฏลำปาง สาขาศิลปะและการออกแบบ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ยึดสิ่งใดไป โดยโมเล่าว่า ในตอนแรก ตำรวจไม่ได้บอกเธอว่ามีหมายคดีมาตรา 112 แต่จะขอไปตรวจค้นที่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อตำรวจทำการค้นบ้านเสร็จกลับยื่นหมายคดีมาตรา 112 ให้พ่อและแม่ของเธอ โดยโมเล่าเสริมอย่างติดตลกว่า พ่อของเธอเป็นคนรับหมาย และเมื่อเห็นหมาย สิ่งที่ทำอย่างแรกคือการหัวเราะออกมาใส่ตำรวจ
 
(4) สถานที่สุดท้ายที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นคือ ที่พักของวรรณพร หุตะโกวิท หรือจูน สมาชิกกลุ่มการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงภาคเหนือตอนล่าง (NU movement) แต่เลขที่บ้านตามหมายค้นนั้นไม่ตรงกับเลขที่บ้านจริง จูนจึงไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้น
 
(5) นอกจากโมและจูนแล้ว ในคดีนี้ยังมีผู้ถูกกล่าวหาอีก 3 คน รวมเป็น 5 คน ได้แก่ พินิจ ทองคำ หรือจอร์จ เด็กหนุ่มที่มีพื้นเพเป็นคนภาคใต้ แต่เดินทางขึ้นมาเรียนปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเมื่อปี 2563, ยุพดี กูลกิจตานนท์ หรือแอน หญิงวัยกลางคนที่กำลังทำงานให้กับคณะก้าวหน้าในช่วงปี 2563 และ “หวาน” (นามสมมติ) โดยทุกคนล้วนเป็นผู้อยู่อาศัยในเมืองลำปาง บางคนเป็นนักศึกษา บางคนทำงาน และบางคนเป็นนักกิจกรรม
 
(6) 25 มกราคม 2564 ทั้ง 5 คนเข้าพบพนักงานสอบสวนที่ สภ.เมืองลำปาง ตามความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 และพ.ร.บ.ความสะอาดฯ โดยมีผู้กล่าวหาคือ ร.ต.อ.วิเชียร ดอนชาไพร รองสารวัตรสืบสวน สภ.เมืองลำปาง โดยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ มีเพียงจอร์จคนเดียวที่ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) เพิ่มอีกหนึ่งข้อหา และภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ ตำรวจอนุญาตให้ปล่อยตัวทั้ง 5 คนโดยไม่ต้องวางเงินประกัน 
 
(7) แอนเล่าว่า กระบวนการของตำรวจมีทั้งการซักประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปให้ถือป้าย รวมทั้งการ “ตรวจดีเอ็นเอ” โดยแอนเล่าว่า เจ้าหน้าที่จะนำดีเอ็นเอที่ตรวจไปเทียบกับหลักฐานที่เขายึดไปได้ ส่วนวิธีการตรวจคือการเอาสำลีมาเก็บน้ำลายกระพุ้งแก้ม
 
(8) ส่วนหนึ่งจากคำฟ้อง (ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564) ระบุใจความว่า การแขวนป้ายผ้าที่สะพานรัษฎาภิเศกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน ลบหลู่ ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 และพระบรมราชินี เสื่อมเสียเกียรติยศของ และทำให้ประชาชนบุคคลทั่วไปอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่า งบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นมีจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน และมากกว่างบประมาณที่รัฐบาลจัดสรเพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งเป็นการได้เปรียบหรือเอาเปรียบประชาชน
 
(9) 9 มีนาคม 2564 ในนัดส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนคดีให้กับอัยการ ทั้ง 5 คนได้ยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ให้พนักงานอัยการทำการสอบสวนเพิ่มเติมด้วยการออกหมายเรียกพยานบุคคลและพยานเอกสาร ประกอบไปด้วย
 
o ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มาให้การเกี่ยวกับประเด็นประวัติศาสตร์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
o เลขาธิการพระราชวัง มาให้การในประเด็นว่าข้อความตามที่กล่าวหาสร้างความเสียหายแก่ในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือไม่ อย่างไร
o สํานักนายกรัฐมนตรี สํานักงบประมาณแห่งชาติ สํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอเอกสารงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ปี 2557-2564
o รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ตัวแทนสํานักงบประมาณ และตัวแทนสํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มาให้การในประเด็นว่าตั้งแต่ปี 2557 จนถึง 2564 ได้มีการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในแต่ละปีเป็นจํานวนเท่าใด ใช้จ่ายไปเท่าใดบ้าง และคงเหลือเท่าใด
o อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาให้การเกี่ยวกับประเด็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ผลิต หรืออื่นๆ เกี่ยวกับวัคซีนต่อต้าน COVID-19
 
(10) 16 ธันวาคม 2564 ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 5 คนพร้อมทนายความและนายประกัน เดินทางเข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดลำปาง โดยพนักงานอัยการได้สั่งฟ้อง ก่อนที่ศาลจังหวัดลำปางจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใด โดยคดีนี้นัดสืบพยานเมื่อ 5, 12 กันยายน 2565 ต่อด้วย 3, 10 ตุลาคม 2565 และ 14 พฤศจิกายน 2565 โดยศาลจังหวัดลำปางนัดฟังคำพิพากษา 31 มกราคม 2566
 
o อ่านบทสัมภาษณ์ : ป้ายผ้าลำปาง กับความฝันที่อยากเห็นประเทศดีขึ้น https://freedom.ilaw.or.th/blog/112Lampang
o ดูรายละเอียดคดีนี้ได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/th/case/925