1417 1162 1423 1759 1064 1135 1869 1586 1599 1764 1453 1897 1285 1146 1045 1544 1709 1896 1551 1786 1613 1417 1350 1199 1468 1649 1523 1424 1058 1541 1399 1568 1792 1240 1116 1959 1947 1212 1379 1247 1375 1769 1440 1705 1762 1603 1331 1270 1634 1467 1535 1481 1802 1780 1104 1027 1922 1376 1989 1861 1328 1913 1635 1783 1692 1019 1676 1710 1193 1658 1515 1777 1481 1799 1235 1220 1123 1222 1314 1026 1255 1233 1546 1407 1431 1036 1750 1383 1968 1700 1842 1765 1051 1723 1993 1371 1795 1177 1547 บริษัท NSO Group ผู้ผลิตเพกาซัส และรัฐบาลที่ซื้อมาใช้ ถูกฟ้องมาแล้วทั่วโลก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บริษัท NSO Group ผู้ผลิตเพกาซัส และรัฐบาลที่ซื้อมาใช้ ถูกฟ้องมาแล้วทั่วโลก

2662
 
ระดับความร้ายแรงของสปายแวร์เพกาซัสไม่ใช่เรื่องที่ผู้เสียหายจะเมินเฉยได้ นับตั้งแต่มีการเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านการใช้สปายแวร์เข้าไปล้วงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนทั่วโลก บริษัท NSO Group ในฐานะผู้คิดค้นและขายเพกาซัส และรัฐบาลประเทศต่างๆ ในฐานะผู้ที่ซื้อมาใช้งานละเมิดสิทธิประชาชน ก็ต้องเจอเผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่ถาโถมเข้ามาเป็นพายุ โดยมีทั้งการตั้งคณะกรรมการสอบสวนการเจาะโทรศัพท์และการฟ้องร้องจากผู้เสียหาย ซึ่งจนถึงปลายปี 2565 มีอย่างน้อย 11 ประเทศ โดยเป็นคดีความต่อ NSO Group อย่างน้อย 11 ครั้ง และรัฐบาลอีกอย่างน้อย 7 ครั้ง
 
ตัวอย่างการต่อสู้ของผู้เสียหาย เพื่อหาข้อเท็จจริงและหาความรับผิดชอบที่น่าสนใจมีดังนี้
 
คนใกล้ชิด Khashoggi ฟ้องรัฐบาลซาอุในอิสราเอล เอี่ยวคดีฆาตกรรมโหด
 
ในเดือนธันวาคม 2561 Omar Abdulaziz ยื่นฟ้อง NSO Group ต่อศาลอิสราเอล เรียกร้องค่าเสียหาย 600,000 เชเกล หรือมากกว่า 6 ล้านบาท โดยกล่าวหาว่าบริษัทผู้ผลิตเพกาซัสช่วยให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเจาะโทรศัพท์ของตน และล้วงข้อมูลการพูดคุยระหว่าง Abdulaziz กับ Jamal Khashoggi นักข่าวจากสำนักข่าว Washington Post ที่ถูกฆ่าหั่นศพอย่างโหดเหี้ยมในสถานทูตซาอุดิอาระเบียในเมืองอิสตันบูลประเทศตุรกี เมื่อปลายปี 2018 โดย Abdulaziz เป็นคนใกล้ชิดกับ Khashoggi และถูกตรวจพบว่าโทรศัพท์ของตนถูกสปายแวร์เพกาซัสเจาะในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการฆาตกรรม ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าเพกาซัสนั้นมีส่วนในการสังหาร Khashoggi
 
ก่อนหน้านี้ NSO Group อ้างว่าเพกาซัสถูกใช้เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับอาชาญากรรมและการก่อการร้ายเท่านั้น รวมถึงหากมีสัญญาณว่าจะมีการใช้ปสายแวร์ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง บริษัทก็จะหยุดให้บริการทันที และเคยปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้สปายแวร์กับโทรศัพท์ของ Khashoggi
 
ในเดือนมิถุนายน 2563 ศาลอิสราเอลยกคำร้องฝ่ายจำเลยที่ขอให้ศาลยกฟ้องโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์เจตนาฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และตัดสินให้ NSO Group ต้องจ่ายค่าทนายความให้กับ Abdulaziz เป็นจำนวน 23,000 เชเกล หรือกว่า 230,000 บาท และดำเนินคดีต่อในส่วนเนื้อหาของการใช้สปายแวร์และการละเมิดสิทธิ โดยทนายความของ Abdulaziz มองว่า ที่ผ่านมาบริษัท NSO ไม่ยอมเข้าต่อสู้คดีในเนื้อหาแต่ใช้แทคติกการถ่วงเวลา อย่างไรก็ดีทาง NSO ก็ยืนยันจะอุทธรณ์คำร้องนี้ต่อ
 
