1942 1133 1023 1767 1374 1993 1659 1836 1808 1361 1865 1663 1472 1663 1225 1900 1596 1833 1495 1980 1770 1595 1496 1575 1937 1242 1470 1387 1766 1839 1545 1157 1772 1762 1591 1135 1714 1788 1160 1512 1299 1898 1660 1711 1335 1416 1289 1022 1564 1327 1525 1515 1193 1448 1666 1451 1715 1734 1635 1800 1996 1851 1789 1345 1658 1508 1136 1421 1326 1683 1829 1957 1484 1918 1135 1088 1933 1415 1814 1074 1433 1654 1606 1898 1943 1923 1716 1314 1570 1318 1949 1836 1346 1602 1010 1631 1259 1012 1358 RECAP: เกิดอะไรขึ้นกับ “สมบัติ ทองย้อย” ? | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

RECAP: เกิดอะไรขึ้นกับ “สมบัติ ทองย้อย” ?

28 ตุลาคม 2565 ครบรอบครึ่งปีที่ “สมบัติ ทองย้อย” ถูกคุมขังในเรือนจำระหว่างการต่อสู้คดี #มาตรา112 ในชั้นอุทธรณ์ ใครหลายคนอาจรู้จักสมบัติในชื่อ “พี่หนุ่ม” สมบัติเป็นอดีตการ์ดคนเสื้อแดงในการชุมนุมปี 2552-2553 หลังการรัฐประหาร 2557 สมบัติถูกเจ้าหน้าที่ทหารบุกค้นบ้านในเดือนพฤษภาคม 2559 และกลายเป็นบุคคลใน Watch Lists ที่ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด
 
เมื่อมาถึงการชุมนุมของราษฎรในช่วงปี 2563 สมบัติก็ยังคงออกไปร่วมชุมนุมในฐานะผู้ชุมนุมคนหนึ่ง และเคยช่วยงานรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมอยู่ระยะเวลาหนึ่งด้วย ก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาจะลดบทบาทตัวเองและถอยห่างออกจากการชุมนุม ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่เขาถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊ก
 
28 เมษายน 2565 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาว่า สมบัติมีความผิดตามมาตรา 112 รวมสองกรรม ให้จำคุกกรรมละ 3 ปี รวมเป็น 6 ปี โดยหนึ่งในข้อความที่ศาลตัดสินว่าผิด คือ แคปชั่น #กล้ามาก #เก่งมาก #ขอบใจนะ ที่สมบัติเขียนบนโพสต์เรื่องการไม่เข้ารับปริญญาของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เขาแชร์มาจากคนอื่นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 หลังมีคำพิพากษา สมบัติถูกส่งตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในวันเดียวกัน และยังคงไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างยื่นอุทธรณ์คดีมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว
 

(1) สมบัติคือใคร? ทำไมถูกฟ้อง ม.112 ?

 
2634
 
สมบัติ ทองย้อย หรือ “พี่หนุ่ม” ชื่อเล่นที่ใครหลายคนในแวดวงการเมืองคนรู้จัก เขาเป็นอดีตการ์ดเสื้อแดงในการชุมนุมปี 2552-2553 ก่อนที่หลังรัฐประหาร 2557 สมบัติถูกเจ้าหน้าที่ทหารบุกค้นบ้านในเดือนพฤษภาคม 2559 วันเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจบุกไปบ้านของอดีตนักการเมืองในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการอย่างวรชัย เหมะ และ ประชา ประสพดี ครั้งนั้นเขาถูกยึดข้าวของทั้งวิทยุสื่อสาร ปืนบีบีกัน รวมทั้งถูกดำเนินคดีในความผิดฐานครอบครองยุทธภัณฑ์ ได้แก่ วิทยุสื่อสารที่สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ของทางราชการได้
 
นับจากครั้งนั้นสมบัติก็กลายเป็นบุคคลใน Watch Lists ที่ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด
 
เมื่อมาถึงการชุมนุมของราษฎรในปี 2563 สมบัติยังคงออกไปร่วมชุมนุมในฐานะผู้ชุมนุมคนหนึ่ง และช่วยงานรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง กระทั่งลดบทบาทตัวเองและถอยออกมา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่เขาถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊ก
 
นอกจากนั้น สมบัติยังเคยถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ข้อความดูหมิ่นนายกรัฐมนตรี และถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการร่วมชุมนุมในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 และ 18 ตุลาคม 2563 อีกด้วย
 
 

(2) โพสต์ “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ทำไมโดนขังคุก?

 
2635
 
28 เมษายน 2565 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาว่าสมบัติมีความผิดตามมาตรา 112 รวมสองกรรม ให้จำคุกกรรมละ 3 ปี รวมเป็น 6 ปี โดยหนึ่งในข้อความที่ศาลตัดสินว่าผิด คือ “แคปชั่น” ที่สมบัติเขียนแนบกับการแชร์โพสต์เรื่องการไม่เข้ารับปริญญาของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เมื่อ 30 ตุลาคม 2563 ว่า #กล้ามาก #เก่งมาก #ขอบใจนะ
 
ศาลตัดสินว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการจงใจล้อเลียนพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเป็นพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสในวันที่ 23 ตุลาคม 2563 เพื่อชื่นชม ฐิติวัฒน์ ธนการุณย์ ซึ่งยืนถือพระบรมฉายาลักษ์ในหลวงรัชกาลที่เก้าและสมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่เก้า ระหว่างที่มีการชุมนุมของคณะราษฎร”
 
“แม้โดยเนื้อแท้ข้อความดังกล่าวจะเป็นการกล่าวชื่นชม ไม่ได้หมิ่นประมาท แต่เมื่อพิจารณาการโพสต์ของจำเลยที่นำข้อความพระราชดำรัสไปประกอบกับข่าวเรื่องที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เข้ารับปริญญาทั้งคณะ จำเลยจึงมีเจตนาชื่นชมบัณฑิตที่ไม่เข้ารับปริญญา โดยเอามาพระราชดำรัสมาโพสต์ ซึ่งในสังคมไทยการรับปริญญาถือว่าเป็นเกียรติและศิริมงคล การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการล้อเลียนเสียดสีพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำที่ไม่บังควร จางจ้วง เข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์”
 
หลังมีคำพิพากษา สมบัติถูกส่งตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพภายในวันเดียวกัน และยังคงไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างยื่นอุทธรณ์คดีมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว
 

 

(3) เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่าง 6 เดือนในเรือนจำ

 
2636
 
15 มิถุนายน 2565 มีการเบิกตัวสมบัติจากเรือนจำเป็นครั้งแรก เพื่อนัดสืบพยานในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง จากการเข้าร่วมม็อบในวันที่ 18 ตุลาคม 2563 โดย “ณัฎ” ลูกสาวของสมบัติให้สัมภาษณ์กับทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า 
 
“หลังจากพิจารณาคดีเสร็จ เราลงไปซื้อข้าวกลางวันแล้วเอาข้าวไปให้พ่อ ซึ่งเราคิดว่าคงมีแค่กระจกใสกั้นเรากับพ่อไว้ แต่เราต้องฝากข้าวให้กับผู้คุมเพื่อเอาไปให้พ่อ เพราะสิ่งที่กั้นเรากับพ่อคือห้องๆ หนึ่ง ไม่ใช่กระจกอย่างที่เราคิด ตอนที่ผู้คุมเปิดกระจกมาเอาข้าวให้พ่อเรากวาดสายตาเพื่อมองหาพ่อ ซึ่งเราก็เห็นพ่ออยู่อีกฝั่งของห้อง และด้วยความที่ว่ากระจกระยะสายตาเป็นกระจกดำ แต่กระจกบนหัวเป็นใส เรากับพ่อก็กระโดดและยกมือบ๊ายบายเพื่อให้อีกฝ่ายเห็น”
 
“เรากับพ่อกระโดดอยู่แบบนั้นซักพัก จนผู้คุมน่าจะเรียกพ่อไปกินข้าว ความรู้สึกตอนนั้นโคตรดีใจ โคตรเสียใจ และ โคตรคิดถึงพ่อเลย…”
 
“ความจริงสิ่งที่เรากับพ่อทำเมื่อวานมันคือเรื่องปกติด้วยซ้ำ แต่มันกลายเป็นอะไรที่ดูพิเศษเพียงเพราะพ่อโดนพรากอิสรภาพจากการที่ศาลตัดสินจำคุกพ่อในคดี 112 การที่พ่อโพสต์ “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” มันเป็นการแสดงความคิดเห็นด้วยซ้ำ ไม่ใช่การอาฆาตมาดร้าย ความจริงแล้ววัตถุประสงค์ของคดี 112 ตั้งขึ้นมาเพื่อปกป้องสถาบัน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งคนคิดต่างทางการเมือง และไม่ควรมีใครถูกริดรอนอิสรภาพ เพียงแค่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง” ลูกสาวของผู้ต้องหามาตรา 112 กล่าว
 
ในระหว่างถูกคุมขัง ศูนย์ทนายฯ รายงานว่า จากการเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 สมบัติแจ้งว่าเขาตรวจโควิดด้วย ATK และผลออกมาว่าติดโควิด-19 สมบัติจึงต้องย้ายไปกักตัวแดน 2 เป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ สมบัติยังเล่าว่าระหว่างถูกคุมขัง ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยก่อสร้าง เช่น เปลี่ยนเครื่องกรองน้ำ งานไม้ งานเหล็ก  
 
23 ตุลาคม 2565 ศูนย์ทนายฯ ระบุว่า ศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวสมบัติในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา โดยระบุเหตุผลเช่นเดียวกันกับครั้งก่อนว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง และเหตุตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง” ซึ่งในครั้งนี้เป็นการยกคำร้องครั้งที่ 9 แล้ว