นักกิจกรรมซาอุฟ้องรัฐบาลซาอุในอังกฤษ
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2562 นักกิจกรรมชาวซาอุดิอาระเบีย Ghanem Almasarir ได้ยื่นฟ้องรัฐบาลซาอุดิอาระเบียต่อศาลแพ่งอังกฤษ Almasarir อาศัยอยู่ในอังกฤษมานานนับสิบปี และเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลและราชวงศ์ซาอุดิอาระเบียมาโดยตลอด ยื่นฟ้องว่ารัฐบาลซาอุดิอาระเบียใช้สปายแวร์เพกาซัสเจาะโทรศัพท์และขโมยข้อมูลส่วนตัวไป Almasarir เริ่มสังเกตว่าโทรศัพท์ของตนไม่สามารถอับเดตได้ และมีการอาการร้อนและแบตเตอรี่หมดไวจนผิดปกติ ต่อมา การตรวจสอบทางเทคนิคโดย Citizen Lab ในปี 2561 ยืนยันว่าเพกาซัสถูกส่งเข้าโทรศัพท์ของนักกิจกรรมชาวซาอุดิอาระเบียจริง ผ่านการส่งข้อความและลิงค์ที่เมื่อคลิกแล้วจะนำไปสู่เพกาซัส
 
คดีนี้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียต่อสู้คดีโดยอ้างว่า มีกฎหมายเรื่องการคุ้มกันและไม่สามารถดำเนินคดีนี้ในแผ่นดินอังกฤษได้ อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม 2565 ศาลของอังกฤษก็ยกคำร้องให้ยกฟ้องของฝ่ายจำเลย โดยเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายข้อยกเว้นให้ดำเนินคดีในอังกฤษได้เพราะเป็นกรณีรัฐบาลต่างชาติกระทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล (any act by a foreign state that causes personal injury) และฝ่ายผู้เสียหายได้นำเสนอหลักฐานตามสมควร คดีนี้จึงกำลังเดินหน้าต่อไป
 
WhatsApp ฟ้อง NSO Group ในสหรัฐ
 
นอกจากคดีที่มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว หรือบุคคลสาธารณะเป็นผู้ริเริ่มแล้ว บริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเพกาซัสก็ตัดสินใจฟ้องบริษัท NSO Group ด้วยเช่นกัน ย้อนไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 WhatsApp และ Facebook ซึ่งเป็นบริษัทแม่ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Meta) ยื่นฟ้อง NSO Group และบริษัทในเครือ Q Cyber Technologies ต่อศาลในแคลิฟอร์เนียในสหรัฐ โดยกล่าวหาว่าจำเลยใช้เซิฟเวอร์ของ WhatsApp ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐในการส่งมัลแวร์ไปสู่โทรศัพท์มือถือกว่า 1,400 เครื่อง
 
NSO Group ต่อสู้คดีนี้โดยเลือกที่จะไม่สู้ในเชิงเนื้อหาว่าคำกล่าวหาของ WhatApps ไม่ใช่เรื่องจริง แต่ต่อสู้ในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล NSO Group อ้างว่าตนเองได้รับการคุ้มกันตามกฎหมายเนื่องจากตนปฏิบัติในฐานะตัวแทนของรัฐอิสราเอล ดังนั้น ในเมื่อกฎหมายในสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้อำนาจศาลในการดำเนินคดีกับรัฐต่างชาติ ก็ย่อมดำเนินคดีกับ NSO Group ไม่ได้ไปด้วย นอกจากนี้ บริษัทจากอิสราเอลยังอ้างว่าตนเพียงทำหน้าที่ขายเพกาซัสให้กับลูกค้าเท่านั้น ไม่มีส่วนในการเจาะโทรศัพท์เป้าหมาย
 
อย่างไรก็ตาม ศาลสหรัฐเห็นว่าข้อโต้แย้งของ NSO Group นั้นฟังไม่ขึ้น ในเดือนสิงหาคม 2564 ศาลอุธรณ์ยกคำร้องให้ยกฟ้องของฝ่ายจำเลย ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเพกาซัสก็ไม่รอช้า จัดการอุธรณ์ต่อไปในศาลสูงสุดของสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2565 ศาลสูงสุดของสหรัฐขอความเห็นจากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐว่า NSO Group ได้รับความคุ้มกันหรือไม่ คดีนี้จึงยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาลและยังไม่ได้เริ่มการต่อสู้ในเนื้อหาของการละเมิดสิทธิ
 
EU ตั้งคณะกรรมการสอบเพกาซัส
 
การเปิดโปงเพกาซัสกลายเป็นเรื่องใหญ่ในสหภาพยุโรป โดยมีประชาชนและนักการเมืองในหลายประเทศสมาชิกที่ตกเป็นเหยื่อของสปายแวร์จากอิสราเอล ในเดือนเมษายน 2565 รัฐสภายุโรปจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการใช้สปายแวร์เพกาซัสและสปายแวร์ประเภทอื่นๆ รวมถึงวิเคราะห์ว่าการใช้สปายแวร์เหล่านี้ละเมิดกฎหมายของสหภาพยุโรปและสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างไร คณะกรรมการสอบสวนของสหภาพยุโรปยังได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามเพกาซัสมาอย่างยาวนาน เช่น Citizen Lab Amnesty International และ Forbidden Stories โดยมีกำหนดจะส่งรายงานในอีกหนึ่งปีหลังจากนี้
 
ประธานคณะกรรมการสอบสวนกล่าวในระหว่างการนำเสนอร่างรายงานเกี่ยวกับเพกาซัสว่าสปายแวร์ของ NSO Group นั้นเป็น “ภัยร้ายแรงต่อประชาธิปไตย”
 
นอกจากนี้ยังมีคดีความที่ผู้เสียหายยื่นฟ้อง NSO Group ในอีกหลายประเทศ เช่น สเปน ฝรั่งเศส ฮังการี โปแลนด์ อาเซอร์ไบจาน อินเดีย สหราชอาณาจักร เม็กซิโก ฯลฯ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

ชนิดบทความ: